×

อ่านแนวคิดของ ‘พิมสิริ’ ผู้บริหาร SF ที่เชื่อว่า ประสบการณ์ที่ดีคือวิธีสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจโรงหนังอย่างยั่งยืน [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
20.06.2023
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • คุยกับ พิมสิริ ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้บริหาร Gen ใหม่ที่เชื่อว่า ประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าจะย้อนกลับมาสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
  • เจาะไฮไลต์ของ SF Super Friends ประสบการณ์ความบันเทิง จัดเต็มกิจกรรมและคอนเทนต์ตลอดปี 2566 

ในขณะที่หลายธุรกิจกำลังเร่งขับเคี่ยวตัวเลขกำไร แต่ SF ภายใต้การเดินเกมของ พิมสิริ ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เลือกที่จะโฟกัสไปที่ประสบการณ์ความสุขของลูกค้าและพาร์ตเนอร์

 

ใช่ว่า SF จะไม่วางแผนกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อเตรียมความพร้อมตั้งรับการฟื้นตัวของธุรกิจโรงภาพยนตร์ ทว่าแผนที่ถูกเล่าผ่านบทสนทนาของผู้บริหาร Gen ใหม่ ทำให้เห็นแง่มุมที่ต่างไปของการทำตลาดโรงภาพยนตร์รูปแบบใหม่ที่ดูจะถูกจริตกับพฤติกรรมของคนยุคใหม่ ที่มองหาประสบการณ์ที่ดีและมีคุณค่าสำหรับตัวเอง

 

สำหรับพิมสิริ การหาสมดุลระหว่างตัวเลขผลกำไรกับความพึงพอใจของลูกค้าจึงเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก แม้เธอจะพูดอย่างถ่อมตัวว่ามีประสบการณ์ด้านการตลาดไม่มากนักและรักที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ในฐานะคนที่รักการเอนหลังบนเบาะนุ่มๆ ในโรงภาพยนตร์เช่นกันเชื่อว่า แนวคิดการทำตลาดในวันที่มีพิมสิริเป็นเพื่อนคอยดูแลอยู่เคียงข้าง จะสร้างประสบการณ์สุดวิเศษให้กับทุกคนได้อย่างแน่นอน

  

ปล่อยทีเซอร์มาขนาดนี้ เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้แล้วว่า บทบาทของโรงภาพยนตร์ต่อจากนี้จะกลายเป็นสถานที่ที่ตอบโจทย์ความบันเทิงของคนทุกไลฟ์สไตล์ด้วยคอนเทนต์ที่หลากหลายได้อย่างไร และทำไมต้องเป็น ‘SF SUPER FRIENDS’ เราหาคำตอบให้

 

อดีตเด็กกิจกรรมที่ชอบทำทุกอย่างเพื่อความสุข (ของคนอื่น) 

 

ก่อนจะขึ้นมานั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด พิมสิริบอกว่าเธอถูกส่งให้ไปทำงานหลายตำแหน่งและหลายแผนก 

 

“เรียนจบก็มาทำงานในตำแหน่ง Event Officer เลย จริงๆ จบเศรษฐศาสตร์ แต่ตอนเรียนเป็นเด็กกิจกรรม เด็กค่าย เลยเลือกทำงานด้านการตลาด และเลือกอยู่ฝ่ายอีเวนต์ เพราะเป็นงานที่เราทำให้คนมีความสุข”

 

ดูเหมือนสนุก แต่เธอบอกว่าสำหรับธุรกิจโรงภาพยนตร์งานอีเวนต์โหดมาก 

 

“แต่ละสัปดาห์มีภาพยนตร์เข้าใหม่ 7-8 เรื่อง แปลว่าเราต้องทำกิจกรรมเพื่อซัพพอร์ตโปรดักต์ใหม่ๆ ตลอดเวลา มีอยู่ครั้งหนึ่งเป็นงานเปิดตัวภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง พี่ๆ เขาให้ช่วยคิดเกม เรามั่นใจมากว่าเกมนี้ไม่ยาก ให้บอกสาขาของ SF แต่เอาเข้าจริงคนตอบได้น้อยมาก ถึงได้รู้ว่าจริงๆ แล้วคนจำแบรนด์โรงภาพยนตร์ไม่ได้ เขาจำแค่ว่าดูภาพยนตร์ที่ไหน แต่ประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้เราตั้งเป้าหมายกับตัวเองไว้ว่า ถ้าได้มาทำงานการตลาดจริงจังจะทำให้คนจำแบรนด์ SF ให้ได้”

 

ยังรู้ไม่รอบเธอก็ถูกท้าทายให้ทำโจทย์ที่ใหญ่กว่า 

 

“ตอนเป็นคนประสานกับ External Audit เพื่อตรวจสอบบริษัท ต้องทำ Work Manual ของทั้งบริษัท ตอนนั้นไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการทำ Work Manual เลย และที่ผ่านมา SF ไม่เคยมีสิ่งนี้ เราก็พยายามศึกษา ค้นคว้า ถามผู้รู้ สุดท้ายก็ทำออกมาจนเสร็จ กลายเป็นว่าเราได้รู้ทุกตำแหน่งงานของ SF เพราะทุกเล่มต้องผ่านสายตาเราก่อนจะส่งให้ออดิทตรวจสอบ”

 

ตอนสวมหมวกนักบัญชี ทำงบบริษัท ก็ท้าทายใช่เล่น พิมสิริบอกว่าแม้จะจบเศรษฐศาสตร์ แต่รู้หลักบัญชีแค่เบื้องต้น โชคดีที่ชอบเล่นเกม Photo Hunt เลยมองงานตรงหน้าเป็นเกม เปลี่ยนเรื่องยากๆ ให้กลายเป็นความสนุก หรือตอนที่ต้องสลับไปสวมหมวก HR เธอดึงเอาทักษะเด็กกิจกรรมมาปรับใช้ในการบริหารคน จนเกิดเป็นกิจกรรมใหม่ๆ ที่ยังคงทำต่อจนถึงตอนนี้

 

“โชคดีที่ได้ไปอยู่ HRD ดูแลสวัสดิการพนักงานและทำเรื่องเทรนนิ่ง เลยเอาทักษะการทำค่ายสมัยเรียนมาใช้ กิจกรรมที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากๆ คือ ให้พนักงาน SF ทุกคนสอบ ตอนนั้นเป็นช่วงภาพยนตร์ ฉลาดเกมส์โกง เข้าฉายพอดี เลยได้ไอเดียจัดสอบใหญ่ ทดสอบความรู้เกี่ยวกับ SF เพราะเราอยากให้ทุกคนรู้จักองค์กรจริงๆ เป็นการสอบที่พนักงานจริงจังกันมาก (หัวเราะ) ซึ่งเราก็ดีใจที่ทำให้พนักงานทุกคนรู้จัก SF ดีขึ้น ส่วนกิจกรรมอื่นๆ อย่าง Staff Party, Sport Day หรือ Town Hall ก็ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับคนในองค์กรและทำให้ทุกคนมีความสุข สนุก สมกับที่เราอยู่ในธุรกิจบันเทิง”  

 

 

‘เพื่อนที่แท้จริง’ ต้องพร้อมรับฟังและหาให้เจอว่าเพื่อนต้องการอะไร

 

พิมสิริบอกว่า ข้อดีของการได้สวมหมวกหลายใบทำให้เธอต้องเรียนรู้ที่จะเริ่มต้นใหม่อยู่เสมอ และยังได้บริหารทักษะการสานสัมพันธ์ที่ดีกับคนที่แตกต่าง จนเข้าใจว่าการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในฐานะ ‘เพื่อน’ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คนในองค์กร หรือพาร์ตเนอร์ ต้องเริ่มด้วยการหาให้เจอว่าเพื่อนกำลัง ‘ต้องการอะไร’ แต่จะหาเจอได้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเพื่อน ‘รู้สึกอย่างไร’ แต่จะเข้าใจได้ต้องเกิดจากการ ‘รับฟัง’

 

เมื่อได้รับโจทย์ใหม่ให้รื้อระบบสมาชิก SF Movie Club Card เธอจึงเลือกนำแนวคิดนี้มาใช้ แทนที่จะนั่งประชุมและรออ่านรายงานจากสาขา เธอเลือกชวนทีมงานลงพื้นที่เพื่อ ‘รับฟัง’ ว่าลูกค้า ‘รู้สึกอะไร’ และค้นให้เจอว่าอะไรคือ ‘ความต้องการที่แท้จริง’

 

“รื้อระบบทั้งหมด เอา Data ทั้งหมดมาดู จนเจอ Pain Point ที่น่าสนใจเยอะมากๆ แต่ทั้งหมดจะไม่ถูกแก้ถ้าเราไม่ลงไปหาลูกค้า บอกทีมว่าหลังเลิกงานวันจันทร์-ศุกร์ และวันเสาร์-อาทิตย์ ต้องลงไปที่สาขา เราเลือกทำงานจากสาขาที่มียอดคนสมัครสูงสุด 3 สาขา และสาขาที่มีคนสมัครน้อยสุด 3 สาขา เพื่อฟังลูกค้าว่าทำไมถึงสมัครและทำไมถึงไม่สมัคร 

 

“สุดท้ายก็พบว่า บางเรื่องถ้าไม่ลงไปฟังเสียงลูกค้าจริงๆ เราไม่มีทางรู้ได้เลย หลักๆ ที่เจอคือ โปรโมชันของเราเยอะมากอยู่แล้ว ลูกค้าไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเสียเงินสมัครสมาชิก หรือสมัครไปก็ไม่รู้ว่าจะได้สิทธิประโยชน์อะไร”

 

ประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้เธอตั้งคำถามใหม่ จากที่เคยถามว่า ‘ทำไมลูกค้าไม่สมัคร’ เป็น ‘เราทำระบบสมาชิกเพื่ออะไร’ แค่เปลี่ยนมุมคิดคำตอบก็เปลี่ยน จนเกิดเป็น SF+ บัตรสมาชิกที่คนชอบดูภาพยนตร์ต้องมี

 

“สุดท้ายแล้วเราทำเพื่อดูแลลูกค้า อยากให้ลูกค้าดูภาพยนตร์เยอะๆ เลยเปลี่ยนเป็นให้ลูกค้าสมัครฟรีและมีรีวอร์ดให้กับลูกค้า ซึ่งเราไม่ได้นับจากจำนวนยอดเงินที่ใช้จ่าย แต่นับจากจำนวนเรื่องที่ลูกค้าดู ไม่ว่าคุณจะดูภาพยนตร์จากโปรโมชันไหนก็ได้รีวอร์ด นอกจากนั้นเราเพิ่มในส่วนของแพ็กเกจที่หลากหลายให้เลือกตามไลฟ์สไตล์และอายุ” 

 

 

ความท้าทายของผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

 

ยังชื่นชมกับความสำเร็จไม่ทันไร โจทย์ใหม่และใหญ่กว่าเดิมก็มาเคาะประตูทันที เพราะหลังจากเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดไม่ทันไร โรคระบาดที่สร้างผลกระทบให้กับคนทั่วโลกอย่างโควิด-19 ก็เข้ามา

 

“น่าจะเป็นช่วงที่ยากที่สุดและท้าทายที่สุดของธุรกิจ แถมยังท้าทายที่สุดในการทำงานของเราด้วย เพราะโรงภาพยนตร์ไม่เคยหยุด ต่อให้มีวิกฤตอะไรอย่างมากก็ปิดแค่บางสาขา แต่ครั้งนี้คือโรงภาพยนตร์ปิด และปิดยาวนานที่สุด 75 วัน เป็นการปิดแบบไม่มีรายได้ ตอนนั้นสิ่งแรกที่คิดคือลูกค้าและพนักงานทุกคนของ SF ต้องปลอดภัยจากโควิด-19”

 

พิมสิริเข้าใจดีว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สิ่งที่ต้องทำคือ แยกให้ออกว่าอะไรคือปัญหาที่แก้ได้ และอะไรคือปัญหาที่แก้ไม่ได้

 

“โควิด-19 ทำให้เราต้องปิดโรงภาพยนตร์ แต่ก็เป็นโอกาสให้เราได้รื้อระบบเกือบทั้งหมด ระบบไหนไม่เรียบร้อยก็จัดการตอนนั้น ค่าใช้จ่ายที่ไม่น่าจะเกิดก็ถูกจัดระเบียบใหม่ ขณะเดียวกันมีหลายโปรเจกต์ที่ถูกดันออกมาช่วงนั้น อย่างเช่น Popcorn Delivery ตั้งใจจะทำก่อนเกิดวิกฤต ก็สามารถเกิดขึ้นได้และประสบความสำเร็จด้วย ตอนนั้นเราลงไปทำเอง รับออร์เดอร์ ส่งออร์เดอร์ให้สาขา และเขียนคู่มือการตอบคำถามลูกค้า 

 

“หรืออย่าง Drive-In Cinema เราก็อยากทำมานานแล้ว ประกอบกับลูกค้าของเราก็น่ารัก ส่งข้อความมาว่าอยากให้เราทำ โปรเจกต์นี้จึงเกิดขึ้น ซึ่งเราก็ลงมือทำเองอีกเช่นเคย ศึกษาจริงจังเลยว่าจะทำอย่างไรให้รถยนต์จอดไม่บังกัน ให้ลูกค้าแจ้งว่ารถยี่ห้ออะไร เพื่อหาความสูงของรถและจัดลำดับว่ารถคันไหนควรจอดตรงไหน สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เราเชื่อว่าทุกวิกฤตมันเป็นโอกาสที่ทำให้เราเห็นอะไรบางอย่าง”

 

พิมสิริเล่าว่า ‘ความบันเทิง’ ในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากการมาชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์นั้น SF ปลุกปั้นมาตั้งแต่ปี 1999

 

“เราไม่ได้มองตัวเองว่าเป็นแค่โรงภาพยนตร์เท่านั้น จึงเป็นที่มาให้ผู้บริหารตัดสินใจดีไซน์ชั้น 7 ของ MBK ในคอนเซปต์ ‘ONE FLOOR ENTERTAINMENT’ ดูแลเรื่องความบันเทิงให้กับลูกค้า อย่างเช่น เรื่องดนตรี เรามีคอนเทนต์กลุ่มนี้มา 10 กว่าปีแล้ว เอาคอนเสิร์ตมาฉายในโรงภาพยนตร์ หรือนำเสนอ Alternative Content เอาภาพยนตร์นอกกระแสมาฉายในชื่อ SF Excusive Movie เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับลูกค้า” 

 

ด้วยประสบการณ์การบริหารความบันเทิงให้กับลูกค้าผ่านโรงภาพยนตร์ ทำให้ทุกโปรเจกต์ที่เกิดขึ้นช่วงโควิด-19 ประสบความสำเร็จ

 

“ช่วงโควิด-19 เราดันให้เกิดคอนเทนต์หนึ่งชื่อว่า ‘Live Viewing at SF Cinema’ เป็นการถ่ายทอดสดเข้าโรงภาพยนตร์ โปรเจกต์แรกที่ทำและประสบความสำเร็จเกินความคาดหมายคือ ‘BTS PTD ON STAGE – SEOUL: LIVE VIEWING’ บัตรขายหมดเร็วมาก ซึ่ง SF เป็นโรงภาพยนตร์เดียวในไทยที่ผ่านมาตรฐาน สามารถทำ Live Viewing ผ่านโรงภาพยนตร์ และเป็น 1 ใน 75 ประเทศที่ได้เข้าร่วมโปรเจกต์ของ BTS

 

“น่าจะเป็นข้อได้เปรียบของเราที่ทำเรื่องดนตรีมานาน แต่ความท้าทายคือ BTS แสดงสดอยู่ที่เกาหลี โดยที่สัญญาณการถ่ายทอดจะถูกส่งไปที่อังกฤษและกระจายสัญญาณไปยัง 75 ประเทศทั่วโลก จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับทีมงาน ต้องมาคุยกันว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นคืออะไร เปิดโลกใหม่ของทั้งทีม การลงทุนก็สูงตามมาด้วยความเสี่ยงที่สูงด้วยเช่นกัน 

 

“อย่างประเทศอื่นๆ เขาชี้แจงกับลูกค้าก่อนเลยว่า หากสัญญาณถ่ายทอดสดมีปัญหาทุกคนต้องยอมรับ แต่สำหรับ SF ถึงมันจะเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ แต่สุดท้ายถ้าเกิดความผิดพลาด SF ยินดีคืนเงิน เพราะสำหรับเราประสบการณ์ลูกค้าคือสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากๆ นอกจากนั้นเรายังดูแลเรื่องการตรวจ ATK ให้กับลูกค้าทั้งหมด เพราะเราอยากให้ทุกคนที่มาอยู่ในโรงภาพยนตร์รู้สึกปลอดภัยและสบายใจที่สุด”

 

หลังประสบความสำเร็จ พิมสิริเดินหน้าผลักดันโปรเจกต์อื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น ‘“PULL-UP” MARK TUAN FAN MEETING IN THAILAND’ ที่ทำร่วมกับ 4NOLOGUE หรือจับมือกับ GMM TV จัด ‘SIDE BY SIDE BRIGHT WIN CONCERT LIVE VIEWING AT SF CINEMA’ ครั้งแรกกับการถ่ายทอดสดคอนเสิร์ตบนจอยักษ์ของสองศิลปินไทยสุดฮอต ‘ไบร์ท-วิน’  

 

 

กางกลยุทธ์สร้างประสบการณ์สุดพิเศษแบบ ‘เพื่อนให้เพื่อน’

 

อย่างที่เกริ่นไปข้างต้น ใช่ว่า SF จะไม่วางแผนกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อเตรียมความพร้อมตั้งรับการฟื้นตัวของธุรกิจโรงภาพยนตร์ เพราะล่าสุด SF เพิ่งจัดงานแถลงข่าวครั้งใหญ่ ‘SF SUPER FRIENDS’ ส่งมอบประสบการณ์ความบันเทิง จัดเต็มกิจกรรมและคอนเทนต์ตลอดปี 2566

 

นอกจากจะจัดขึ้นเพราะประกาศว่าเพื่อนที่ชื่อ SF จะมอบประสบการณ์ความบันเทิงอะไรบ้างแล้ว พิมสิริบอกว่า ยังเป็นการกระตุ้นให้ทีม SF รู้ว่าต่อจากนี้ไปเราจะก้าวต่อแบบก้าวกระโดด

 

“จริงๆ แล้วทุกธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมคน โดยเฉพาะธุรกิจโรงภาพยนตร์ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือลูกค้า ที่ผ่านมาเราได้สร้างประสบการณ์ความบันเทิงผ่านกิจกรรมและคอนเทนต์มาตลอด วันนี้เรามองว่าเรามีเรื่องมากพอที่จะบอกให้ทุกคนรู้แล้วว่า สำหรับเพื่อนที่ดีของเรา เรามีอะไรที่จะมอบให้กับเพื่อนของเราบ้าง”

 

ส่วนคำว่า SUPER FRIENDS พิมสิริเล่าว่า เกิดจากความรู้สึกขอบคุณที่ตลอดระยะเวลาของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะช่วงที่เกิดวิกฤต SF ผ่านมาได้เพราะมีลูกค้าที่ดีและมีพาร์ตเนอร์ที่น่ารักคอยอยู่เคียงข้าง พร้อมที่จะลุยและซัพพอร์ต เปรียบได้กับ SUPER FRIENDS ดีๆ ที่อยู่รอบตัว

 

 

“ปีนี้มีไฮไลต์มากมายที่เราตั้งใจจะมอบให้กับ SUPER FRIENDS ของเรา เริ่มจาก ‘SUPER SPECIAL CONTENT’ นอกจากภาพยนตร์หลักที่เข้าฉายจะมี SF Exclusive Movie ให้พื้นที่กับภาพยนตร์ฟอร์มเล็กของผู้กำกับใหม่ที่เขาอาจไม่ได้มีงบมากพอที่จะเข้าโรงภาพยนตร์ได้ทั่วประเทศ SF จะช่วยซัพพอร์ต โดยให้พื้นที่และการตลาดด้วย

 

“ที่ต้องมีแน่ๆ คือ Film Festival ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของเราอยู่แล้ว ปลายปีนี้จะได้ชม World Film Festival of Bangkok เทศกาลภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดระดับโลกที่ SF อย่างแน่นอน ส่วน Live Viewing At SF Cinema ก็อย่างที่เล่าไป เราทำมาสักระยะแล้ว ก็ใช้โอกาสนี้ในการประกาศว่านี่คือคอนเทนต์ไฮไลต์ที่ SF ตั้งใจมอบให้กับเพื่อนๆ ของเรา และจะเพิ่มในส่วนของคอนเทนต์พิเศษจากศิลปิน K-Pop, T-Pop เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ทุกรูปแบบ”  

 

สำหรับ SUPER SPECIAL CINEMA พิมสิริบอกให้ทุกคนเตรียมตัวต้อนรับโรงภาพยนตร์ ZIGMA CINESTADIUM PRESENTED BY C2 ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์พิเศษของ SF ที่ปัจจุบันมี 8 สาขา และมีแผนเปิดเพิ่มรวมเป็น 20 สาขาภายในปี 2567 

 

รวมถึงโรงภาพยนตร์ที่เป็น Talk of the Town มากที่สุด เรื่องความสบาย อย่าง The Bed Cinema by OMAZZ เตรียมเปิดสาขาใหม่ที่เอส เอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า เซ็นทรัล ลาดพร้าว และสุดท้ายคือโรงภาพยนตร์ NT Firstclass Cinema ให้ลูกค้าสามารถออร์เดอร์ป๊อปคอร์นและเครื่องดื่มเพิ่มได้ทันทีระหว่างรับชมภาพยนตร์ 

 

“ในส่วนของ ‘Super Special Project’ อย่างที่บอกไปว่า SF รายล้อมไปด้วยพาร์ตเนอร์น่ารักมากมาย ปีนี้จะได้เห็นโปรเจกต์ที่จับมือกับพาร์ตเนอร์ในหลายธุรกิจมาร่วมมอบความสุขให้กับลูกค้า SF ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมท้าทั่วไทย ‘SF x Coke เปิดความซ่าท้าให้ลอง’ เอาอะไรก็ได้มาใส่ป๊อปคอร์น หรือใครที่อยากลองรสชาติใหม่ๆ ได้ชิมแน่ๆ กับ SF x After Yum ชิมป๊อปคอร์นรสชาติพิเศษ ‘ไก่ทอดซอสยำปู’ 

 

“นอกจากนั้นจะมีโปรเจกต์พิเศษๆ อย่าง The First Meta Reality Concert in Cinema ประสบการณ์ใหม่ในการรับชมคอนเสิร์ต เพื่อประสบการณ์ในการรับชมภาพยนตร์ที่สนุกยิ่งขึ้น”

 

 

“สุดท้ายคือ ‘Super Plus’ โดยปีนี้เราจะนำเสนอบัตร SF+ ระบบใหม่ ขยายรีวอร์ดจากการดูภาพยนตร์สูงสุด 100 เรื่องต่อปี และปรับระบบการเก็บคะแนนให้ง่ายขึ้น ดูภาพยนตร์เรื่องแรกก็ได้รีวอร์ดเลย มาพร้อมกับสิทธิพิเศษมากมาย มีการ Plus Package เพิ่ม โดยปรับโครงสร้างราคาครั้งใหญ่ในกลุ่มของ Kids/Student ดูภาพยนตร์เริ่มต้น 69 บาท และกลุ่ม Senior ดูภาพยนตร์เริ่มต้น 79 บาท ไม่ต้องจ่ายรายเดือน ในขณะที่กลุ่มคนทั่วไปเรามี My Pack ให้สามารถดีไซน์แพ็กเกจเองได้ เพื่อให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล” 

 

พิมสิริบอกว่า วิธีการทำตลาดของเธอน่าจะต่างจากยุคก่อนๆ ตรงนี้เลือกใช้ Data เป็นหลักในการทำงาน 

 

“เพราะประสบการณ์คือหัวใจสำคัญของธุรกิจโรงภาพยนตร์ แต่ละสาขาพฤติกรรมลูกค้าก็ต่างกัน ดังนั้น Data สำคัญมากๆ หลายๆ โปรเจกต์ก่อนจะเริ่มทำก็จะให้ศึกษา Data ก่อน แล้วก็เทสต์ว่าอะไรเวิร์กหรือไม่เวิร์ก แล้วค่อยไปปรับเปลี่ยน บางแคมเปญเกิดขึ้นผ่านทีมการตลาดใหญ่ก็จริง แต่จะมีบางแคมเปญที่ Customize ไปตามสาขา โดยทำงานร่วมกับทีมมาร์เก็ตติ้งของสาขานั้นๆ ซึ่งเขาจะรู้พฤติกรรมผู้บริโภคได้ดีกว่าเรา”  

 

 

บทเรียนทิ้งท้ายผ่านมุมความคิดของผู้บริหารรุ่นใหม่

 

เมื่อถามว่า ระหว่างวิกฤตโควิด-19, การมาถึงของสตรีมมิง และคู่แข่ง โจทย์ไหนสำหรับเธอที่ท้าทายที่สุด พิมสิริตอบแทบจะทันทีว่าโควิด-19 เพราะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน 

 

“ถึงจะท้าทาย แต่สำหรับเรามันสอนให้เราตระหนักว่าทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน หลังจากนี้เวลาจะทำอะไรต้องระวังตัว ต้องคิดอยู่เสมอว่า Worst Case คืออะไร 

 

“สำหรับการมาถึงของสตรีมมิง เราไม่ได้มองเป็นคู่แข่งโดยตรง เพราะสุดท้ายแล้วประสบการณ์การชมภาพยนตร์ของทั้งสองแพลตฟอร์มก็ต่างกัน แต่ไม่ใช่ว่าสตรีมมิงจะไม่กระทบธุรกิจโรงภาพยนตร์ เพราะต้องยอมรับว่าพฤติกรรมคนยุคนี้เปลี่ยนไป คนบางกลุ่มสตรีมมิงตอบโจทย์มากกว่า ซึ่งมันก็ถูกรวมเข้าไปกับโจทย์ที่เราต้องเจอคือ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนตลอดเวลา ดังนั้นธุรกิจโรงภาพยนตร์ก็ต้องปรับตัวให้ทัน

 

“สุดท้ายคือคู่แข่ง เราบอกกับทีมเสมอว่าแข่งกับตัวเองก่อน ทำตัวเองให้ดีที่สุด จึงไม่ได้มองไปที่คู่แข่ง สิ่งที่สำคัญกว่าคือ ตอนนี้ไม่ว่าใครเราก็กำลังอยู่ในยุค Attention Economy ต้องแย่งความสนใจจากลูกค้าให้ได้ เพราะสิ่งต่างๆ ที่ดึงความสนใจจากพวกเขาเยอะมาก แต่มันมีสิ่งหนึ่งที่คนมีจำกัดคือเวลา ถ้าเราอยาก Get Attention จากใคร เราต้อง Pay Attention จากเขาก่อน แปลว่าถ้าเราอยากได้เวลาจากลูกค้า สิ่งที่เราต้องทำคือให้ความสนใจว่าลูกค้าต้องการอะไรจริงๆ นั่นแหละคือหัวใจสำคัญที่เราจะนำมาดีไซน์เป็น Customer Journey  เพื่อทำให้เขามีประสบการณ์ที่ดีทุกครั้งที่อยู่กับเรา” 

 

ท้ายที่สุดแล้วคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะถามว่า เธอจะหาสมดุลระหว่าง ‘กำไร’ กับ ‘ความพึงพอใจของลูกค้า’ อย่างไร เธอบอกว่า ถ้าต้องเลือกระหว่าง Pain Point ของลูกค้ากับ P&L ก็ยืนยันที่จะเลือกแก้ Pain Point ลูกค้าก่อน 

 

“ตัวชี้วัดมันมีหลายอย่าง ประสบการณ์ก็เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่เราให้ความสำคัญก่อน การที่เขาเลือกมาที่ SF เขาต้องการได้รับประสบการณ์ที่ดี ถ้าเราเลือกทำงานโดยมุ่งไปที่ P&L ก่อน เราอาจสร้างประสบการณ์แย่ๆ ให้กับลูกค้า และเขาจะไม่กลับมาหาเราอีกเลย มันคือประสบการณ์ของลูกค้าที่เรียกคืนมาไม่ได้ ติดลบเรื่องนี้กู้กลับยาก แต่ติดลบตัวเลขมันมีวิธีแก้ปัญหามากมาย 

 

“แต่เราก็พาพาร์ตเนอร์เจ็บตัวไม่ได้เหมือนกัน จึงต้องหาให้เจอว่า Win-Win สำหรับทุกคนคืออะไร อะไรคือจุดที่ทุกคนแฮปปี้ที่สุด บางเคสเราอาจต้องยอมเจ็บตัวบ้าง แต่บางเคสมันก็เจอวิธีที่ทำให้ทุกอย่างยังบวกได้สำหรับทุกคน อย่างตอนทำ Live Viewing ค่าใช้จ่ายครั้งแรกกับครั้งที่สองต่างกัน เราเจอทางออกใหม่ๆ ทั้งหมดเกิดจากประสบการณ์ของทีม ทำซ้ำ ทำอีก พอทีมเก่งขึ้น ประสบการณ์จะพาเราไปเจอวิธีที่ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุข

 

“ถึงบางโปรเจกต์ P&L จะติดลบ แต่ประสบการณ์ของลูกค้าจะไม่ติดลบแน่นอน” 

 

และ ‘อวสานโรงภาพยนตร์’ จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน เธอเชื่อมั่นเช่นนั้น 

 

“ถ้าเราไม่หยุดพัฒนาไปตามพฤติกรรมผู้บริโภค ธุรกิจโรงภาพยนตร์จะไม่มีวันตาย แต่ในทุกการเปลี่ยนแปลงของ SF เราจะยังคงรักษาตัวตนของเราไว้ นั่นคือความถ่อมตัวและเป็นมิตร ลูกค้าและพาร์ตเนอร์จะต้องรับรู้ได้ว่าเราดูแลด้วยใจ สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะทำอะไรมันต้องย้อนกลับไปที่แกนหลักของธุรกิจคือ ลูกค้าต้องมีความสุขและได้รับประสบการณ์ที่ดี 

 

“ขอให้มีความสุขในการชมภาพยนตร์”

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X