Fidelity Investments บริษัทจัดการสินทรัพย์รายใหญ่ระดับโลก กล่าวว่า ภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจ คือภาวะสินเชื่อตึงตัว (Credit Crunch) หรือการเพิ่มความเข้มงวดในการออกสินเชื่อของธนาคาร โดยเฉพาะหลังจากการล่มสลายของธนาคาร 2 แห่งในสหรัฐฯ และการเข้าซื้อกิจการ Credit Suisse ของ UBS ทำให้ตลาดการเงินสั่นคลอน และเงื่อนไขการปล่อยเงินกู้เข้มงวดยิ่งขึ้น
Romain Boscher ประธานบอร์ดบริหาร Fidelity Investments ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ กล่าวว่า “ภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจ คือภาวะสินเชื่อตึงตัว (Credit Crunch) ของจริงและที่มองเห็นได้” โดยการแสดงความเห็นครั้งนี้เกิดขึ้นในงาน TradeTech งานสัมมนาด้านตราสารหนี้ในปารีส ในวันที่ 19 เมษายน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- เปิดเหตุผล ทำไมวิกฤตสินเชื่อตึงตัวในสหรัฐฯ (ที่ Fed กังวล) อาจก่อตัว ‘เป็นรูปเป็นร่าง’ แล้ว
- เปิดรายงานผลประชุม Fed ประเมินวิกฤตแบงก์ล่ม เป็นสาเหตุฉุดเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยภายในปีนี้
- สี่แบงก์ใหญ่สหรัฐฯ ตั้งสำรองหนี้กว่า 3.4 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 73% จากปีก่อน
ขณะที่ Shamik Dhar หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ BNY Mellon Investment Management และอดีตเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) กล่าวว่า “เศรษฐกิจได้ถูกหลายสิ่งหลายอย่างโจมตีในเวลาเดียวกัน เราได้เห็นภาวะสินเชื่อตึงตัวอย่างมากในช่วงเดือนที่ผ่านมา”
นอกจากนี้ Dhar ยังมองว่า หากเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อเข้มงวดขึ้นมากพอ เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ท่ามกลางสภาวะทางเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 คนมองว่า ตราสารหนี้ (Fixed Income) คือสินทรัพย์ที่น่าสนใจ
ทั้งนี้ ตราสารหนี้ (Fixed Income) เป็นหลักทรัพย์ที่ออกโดยรัฐบาลหรือองค์กรเอกชน ที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ตามกำหนดเวลา และชำระคืนเงินต้นเมื่อครบอายุของหลักทรัพย์
โดยหลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Treasury Yield) อายุ 10 ปี ได้ลดลงไปประมาณ 20 bps แล้วในปีนี้ เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตยังดูอ่อนแอ
ขณะที่ Boscher ยังกล่าวว่า หุ้น (Equity) ยังคงเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ อย่างน้อยเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล
อ้างอิง: