×

สื่อใหญ่ชี้ ‘รางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์’ มาถูกเวลา หลังทั่วโลกเริ่มตั้งคำถามต่อบทบาทอำนาจของ ‘ธนาคารกลาง’

12.10.2022
  • LOADING...
Ben Bernanke

สถานีโทรทัศน์ CNN เผยแพร่บทความแสดงความเห็น หลังจากที่คณะกรรมการรางวัลโนเบล ประกาศผลรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งปีนี้ตกเป็นของ 3 นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐฯ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ เบน เบอร์นานเก อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กับผลงานการศึกษาที่เจ้าตัวเขียนขึ้นในปี 1983 ไม่ใช่จากผลงานการนำพาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฝ่าวิกฤตการเงินในปี 2008

 

ทั้งนี้ กล่าวโดยสรุป งานเขียนของเบอร์นานเกแสดงให้เห็นว่า ความล้มเหลวของธนาคารมักเป็นสาเหตุของวิกฤตการณ์ทางการเงิน ไม่ใช่แค่ผลที่ตามมาเท่านั้น ซึ่งความคิดดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่แหวกแนวมากเมื่อ 39 ปีที่แล้ว แต่สำหรับในปัจจุบัน ความคิดดังกล่าวถือเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

นักวิเคราะห์มองว่างานเขียนที่มาก่อนกาลของเบอร์นานเกเหมาะเจาะกับช่วงเวลาในปัจจุบัน ที่หลายฝ่ายเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทอำนาจของธนาคารกลาง และการตัดสินใจของคณะกรรมการรางวัลโนเบลก็สะท้อนให้เห็นถึงความชาญฉลาดในการเล่นการเมือง ที่เรียกความสนใจจากทั่วโลกได้อย่างเหมาะสม 

 

หมายความว่าทางคณะกรรมการรางวัลโนเบล ใช้รางวัลเป็นตัวเรียกร้องความสนใจไปที่นโยบายการเงินของธนาคารทั่วโลก โดยเฉพาะ Fed ในเวลานี้ที่กำลังพยายามขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยไม่สนใจต่อความเสี่ยงอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ขอแค่ให้เงินเฟ้อลดลงให้ได้ 

 

ก่อนหน้านี้คณะกรรมการรางวัลโนเบลก็เคยใช้กลยุทธ์ที่คล้ายคลึงกันกับรางวัลโนเบลสันติภาพ ที่มอบให้กับอดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐฯ ที่ขณะนั้นเจ้าตัวเพิ่งจะเข้ารับตำแหน่งได้เพียง 8 เดือน 

 

บทความของ CNN ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งนำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้ตลาดทั่วโลกยุ่งเหยิงและเป็นข่าวร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

 

UNDP หน่วยงานสหประชาชาติเตือนเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาว่า นโยบายทางการเงินที่ตึงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นในสภาวะที่เศรษฐกิจเปราะบางอย่างรุนแรง และหลายธนาคากลางในประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกนำมาใช้ในเวลาไล่เลี่ยกัน อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อทั่วโลกมากกว่าวิกฤตการเงินในปี 2008 และการระบาดใหญ่ของโควิดในปี 2020 

 

พร้อมกันนี้ UNDP ยังระบุว่า นโยบายของ Fed เป็น “การเดิมพันโดยเมินเฉยต่อชีวิตของผู้ที่ด้อยโอกาส”

 

ขณะที่ ดักลาส ไดมอนด์ หนึ่งในสามนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลพร้อมกับเบอร์นานเก และ ฟิลิป ดับบิก ในปี 2022 ยอมรับว่า แม้อัตราดอกเบี้ยขาขึ้นทั่วโลกจะทำให้เกิดความไม่แน่นอนของตลาด แต่เชื่อว่าระบบการเงินโลกในเวลานี้มีความยืดหยุ่นมากกว่าที่เคย เพราะบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดในปี 2008 ซึ่งความทรงจำที่แสนสาหัสเกี่ยวกับวิกฤตครั้งนั้น ทำให้มีการปรับปรุงนโยบายด้านกฎระเบียบทั่วโลกขนานใหญ่จนมีช่องโหว่น้อยกว่ามาก ดังนั้น ผลกระทบจากนโยบายของธนาคารกลางนานาประเทศ ไม่น่าจะรุนแรงอย่างที่หลายคนหวั่นใจ 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X