‘ความเหลื่อมล้ำ’ หนึ่งในปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมไทย ความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา ล้วนมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประเทศในหลายมิติ
เนื่องจากเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ซับซ้อนและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยองค์กรใดเพียงองค์กรหนึ่ง หลายองค์กรที่มีศักยภาพและความพร้อมจึงลงมือทำแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นคือ ‘กลุ่มเซ็นทรัล’ (CENTRAL GROUP)
กว่า 75 ปีที่กลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนผ่านการร่วมมือกับชุมชน คู่ค้า ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสีย โดยการใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญของกลุ่มบริษัทขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนผ่านโครงการ ‘เซ็นทรัล ทำ’
‘เซ็นทรัล ทำ’ คือโครงการที่ส่งเสริมให้ทุกคนมาร่วมมือกัน ‘ทำ’ ภายใต้แนวคิด CSV (Creating Shared Values) ที่เกิดจากความรับผิดชอบต่อสังคม ผนวกกับการดำเนินธุรกิจในเชิงคุณภาพที่ตรงกับความต้องการของสังคม เพื่อสร้างคุณค่าร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นลดความเหลื่อมล้ำเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี การศึกษาที่มีคุณภาพ และความเท่าเทียมกันทางสังคม สร้างงานที่มีคุณค่าและโอกาสทางอาชีพที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสนับสนุนและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น และทุกการลงมือทำจะต้องมุ่งสู่การรักษาและดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย ตามกรอบเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations)
ที่ผ่านมาโครงการ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ขับเคลื่อนภายใต้แนวคิด ‘ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ’ ตอกย้ำความเชื่อในพลังของการร่วมมือกันทำจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น สร้างสังคมที่ดีกว่าเดิม และยังเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรให้ยั่งยืน
ผลสำเร็จของการลงมือ ‘ทำ’ ปี 2565
- ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคา 101 แห่ง
- ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 71,500 เมกะวัตต์-ชั่วโมง
- ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 80 สถานี
- ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารกว่า 4,000 ตัน
- ลดขยะจากการรีไซเคิลและการนำมาใช้ประโยชน์กว่า 10,000 ตัน
- บรรจุภัณฑ์ ร้อยละ 85 ของแบรนด์สินค้าในกลุ่มเซ็นทรัล (กลุ่มอาหาร) เป็นวัสดุรีไซเคิล
- เพิ่มพื้นที่สีเขียวและฟื้นฟูป่า 5,519 ไร่
- สร้างงานและสนับสนุนอาชีพให้คนพิการ 751 คน
- สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนกว่า 1,500 ล้านบาท
- สนับสนุนชุมชนกว่า 100,000 ครัวเรือน
7 โครงการต้นแบบ กับเส้นทางการพัฒนาสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน
ภายใต้ตัวเลขข้างต้น ‘เซ็นทรัล ทำ’ ได้ลงมือทำโครงการมาอย่างต่อเนื่อง และนี่คือ 7 โครงการต้นแบบของการ ‘ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ’
จริงใจมาร์เก็ต จังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์
จริงใจมาร์เก็ต เป็นตลาดเกษตรอินทรีย์แห่งแรกของกลุ่มเซ็นทรัล เริ่มจากแผงขนาดเล็กไม่ถึง 10 แผง ใช้เวลากว่า 10 ปี ปัจจุบันมีผู้ประกอบการท้องถิ่นและเกษตรกร ที่นำผัก ผลไม้มาจำหน่ายจาก 15 ชุมชน คิดเป็นกว่า 70 ครัวเรือน และมีผู้ประกอบการอีกเกือบ 250 รายที่มาจำหน่ายสินค้าทำมืออัตลักษณ์ไทยและอาหารพร้อมรับประทาน
จริงใจมาร์เก็ต จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในโครงการแห่งความจริงใจและใส่ใจของเซ็นทรัล ทำ ตั้งอยู่ในย่านจริงใจเซ็นทรัล Creative District สร้างขึ้นภายใต้แนวคิดรักษ์โลก (Eco-friendly) และ CSV (Creating Shared Values) ภายในตลาดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ อาหาร (Food) ศิลปะและงานออกแบบ (Art & Design) และงานฝีมือ (Craft) เน้นสร้างความสุขอย่างยั่งยืนทั้งแก่ผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยว ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในท้องที่ให้มีรายได้อย่างยั่งยืน พร้อมส่งเสริมให้สินค้า อาหาร และวัฒนธรรมของชาวเชียงใหม่เป็นซอฟต์พาวเวอร์ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติกว่า 820,000 ราย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 – มีนาคม 2566 สร้างเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวให้กับเศรษฐกิจไทยได้กว่า 40 ล้านบาทต่อปี
จุดเด่นของ จริงใจมาร์เก็ต จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ที่โซนจริงใจ Farmers’ Market ตลาดผักเกษตรอินทรีย์และปลอดภัยแห่งแรกของกลุ่มเซ็นทรัล และโซนรัสติคมาร์เก็ต ตลาดรวมสินค้าแฮนด์เมดที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมี Tops Green (ท็อปส์ กรีน) สโตร์สีเขียวแห่งแรกภายใต้คอนเซปต์ ‘ร้านค้าสีเขียวเพื่อชาวเชียงใหม่ ชีวิต และโลกที่ดีขึ้น’ และร้าน Good Goods จำหน่ายสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดจริงใจยังเป็นต้นแบบของตลาดรักษ์โลก ทั้งประกาศให้เป็นตลาดปลอดโฟม มีจุดตั้งถังขยะแยกประเภท ติดตั้งเครื่อง Cowtec เพื่อนำเศษอาหารที่เกิดจากตลาดมาทำเป็นปุ๋ยและก๊าซชีวภาพไปใช้ต่อ
ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม
นาหมื่นศรี จังหวัดตรัง พื้นที่ที่เซ็นทรัล ทำ ให้การสนับสนุนก่อสร้าง ‘พิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี’ เพื่อรวบรวมผ้าทอมือโบราณที่มีประวัติยาวนานกว่า 200 ปี พร้อมทั้งสืบสานลายอัตลักษณ์โบราณ
นับตั้งแต่ปี 2557 ที่เซ็นทรัล ทำ เข้าไปช่วยรวมกลุ่มช่างทอ จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง รวบรวมลายผ้าโบราณ และเปิดร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ จากนั้นได้ปรับปรุงชั้น 2 ของโรงทอผ้าเดิม (อาคารไม้) ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี ก่อนจะปรับปรุงในปี 2561 เพื่อยกระดับให้เป็นโครงการศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตรัง
ที่ผ่านมา ยังจัดกิจกรรมและโครงการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น จัดอบรมการเป็นมัคคุเทศก์ในพิพิธภัณฑ์ จัดทำเส้นทางจักรยานท่องเที่ยวชุมชน อบรมเรื่องการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยว
ล่าสุดปี 2565 ได้ทำการเปิด ‘ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี’ อย่างเป็นทางการ ต้นแบบของศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม โดยในแต่ละเดือนจะมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แวะเวียนไปดูงานอย่างสม่ำเสมอ
ศูนย์การเรียนรู้พุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์
อีกหนึ่งโครงการที่เซ็นทรัล ทำ ต้องการผลักดันให้เป็น ‘ต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการทำเกษตรอินทรีย์’ โดยเซ็นทรัล ทำ ร่วมมือกับพระเมธีวชิโรดม (ท่าน ว.วชิรเมธี) ผู้ก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย และภาคีเครือข่าย ต่อยอดโครงการพุทธนิเวศเกษตรอินทรีย์ไร่เชิญตะวันเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร ชาวนา รวมถึงผู้ที่สนใจมาเรียนรู้ศึกษาแนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
โดยโครงการนี้ยังเป็นโครงการศึกษาแผนแม่บทพัฒนาไร่เชิญตะวันให้เป็น ‘พุทธนิเวศสากล’ (International Eco Monastery) เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ในการสร้างอาชีพภายใต้ภูมิปัญญาใหม่ ให้คนกับคน คนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกัน เป็นกัลยาณมิตรด้วยจิตที่เป็นกุศลและตื่นรู้ต่อปัญหาของสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงหมุนเวียนระดับพื้นบ้าน ด้านการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งหากดำเนินการสำเร็จจะเป็นต้นแบบของการฟื้นฟูมนุษย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
ปี 2566 เซ็นทรัล ทำ ตั้งเป้าพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มเติม 13 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล พืชเศรษฐกิจ จำนวน 3 ไร่ และพื้นที่ปลูกผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน จำนวน 10 ไร่
ชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีชีวิตยั่งยืนแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์
โครงการพื้นที่วิถีชีวิตยั่งยืนแม่ทา เป็นโครงการต้นแบบที่มุ่งหวังให้สมาชิกคนรุ่นใหม่รวมกลุ่มกันจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ โดยเซ็นทรัล ทำ ร่วมกับมูลนิธิสายใยแผ่นดิน (Earth Net Foundation) และหน่วยงานอีกหลายภาคส่วน อาทิ ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อให้เกษตรกรรุ่นใหม่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน กลุ่มเซ็นทรัลได้เข้าไปทำงานร่วมกับชุมชน แลกเปลี่ยนความรู้ เกิดโครงการและความร่วมมือมากมาย เช่น การพัฒนาผลผลิต การรับซื้อ การสร้างแบรนด์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการสนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่าย ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตลอดจนให้การสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างอาคารอบรมและห้องคัดแยกเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ และสนับสนุนการปรับปรุงอาคารคัดบรรจุผักให้เป็นไปตามมาตรฐาน อ.ย. และติดตั้งเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร และจัดซื้อรถขนส่งห้องเย็นให้กับชุมชน
นอกจากนั้น ยังให้การสนับสนุนโครงการพื้นที่ข่วงชีวิต วิถียั่งยืน (Sustainable Living Mae Tha) ให้คนรุ่นใหม่รวมกลุ่มกันจัดสรรพื้นที่ 9 ไร่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลักดันให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรรุ่นใหม่ ภายใต้ชื่อ ‘วิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนิค’ เพื่อรองรับกิจกรรมรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับการทำเกษตรแบบยั่งยืนในปัจจุบัน รวมถึงแนวทางด้านการท่องเที่ยววิถีชุมชน
กาแฟรักษาป่า ภูชี้เดือน จังหวัดเชียงราย การท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ
เซ็นทรัล ทำ เข้าไปส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟอินทรีย์รักษาป่าภูชี้เดือน สนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่เปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกจากเกษตรแบบเชิงเดี่ยวและใช้สารเคมี มาเป็นการปลูกกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าแท้ โดยการคัดต้นพันธุ์แท้ ‘ทริปปิก้า มัลเดอริ่ง’ จากต่างประเทศ มาปลูกในผืนป่าธรรมชาติบนพื้นที่ภูชี้เดือน
จากเดิมที่ภูชี้เดือนเคยเป็นเขาหัวโล้นเพราะการถางพื้นที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว เมื่อปรับวิธีการเพาะปลูกกาแฟด้วยวิถีชุมชนเกษตรอินทรีย์ธรรมชาติ จึงช่วยฟื้นฟูป่าต้นน้ำและกักเก็บคาร์บอนสู่ดินและต้นไม้ ลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียวมากขึ้น ลดปัญหาหมอกควัน ปัญหาสารเคมี ปัญหาการปลูกพื้นเชิงเดี่ยว เพิ่มพูนรายได้ให้กับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง สามารถปรับพื้นที่จากการทำไร่เลื่อนลอย เป็นการปลูกกาแฟรักษาป่ากว่า 1,500 ไร่ ปี 2565 สร้างรายได้ให้ชุมชนมากกว่า 6 ล้านบาท มีสมาชิกเข้าร่วมกว่า 84 ราย
ปี 2566 เดินหน้าสนับสนุนปัจจัยด้านการผลิตอื่นๆ ได้แก่ โรงเรือนแปรรูปกาแฟ โกดัง เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตกาแฟ ทั้งยังจัดอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเยือนแหล่งนิเวศและชมกาแฟรักษาป่า พร้อมลิ้มลองรสชาติกาแฟออร์แกนิคแท้ๆ ถึงแหล่งเพาะปลูก
ชุมชนผ้าย้อมครามบ้านกุดจิก จังหวัดสกลนคร การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม
เซ็นทรัล ทำ ร่วมมือกับกรมพัฒนาชุมชน สนับสนุนพัฒนากลุ่มทอผ้าบ้านกุดจิก ซึ่งมีความโดดเด่นด้านการทอผ้า และยังเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกฝ้าย ปลูกคราม การย้อมผ้า และการทอผ้า อีกทั้งความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกกลุ่มแต่เดิมและศักยภาพของแต่ละครัวเรือน เมื่อกลุ่มเซ็นทรัลเข้าไปแบ่งปันความรู้ด้านการทอผ้า การสร้างลวดลายใหม่ สนับสนุนโรงย้อมผ้า สนับสนุนช่องทางการจำหน่าย ทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าครามของชุมชนแห่งนี้มีความโดดเด่นแตกต่าง ทั้งเส้น สี และลายผ้า ด้วยแบบแผนการทอผ้าแบบโบราณตามดั้งเดิม นำมาพัฒนาเป็นสินค้าหลากหลายแบบภายใต้แบรนด์ ‘กู๊ด กู๊ดส์’ (Good Goods) เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนและสืบสานวัฒนธรรมการทอผ้าให้คงอยู่
ปี 2565 สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน 1 ล้านบาท ซึ่งมีชุมชนเข้าร่วมมีทั้งหมด 30 คน โดยในปี 2566 จะต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และยกระดับต่อยอดโครงการเป็นศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าย้อมครามและสีธรรมชาติ รวมถึงปรับปรุงโรงย้อมสีธรรมชาติ
ศูนย์การเรียนรู้พัฒนาผลผลิตการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน บ้านเทพพนา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์
วิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจบ้านเทพพนา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เป็น 1 ใน 7 ของผู้ปลูกอะโวคาโดสายพันธุ์แฮสส์ในประเทศไทย ผลผลิตหลักคือ อะโวคาโดสายพันธุ์แฮสส์ เม็กซิโก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะแบบครบวงจร ปัจจุบันนี้สวนเทพพนาได้ทำการขยายผลเครือข่ายผู้ปลูกอะโวคาโด จำนวน 1,000 ราย (พื้นที่เพาะปลูก 2,000 ไร่) ในอำเภอเทพสถิต
เซ็นทรัล ทำ ให้การสนับสนุนด้านการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ด้านต่างๆ เช่น ส่งเสริมอาชีพด้านเกษตรอัจฉริยะด้วยการปลูกอะโวคาโดสายพันธุ์แฮสส์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวทดแทนป่าเสื่อมโทรม จำนวน 2,000 ไร่ สนับสนุนการสร้างแบรนด์สินค้า (ภูมิพนา) และช่องทางการตลาด เพื่อสร้างโอกาสในการทำตลาดและการเข้าถึงของผู้บริโภค ส่งเสริมการยกระดับคุณภาพผลผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างอาคารรวบรวมผลผลิตและแปรรูป สร้างศูนย์เรียนรู้พัฒนาผลผลิตการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน และพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์
นอกจากนี้ ยังสนับสนุนพัฒนาต่อยอดด้านท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์ โดยจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวร่วมกับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดชัยภูมิ โดยปี 2565 ชุมชนมีสมาชิกกว่า 400 ราย มีรายได้กว่า 3 ล้านบาท ตั้งเป้าเพิ่มสมาชิกปีละ 100 ราย
เพื่อให้คุณเห็นถึงความตั้งใจที่จะสร้าง ‘พลังของการร่วมลงมือทำ’ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชุมชน และสร้างคุณภาพชีวิต ให้ธุรกิจและสังคมเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน เป็นความแน่วแน่และจุดมุ่งหมายในการขับเคลื่อน ‘เซ็นทรัล ทำ’ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ชัดเจนขึ้น ชวนฟังเรื่องราวของกลุ่มคนที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพลังการร่วมลงมือทำ
‘เซ็นทรัล ทำ’ เดินหน้าทำต่อในปี 2566
ปี 2566 กลุ่มเซ็นทรัล เดินหน้าโครงการ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ภายใต้แนวคิด ‘ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ’ สานต่อการลงมือทำร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าสร้างรายได้ให้กับชุมชนให้ได้ 1,800 ล้านบาทต่อปี เพิ่มพื้นที่สีเขียวและฟื้นฟูป่า 6,500 ไร่ และมุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2593 โดยจะดำเนินงานภายใต้ 6 แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืน ได้แก่
แนวทางที่ 1: ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สร้างอาชีพ และบรรเทาสาธารณภัย (Community & Social Contribution)
ผลักดันโครงการส่งเสริมการสร้างอาชีพให้กับชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร อีกทั้งสืบสานประเพณี พัฒนาสินค้าท้องถิ่น ส่งเสริมและพัฒนาให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็น จริงใจฟาร์มเมอร์มาร์เก็ตที่ Tops Market ทั้ง 32 สาขา, โครงการจริงใจมาร์เก็ต จังหวัดเชียงใหม่, โครงการศูนย์การเรียนรู้พัฒนาผลผลิตการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน วิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจบ้านเทพพนา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ, โครงการชุมชนผ้าย้อมครามบ้านกุดจิก จังหวัดสกลนคร ปัจจุบัน ดำเนินการไปแล้วกว่า 35 จังหวัด สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กว่า 100,000 ครัวเรือน สร้างรายได้ให้ชุมชนโดยการรับซื้อการรับซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาจำหน่ายในศูนย์การค้าไปแล้วกว่า 1,500 ล้านบาท
แนวทางที่ 2: ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม (Inclusion)
พัฒนาและสนับสนุนการศึกษาให้เยาวชนที่ขาดโอกาส พร้อมพัฒนาศักยภาพ ความสามารถของเยาวชนไทยให้เท่าเทียมสากล มอบโอกาสในการทำงาน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมการทำงาน และส่งเสริมทักษะอาชีพให้กับคนพิการ ปี 2565 ได้สนับสนุนอาชีพให้คนพิการไปแล้วกว่า 751 คน
แนวทางที่ 3: พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Development)
พัฒนาศักยภาพของพนักงานในองค์กร ปี 2566 ตั้งเป้าจัดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพพนักงานครบทุกคน 100%
แนวทางที่ 4: ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (Circular Economy & Waste Management)
พัฒนาและออกแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องไปกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีความรับผิดชอบผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ Journey to Zero รวมถึงการสนับสนุนสินค้า Upcycling
แนวทางที่ 5: ลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและลดปริมาณขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste Reduction)
ด้วยการวางแผนการใช้วัตถุดิบ จัดการอาหารที่เหลือจากการจำหน่าย อาหารที่ยังรับประทานได้ส่งต่อให้แก่กลุ่มเปราะบาง รวมไปถึงเด็ก เยาวชน และผู้ขาดแคลนโอกาส โดยในปี 2565 ได้บริจาคไปมากกว่า 1,108,960.31 มื้อ ส่วนอาหารที่ไม่สามารถรับประทานได้จะถูกนำไปผ่านกระบวนการในการแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์และก๊าซชีวภาพเพื่อนำมาสร้างประโยชน์หมุนเวียนต่อไป
แนวทางที่ 6: ฟื้นฟูสภาพอากาศ ลดมลภาวะ และผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน (Climate Action)
ผ่านโครงการ Journey to Zero คือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กว่า 101 แห่ง และติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้ากว่า 80 สถานี กิจกรรมปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูผืนป่าที่ดำเนินการไปแล้วกว่า 5,500 ไร่ และตั้งเป้าปลูกป่าและฟื้นฟูป่าอีก 1,000 ไร่ภายในปี 2566 นอกจากนี้ ยังปรับภูมิทัศน์โดยรอบศูนย์การค้า จัดทำสวนสาธารณะ บูรณาการพื้นที่ริมคลอง ติดตั้งเครื่องดักไขมัน และปรับสภาพน้ำในคลองข้างศูนย์การค้า
ทั้งหมดนี้คือต้นแบบของการลงมือทำเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ตลอดหลายปี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน ผ่านศักยภาพและความเชี่ยวชาญของกลุ่มบริษัท และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม รวมไปถึงการสร้างความตระหนักและการเปลี่ยนแปลงกับทุกคน