Samsung Electronics เพิ่งเปิดตัวโทรศัพท์พับได้รุ่นล่าสุด Galaxy Z Fold 5 และ Galaxy Z Flip 5 ที่งานในประเทศเกาหลีใต้ การเปิดตัวครั้งนี้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีตัดสินใจแนะนำอุปกรณ์สุดล้ำดังกล่าวในบ้านเกิด มากกว่าที่จะเปิดตัวในเมืองนอกอย่างนิวยอร์กหรือบาร์เซโลนา
การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์นี้เกิดขึ้นในเวลาที่โทรศัพท์พับได้ของ Samsung กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในเกาหลีใต้ แต่ประสบความสำเร็จอย่างจำกัดในพื้นที่อื่นๆ ของโลก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ‘Samsung’ จ่อทุ่ม 8 ล้านล้านบาท สร้างโรงงานผลิต ‘ชิป’ ใหญ่ที่สุดในโลกที่จังหวัดคยองกี
- ถูกจังหวะหรือไม่? เมื่อตลาดกำลังเป็น ‘ขาลง’ แต่ Google เปิดตัว ‘Pixel Fold’ สมาร์ทโฟนพับได้ที่ท้าชน Samsung เต็มๆ ด้วยราคา 60,000 บาท
- Samsung สั่งห้ามพนักงานใช้ ChatGPT และเครื่องมือ AI ทั้งหมด หลังมีคนทำข้อมูลรั่วไหล หากฝ่าฝืนมีโทษไล่ออกทันที
Samsung ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกในกลุ่มโทรศัพท์พับได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมด้วยส่วนแบ่งการตลาด 80% ตัวเลขนี้แปลเป็นโทรศัพท์พับได้มากกว่า 14.2 ล้านเครื่องที่จัดส่งทั่วโลกในปีที่แล้ว
ถึงจะมีตัวเลขที่ค่อนข้างสวยหรูแต่ปัจจุบันโทรศัพท์แบบพับได้คิดเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อย (1%) ของตลาดสมาร์ทโฟนโดยรวม ด้วยเหตุนี้การเจาะตลาดที่ค่อนข้างจำกัดของโทรศัพท์พับได้เน้นย้ำถึงความท้าทายที่ Samsung ต้องเผชิญในการพยายามขยายการเข้าถึงอุปกรณ์นวัตกรรมเหล่านี้
ปัญหาหลักของโทรศัพท์แบบพับได้คือราคาที่สูงเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ ตัวอย่างเช่น รุ่น Galaxy Z Fold ซึ่งเป็นหนึ่งในโทรศัพท์พับได้รุ่นเรือธงของ Samsung ราคาประมาณ 1,800 ดอลลาร์ ราคานี้เกือบ 2 เท่าของราคา iPhone 14 Pro ซึ่งเป็นอุปกรณ์ระดับพรีเมียมจาก Apple หนึ่งในคู่แข่งหลักของ Samsung
ผู้บริโภคมักจะต้องชั่งใจกับการควักเงินในกระเป๋าที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับความแปลกใหม่ของการมีจอแสดงผลที่ใหญ่ขึ้น พับได้ และการพกพาที่สะดวกขึ้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีให้ สำหรับหลายๆ คน ราคาดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคที่สูงเกินกว่าจะเอาชนะได้ นอกจากนี้การขาดแอปหรือฟีเจอร์ที่โดดเด่นและน่าสนใจซึ่งออกแบบมาสำหรับโทรศัพท์แบบพับได้โดยเฉพาะก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จำกัดการใช้งานในวงกว้าง
การขาดความแตกต่างนี้ประกอบกับราคาที่สูง จึงไม่แปลกที่จะทำให้โทรศัพท์พับได้ไม่ได้เป็นตัวเลือกแรกสำหรับผู้บริโภคที่กำลังมองหาสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์เครื่องใหม่
ไม่ได้หมายความว่าโทรศัพท์พับไม่ประสบความสำเร็จ ในตลาดบ้านเกิดของ Samsung อย่างประเทศเกาหลีใต้ โทรศัพท์พับได้คิดเป็น 14% ของสมาร์ทโฟนทั้งหมดที่จัดส่งในปีที่แล้ว เหตุผลเบื้องหลังการยอมรับอย่างกว้างขวางนี้ขึ้นอยู่กับความภักดีต่อแบรนด์ที่แข็งแกร่งของ Samsung ในหมู่ผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้และกลยุทธ์การลดราคาของบรรดาเครือข่ายมือถือ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้โทรศัพท์แบบพับได้มีความน่าสนใจและราคาไม่แพงสำหรับผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้
ในขณะเดียวกัน ส่วนแบ่งของ Samsung ในตลาดสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมทั่วโลกก็ลดลง อุปกรณ์ราคา 600 ดอลลาร์ขึ้นไปถือเป็นสินค้าพรีเมียม และส่วนแบ่งการตลาดของ Samsung ในส่วนนี้ลดลงจาก 25% ในปี 2019 เป็น 16% ภายในสิ้นปี 2022 ในทางตรงกันข้าม ส่วนแบ่งการตลาดของ Apple ในกลุ่มเดียวกันเพิ่มขึ้นจาก 59% เป็น 72%
แม้จะมีอุปสรรค แต่ Samsung ก็ยังคงมุ่งมั่นในตลาดโทรศัพท์พับได้ โฆษกของ Samsung แสดงความมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับอนาคตโดยเน้นการวิจัยจาก Counterpoint ที่ชี้ให้เห็นว่าความต้องการโทรศัพท์แบบพับได้อาจเกิน 100 ล้านเครื่องภายในปี 2027 จากการวิจัยเดียวกัน ผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากกว่าครึ่งในสหรัฐอเมริกาและจีน รวมถึงเกาหลีใต้ยินดีที่จะพิจารณาโทรศัพท์แบบพับได้สำหรับการซื้อครั้งต่อไป
ด้วยความสนใจที่เพิ่มขึ้นของโทรศัพท์แบบพับได้ ทำให้มีแบรนด์ต่างๆ เข้ามาร่วมแข่งขันด้วย ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนของจีนอย่าง Oppo, Huawei, Xiaomi และ Vivo รวมถึง Google ได้เปิดตัวโทรศัพท์พับได้รุ่นต่างๆ นี่อาจเป็นดาบสองคมสำหรับ Samsung ในขณะที่ผู้เล่นในตลาดมากขึ้นอาจนำไปสู่นวัตกรรมที่มากขึ้นและลดต้นทุนของส่วนประกอบในที่สุด แต่ก็สามารถกัดกร่อนการครอบงำตลาดในปัจจุบันของ Samsung ได้เช่นกัน
ภาพ: Kim White / Getty Images
อ้างอิง: