×

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด หุ้นแกว่งตัวในกรอบจำกัด แนะเกาะ Fund Flow ซึ่งจะผันผวนตามตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศ

09.10.2022
  • LOADING...
หุ้นไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด หุ้นไทยสัปดาห์หน้า (10-14 ตุลาคม) แกว่งตัวในกรอบแคบ โดยทิศทางดัชนีจะขึ้นอยู่กับเงินทุนต่างชาติเป็นหลัก พร้อมแนะเกาะติดข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศและมุมมองของ IMF ต่อเศรษฐกิจโลก

 

บล.กสิกรไทย ประเมินแนวโน้มความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยวันที่ 10-14 ตุลาคม ว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,565 และ 1,550 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,590 และ 1,600 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยฯ ประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ รวมถึงการทยอยประกาศผลประกอบการงวดไตรมาส 3/65 ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) 

 

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในมุมมองผู้บริโภค ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนตุลาคม (เบื้องต้น) และยอดค้าปลีกเดือนกันยายน รวมถึงบันทึกการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) (20-21 กันยายน)

 

ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมของยูโรโซน รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนกันยายนของจีน เช่น ดัชนีราคาผู้ผลิต และดัชนีราคาผู้บริโภค

 

ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,579.66 จุด ลดลง 0.62% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อ-ขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 64,036.92 ล้านบาท ลดลง 10.45% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 1.75% มาปิดที่ระดับ 641.84 จุด

 

ขณะที่ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 37.37 บาทต่อดอลลาร์เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ 37.13 บาทต่อดอลลาร์ในระหว่างสัปดาห์ เทียบกับระดับ 37.73 บาทต่อดอลลาร์ในวันศุกร์ก่อนหน้า (30 กันยายน) ขณะที่ระหว่างวันที่ 3-7 ตุลาคม นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 1,202 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Inflow เข้าสู่ตลาดพันธบัตร 3,171 ล้านบาท (ซื้อสุทธิพันธบัตร 4,142 ล้านบาท แต่มีตราสารหนี้ที่หมดอายุ 971 ล้านบาท)

 

สำหรับวันที่ 10-14 ตุลาคมนี้ ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ระดับ 37.00-37.80 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ กระแสเงินทุนต่างชาติ, สถานการณ์ค่าเงินในภูมิภาค, มุมมองต่อทิศทางนโยบายการเงินของเจ้าหน้าที่ Fed และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ปรับทบทวนใหม่โดย IMF


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X