จากงาน APEC CEO Summit ในเวทีเรื่อง อนาคตของการค้าและการลงทุนในเอเชีย-แปซิฟิก (The Future of Asia-Pacific Trade And Investment) ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนา 4 ท่าน ได้แก่ โตโมชิกะ อุยามะ ที่ปรึกษาอาวุโส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO), จอห์น เด็นตัน เลขาธิการสภาหอการค้านานาชาติ (ICC), ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) และ ติงสงจวิน ประธาน บริษัท กุ้ยโจว เหมาไถ
เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันอยู่ในจุดที่เผชิญกับปัญหารุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยขาขึ้น และความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- คนจันท์กำลังซื้อสูง เหตุผลที่ CPN ทุ่ม 3.5 พันล้าน เปิดเซ็นทรัล จันทบุรี ศูนย์การค้าแห่งที่ 37 จับตาโครงการต่อไป ‘นครสวรรค์และนครปฐม’
- ชาวราชพฤกษ์เตรียมตัว! CPN ทุ่ม 6.2 พันล้านบาท ปั้นโครงการใหม่ ‘เซ็นทรัล เวสต์วิลล์’ คาดเปิดปลายปี 2566
- CPN เปิดแผน 5 ปี ลงทุน 1.2 แสนล้านบาท เพิ่มศูนย์การค้าและพัฒนามิกซ์ยูส ดันสัดส่วนรายได้โครงการมิกซ์ยูสแตะ 30%
ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้ ญนน์กล่าวว่า การทำงานไปพร้อมกันและร่วมมือกันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจัดการผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากความเหลื่อมล้ำที่นับวันยิ่งขยายตัวมากขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจให้มุ่งสู่การเติบโตแบบครอบคลุมและยั่งยืน บวกกับการให้น้ำหนักกับการเติบโตที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมหรือเศรษฐกิจสีเขียว
“การยอมรับและผสานความแตกต่าง (Inclusion) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในเวลานี้ เราควรจะหันมาร่วมมือกันมากกว่าแข่งขันกันในเวลานี้” ญนน์กล่าว และเสริมว่า “เราจำเป็นต้องพูดถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำ พายุที่โหมกระหน่ำอยู่ในขณะนี้ได้ถ่างช่องว่างให้กว้างขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องร่วมมือกัน”
ด้านอุยามะกล่าวว่า ช่วงนี้เวลานี้เราจะต้องทำให้มั่นใจว่าการค้าขายระหว่างประเทศจะยังคงดำเนินต่อไปได้ แต่คำถามสำคัญคือเราจะทำอย่างไรที่จะยังรักษาความร่วมมือระหว่างกันได้ ซึ่งสิ่งสำคัญคือการสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน (Trust)
“ขณะนี้ไม่ใช่เวลาที่ง่ายสำหรับการร่วมมือกัน กุญแจสำคัญคือความไว้วางใจ แต่เราจะสร้างความไว้วางใจระหว่างกันได้อย่างไร” อุยามะกล่าว
ขณะที่เด็นตันกล่าวว่า การบูรณาการระหว่างภาคธุรกิจและภาคนโยบาย คือกุญแจสู่เศรษฐกิจที่เข้มแข็งของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ขณะเดียวกันผู้นำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกควรสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน การออกแบบนโยบายที่ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งการระบาดของโควิด ทำให้แต่ละประเทศต้องร่วมมือกันปฏิรูปกลไกการเงินของโลก เพื่อช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องที่ประเทศกำลังพัฒนา จำนวน 40-50 ประเทศ กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้