จากบทความ ZipEvent ‘StartUp เบอร์ 1 ด้านอีเวนต์ ที่ AIS D.C. ไว้วางใจ’ เราได้เห็นถึงการเดินทางอันแสนยาวไกลของเด็กหนุ่มอดีตพนักงานประจำ นายเจ-ภาโรจน์ เด่นสกุล ที่นำพลังคิดบวกมาเป็นกำลังสำคัญเพื่อผลักดันไอเดีย WonderMe ที่ใช้เพื่อการประกวดในปี 2013 ให้กลายมาเป็น ZipEvent ดิจิทัลแพลตฟอร์มอันดับ 1 ของประเทศไทยที่ให้บริการด้านอีเวนต์แบบครบวงจร ผู้ใช้ได้เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของแต่ละงานอีเวนต์ ไม่ว่าจะเป็นตารางกิจกรรมภายในงาน โปรโมชันของร้านค้าในงาน รายละเอียดบูธต่างๆ หรือแม้กระทั้งการรีวิวหลังงาน เป็นต้น
เมื่อมองเผินๆ ZipEvent อาจดูคล้ายแอปพลิเคชันด้านอีเวนต์อื่นๆ ที่มีอยู่ในตลาดมากมาย แต่เมื่อวิเคราะห์ในมุมธุรกิจทั้งในมิติของผลการดำเนินงานและผลประกอบการ เราพบว่าวันนี้ ZipEvent ได้ก้าวสู่การเป็นบริษัทสตาร์ทอัพชั้นนำด้านอีเวนต์ของไทย ที่ผ่านบทพิสูจน์มาแล้วในเวทีธุรกิจระดับมหภาค ไม่ว่าจะเป็นการได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานภาครัฐหรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ที่นำดิจิทัลแพลตฟอร์มของ ZipEvent มาบริหารจัดการระบบลงทะเบียนของงานอีเวนต์ที่แต่ละองค์กรจัดขึ้น ตัวอย่างล่าสุดได้แก่ งาน Digital Intelligent Nation 2018 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่าน ทางเอไอเอสร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อนำเสนอเทคโนโลยี IoT สุดล้ำ ให้คนไทยได้เข้าถึงองค์ความรู้และเทรนด์การขับเคลื่อนของเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีผู้ร่วมงานหลายพันคน ครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ ZipEvent ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับเอไอเอสเพื่อดูแลเรื่องการจองตั๋วเข้างาน จนถึงวางระบบลงทะเบียนหน้างานให้ดำเนินไปอย่างเรียบร้อย
ไม่เพียงแค่ในเมืองไทย แต่ ZipEvent ก็ได้พิสูจน์ความสามารถมาแล้วในเวทีนานาชาติ เช่น งาน Top Thai Brands ณ กรุงย่างกุ้ง และงาน Myanmar International Franchise ที่ประเทศพม่า ซึ่งเร็วๆ นี้ ZipEvent มีแผนการขยายบริการไปยังกลุ่มประเทศ CLMV อีกด้วย
ด้วยประสิทธิภาพและคุณภาพของบริการ ZipEvent ที่เข้าไปนั่งอยู่ในใจลูกค้า เป็นส่วนทำให้การดำเนินธุรกิจของ ZipEvent มาถึงจุดที่เรียกว่า ‘สร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่อง’ (Profitable) บริษัทสตาร์ทอัพในไทยหลายต่อหลายบริษัทใฝ่ฝันจะมาถึงจุดนี้ แต่ก็น้อยรายนักที่สามารถพาบริษัทตนเองมาถึงจุดนี้ได้โดยไม่พึงพาการระดมทุน
เพราะ ZipEvent สามารถพิสูจน์ผลงานในธุรกิจได้จริง จึงเข้าตากรรมการคว้ารางวัล Rising Star Award จากเวที Krungsri RISE 2x เมื่อปลายปี 2017 และยังได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนสตาร์ทอัพหนึ่งเดียวของไทยที่ทำแพลตฟอร์มด้านอีเวนต์เข้าร่วมเสวนางานประชุมนานาชาติ TCT/TTA Joint Seminar 2018 ‘5G & Disruptive Technology Supporting Thailand 4.0: Challenge and Opportunities’ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
เคล็บ (ไม่) ลับของ ZipEvent ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนทั้งสิ้น เมจิกเวิร์ดมีเพียงสองคำสั้นๆ ได้แก่ คุณค่า (Value) และ ระบบนิเวศ (Ecosystem) หลักแนวคิดของ ZipEvent คือขยายขอบเขตมากกว่าแค่การสร้างแอปพลิเคชัน เป็นการสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มด้านอีเวนต์ที่ส่งมอบคุณค่าให้กับคนที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศของการจัดงานอีเวนต์
ZipEvent ให้ความสำคัญตั้งแต่ผู้จัดงานอีเวนต์ (Event Organizer) ไม่ว่าจะเป็นการจัดการประชุมธุรกิจ งานสัมมนา หรืองานแสดงสินค้า ทีมงาน ZipEvent จะเข้าไปทำความเข้าใจรูปแบบของงานอย่างถ่องแท้ และสร้างแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นในการปรับให้เข้ากับสถานการณ์ของแต่ละรูปแบบการจัดงาน นอกจากนั้นยังสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้จัด โดยมีระบบจัดการด้านหลังแบบครบวงจร ตั้งแต่การจัดการการลงทะเบียน การจัดเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมงาน การวัดผลความพึงพอใจของผู้ร่วมงานหรือระบบโหวต ผู้จัดงานยังสามารถเข้าดูข้อมูลอัพเดตได้อย่างเรียลไทม์ ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือและเว็บไซต์เจ้าของงานอีเวนต์ (Event Owner) คือผู้เป็นเจ้าของแบรนด์ของงานอีเวนต์นั้นๆ จะเป็นคนละคนกับผู้จัด (Event Organizer) หรือคนเดียวกันก็ได้ ความต้องการของเจ้าของงานอีเวนต์คืออยากให้คนรู้จักงานและมีจำนวนคนเข้าร่วมงานตามเป้าหมายที่กำหนด ZipEvent จึงเป็นมากกว่าแค่เรื่องเทคโนโลยี แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มการสื่อสาร (Communication Platform) ระหว่างเจ้าของงานและผู้ร่วมงานเพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นความต้องการเข้าร่วมงานของลูกค้า
ที่กล่าวมา ทั้งผู้จัดงานและเจ้าของงาน เป็นในมุมของผู้สร้างอีเวนต์ ในขณะเดียวกัน ZipEvent ยังขยายขอบเขตสร้างตนเองเป็นไลฟ์สไตล์แพลตฟอร์ม (Lifestyle Platform) ที่เข้าถึงการใช้ชีวิตประจำวันของผู้เข้าร่วมงาน (Event Participant) ที่ต้องการความสะดวกสบาย ตั้งแต่การหาข้อมูลอัพเดตของงานอีเวนท์ต่างๆ ทั่วไทย แล้วสามารถลงทะเบียน ซื้อบัตร พร้อมกับมีช่องทางการจ่ายเงินในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบัตรเครดิต กระเป๋าเงินดิจิทัล หรือ m-Wallet เป็นต้น จากนั้นผู้ใช้สามารถรับการยืนยันการจ่ายเงินครบจบในที่เดียว ZipEvent ยังมองลึกเข้าไปในระบบนิเวศ และให้ความสนใจกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป (General User) หมายถึงกลุ่มคนที่อาจไม่ได้ไปลงทะเบียนร่วมงานอีเวนต์ แต่มีไลฟ์สไตล์ในการท่องอินเทอร์เน็ตเพื่อหาข่าวสาร อัพเดตงานอีเวนต์ต่างๆ ทั่วไป ไลฟ์สไตล์แพลตฟอร์มของ ZipEvent ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถท่องเข้าไปดูข้อมูลและเห็นภาพงาน เปรียบเสมือนได้ร่วมงานด้วยตนเอง
และแน่นอน ในระบบนิเวศก็รวมถึงตัวของ ZipEvent เองด้วย ซึ่งในปลายปี 2017 ZipEvent ได้ตระหนักถึงการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้ตอบโจทย์ทั้งฝั่งผู้สร้างงานอีเวนต์และผู้บริโภค จึงตัดสินใจสร้างสัญลักษณ์แบรนด์ขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นมืออาชีพเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ แต่ยังคงความเป็นกันเองให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้
การมาถึงจุด ‘สร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่อง’ ของ ZipEvent ไม่ได้มาจากโชคช่วย แต่วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศให้ครบทุกมิติ แล้วสร้างคุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการไปยังกลุ่มคนเหล่านั้นในรูปแบบที่แตกต่างกันไป
AIS The StartUp มีความเชื่อเดียวกันกับ ZipEvent เราให้ความสำคัญในการสร้างคุณค่าและส่งมอบคุณค่านั้นให้กับทุกๆ ส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศธุรกิจ เพราะความมุ่งมั่นเหล่านี้ช่วยต่อยอดให้สมาชิกใน AIS The StartUp ได้เติบโต และสร้างผลกำไรได้อย่างแท้จริง หากใครที่เป็นนักพัฒนาธุรกิจที่อยากติดอาวุธสร้างปีก สามารถสมัครเข้าร่วมนำเสนอผลงานได้ที่ AIS The StartUp ผ่านทาง www.ais.co.th/thestartup ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป