×

‘ไทย-อินโดนีเซีย’ 2 ประเทศอาเซียนกำลังเป็นทั้งเพื่อนและคู่แข่งด้านฐานผลิตชิ้นส่วน EV ป้อนทั่วโลก แต่อินโดนีเซียอาจมีแต้มต่อมากกว่า

18.04.2023
  • LOADING...
ไทย-อินโดนีเซีย

ไทยและอินโดนีเซียกำลังเป็นทั้งเพื่อนที่ช่วยกันเชื่อมฐานผลิตชิ้นส่วน EV ระดับโลก ในเวลาเดียวกันก็เป็นคู่แข่งที่เป็นหมุดหมายลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ เพื่อเข้ามาตั้งฐานผลิตและช่วงชิงผู้นำ EV ในภูมิภาค ขณะที่ ‘บิ๊กคอร์ป’ มองไทยเนื้อหอมก็จริง แต่อินโดนีเซียครบกว่า 

 

สำนักข่าว Nikkei รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ฮิโตชิ คาวาฮารา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Kuraray ผู้ผลิตพลาสติกสัญชาติญี่ปุ่น กล่าวภายหลังเปิดโรงงานผลิตพลาสติกวิศวกรรมชั้นสูง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยและพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยในพื้นที่ EEC ว่า ภาพรวมการลงทุนในไทยขณะนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หลายรายต่างบอกกับเราว่าพวกเขาต้องการมีห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคนี้ ดังนั้นโรงงานแห่งใหม่นี้จะเป็นหนึ่งในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ EV ที่เพิ่มขึ้นในไทยที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นดินแดนใหม่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่มีทั้ง Hyundai Motor ของเกาหลีใต้ที่เริ่มผลิต EV ที่นี่เมื่อปีที่แล้ว รวมทั้ง BYD ของจีนมีแผนจะเริ่มประกอบรถยนต์ในไทยในปี 2024 

 

ทั้งนี้ Kuraray ได้ลงทุนสร้างโรงงานประมาณ 7 หมื่นล้านเยน (520 ล้านดอลลาร์) โดยร่วมทุนกับบริษัทปิโตรเคมีของไทย PTT Global Chemical และ Sumitomo Corp. ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของญี่ปุ่น ในการผลิต Genestar เรซินประสิทธิภาพขั้นสูง โดยมีความต้านทานความร้อนสูงกว่าเรซินมาตรฐาน และใช้สำหรับชิ้นส่วนไฟฟ้าขั้นสูง และแบตเตอรี่รถยนต์ โดย Genestar ผลิตในญี่ปุ่น แต่โรงงานแห่งใหม่ในไทยจะเพิ่มกำลังการผลิตปีละ 2 เท่าเป็น 26,000 ตัน อีกทั้งเขากล่าวอีกว่า บริษัทกำลังพิจารณาการลงทุนในไทยเพิ่มภายในปี 2026 โดยมีขนาดใกล้เคียงกับโรงงานแห่งใหม่ด้วย

 

นอกจากนี้รายงานข่าวยังระบุอีกว่า ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Murata Manufacturing ผู้ผลิตญี่ปุ่นที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก และเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญให้ซัพพลายเออร์ iPhone กล่าวถึงความคืบหน้าของโรงงานสำหรับตัวเก็บประจุเซรามิกในจังหวัดลำพูนว่า ขณะนี้การก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย

 

โดย Murata เป็นผู้นำและผู้ผลิตระดับโลกในด้านตัวเก็บประจุ ได้วางแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย หลังจากได้รับแรงจูงใจจากนโยบายการส่งเสริมการผลิต EV เพื่อผลิตป้อนให้กับบริษัท EV ที่ไทยมีทั้ง BYD ที่วางแผนเปิดโรงงานในปีหน้า โดยมีกำลังการผลิตปีละ 150,000 คัน, Great Wall Motor ซึ่งได้เข้าสู่ตลาดประเทศไทยแล้ว รวมไปถึง MG Motor SAIC Motor ก็วางแผนที่จะเริ่มการผลิตในไทยแล้วเช่นกัน

 

โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนของญี่ปุ่นมองว่า BYD และผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนรายอื่นๆ เป็นลูกค้าที่มีศักยภาพ รวมไปถึง Toyota Motor และ Honda Motor เองก็วางแผนการผลิต EV ในไทย แต่ “มีแนวโน้มว่าจะเริ่มต้นในระดับเล็กๆ เท่านั้น” 

 

จีนและเกาหลีใต้ต่างเล็งลงทุนแบตเตอรี่ที่อินโดนีเซีย

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงแบตเตอรี่ EV บริษัทจีนและเกาหลีใต้ต่างมองการลงทุนไปที่อินโดนีเซียมากกว่า เพราะมีทรัพยากรที่เหมาะสมและสมบูรณ์กว่า และจะเห็นว่าอินโดนีเซียเองก็เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของภูมิภาค อีกทั้งมีบริษัท Contemporary Amperex Technology ของจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตแบตเตอรี่ EV รายใหญ่ที่สุดในโลก กำลังจะลงทุนด้วยมูลค่าสูงถึง 6 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโรงงานร่วมกับบริษัทในท้องถิ่นอินโดนีเซีย โดยมีเป้าหมายให้โครงการแล้วเสร็จภายในปี 2026 และยังมุ่งต่อยอดสร้างการผลิตแบบบูรณาการตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำและด้านอื่นๆ ตามมาด้วย เช่น การทำเหมืองนิกเกิล ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า

 

รวมไปถึง LG Energy Solution ของเกาหลีใต้จะตั้งโรงงานแบตเตอรี่ในอินโดนีเซียร่วมกับ Hyundai โดยผู้ผลิตรถยนต์จีนและยุโรปส่วนใหญ่นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศของตนเพื่อขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

อากิระ มิยาโคชิ จากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นกล่าวว่า นับจากนี้การผลิต EV จะกลายเป็นฐานสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผู้ผลิตกลุ่มยานยนต์จะต้องจัดระเบียบเครือข่ายใหม่สำหรับรถยนต์ชิ้นส่วนไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้เชื่อว่ามีผู้ผลิตชิ้นส่วนญี่ปุ่นมากกว่า 1,000 รายดำเนินธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ทำเกี่ยวข้องกับเครือข่ายการจัดหาชิ้นส่วนเกี่ยวกับ EV อาจเป็นเพราะผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นจดจ่ออยู่กับการทำให้รถยนต์สันดาปที่มุ่งใช้ชิ้นส่วนประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น 

 

แหล่งข่าวจากซัพพลายเออร์ญี่ปุ่นกล่าวว่า เมื่ออุตสาหกรรมรถยนต์ถึงจุดเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้า ญี่ปุ่นจึงมุ่งความสนใจไปที่รถยนต์ไฮบริดและปลั๊กอินไฮบริดก่อน ในขณะที่คู่แข่งมุ่งไปที่รถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ

 

ดังนั้น ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นจึงมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 90% ในอินโดนีเซียและไทย แต่ในตลาด EV บริษัทจีนและเกาหลีใต้เพียงไม่กี่แห่งครองตลาดทั้ง 2 ประเทศ โดยในปี 2022 อินโดนีเซียและไทยขาย EV แค่เพียง 10,000 คัน ในขณะที่การผลิตในท้องถิ่นของผู้ผลิต EV ของจีนและเกาหลีใต้กลับเติบโตขึ้น ผู้ผลิตแบตเตอรี่จากจีนและเกาหลีใต้อาจจะผลักดันให้มีการสร้างเครือข่ายตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้นต่อไป 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising