×

เมื่อโลกร้องขอความช่วยเหลือ เราเริ่มช่วยได้ด้วยแนวคิด CP ‘ช่วยโลก 2 เมตร’ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
22.08.2022
  • LOADING...
CP

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • จุดร่วมหนึ่งที่ทุกประเทศต่างก็มี ‘เหมือนกัน’ นอกเหนือจากความเดือดร้อนที่ประชาชนในประเทศได้รับกับความโกลาหลจากภัยธรรมชาติทั้งหลาย ก็คือสาเหตุของปัญหา หรือ ‘สภาวะโลกรวน’ ที่ทำให้เกิด Climate Change
  • หากคนไทยยังไม่มีมาตรการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกรวน GDP ของประเทศไทยอาจลดลงถึง 43.6% นั่นหมายความว่าภัยคุกคามในครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังลามมาถึงเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของพวกเราทุกคนด้วย
  • ถ้าเราตระหนักรู้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและระบบนิเวศที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ ด้วยการดูแลโลกเล็กๆ ในระยะ 2 เมตรของตัวเองให้ดีที่สุด และเมื่อนำโลกของทุกคนมาต่อจุดโยงใยเข้าถึงกัน โลกทั้งใบก็คงจะน่าอยู่ขึ้น

มาถึงตอนนี้เราคงตีมึนนิ่งนอนใจว่าปัญหา ‘โลกร้อน’ เป็นเรื่องไกลตัวไม่ได้อีกแล้ว โดยเฉพาะในวันที่ผลลัพธ์การกระทำของมนุษยชาติได้ย้อนกลับมาทำร้ายเราเร็ว แรง และทันใจกว่าที่คิด

 

หากใครมีโอกาสได้ชมฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษที่เพิ่งเปิดฤดูกาลใหม่ไปเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คงจะได้เห็นภาพบรรยากาศของแดดเปรี้ยงจัดและความรู้สึกชวนร้อนอบอ้าวอย่างบอกไม่ถูก จนทำให้สมาคมฟุตบอลอังกฤษตัดสินใจนำกฎ ‘Cooling Break’ ช่วงครึ่งเกมจากในแต่ละครึ่งเวลามาใช้อีกครั้ง เพื่อบรรเทาความรู้สึกร้อนแดดของเหล่านักฟุตบอล

 

สาเหตุก็เพราะประเทศในกลุ่มยุโรปกำลังโดน ‘คลื่นความร้อน (Heatwaves)’ เล่นงานอย่างรุนแรง โดยหากย้อนกลับไปสักหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ (20 กรกฎาคม) สหราชอาณาจักรเพิ่งจะทำลายสถิติตรวจพบอุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่พวกเขาเคยตรวจวัดได้ที่ 40.3 องศาเซลเซียส ณ หมู่บ้าน Coningsby ในเมืองลินคอล์นเชียร์ จนผลักให้อังกฤษเผชิญกับภัยแล้งครั้งใหญ่สุดในรอบเกือบ 90 ปี

 

CP

แหล่งน้ำหลายแห่งในอิตาลีตอนเหนือประสบกับภัยแล้งและคลื่นความร้อน ทำให้ระดับของน้ำเหือดแห้งจนมีรายงานว่าเป็นภัยแล้งที่เกิดขึ้นรุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปี

 

อิตาลีก็อ่วมไม่แพ้กัน หลังจากที่มีรายงานว่าทะเลสาบการ์ดา ทะเลสาบที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศกำลังผจญกับภัยแล้งครั้งใหญ่สุดในรอบหลายสิบปี โดยระดับน้ำในทะเลได้ลดต่ำสุดเกือบจะเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกันกับอุณหภูมิน้ำที่สูงสอดคล้องกันอย่างพอเหมาะพอเจาะ

 

ส่วนประเทศอื่นๆ ในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส โปรตุเกส และกรีซ หรือแม้แต่สหรัฐอเมริกาและจีน ต่างก็กำลังเผชิญกับวิกฤตคลื่นความร้อนแผ่ปกคลุม จนนำไปสู่เหตุไฟป่าครั้งรุนแรงไม่แพ้กัน

 

ขยับวงล้อมระยะมาให้ใกล้ตัวกันอีกสักนิด เมื่อเร็วๆ นี้เกาหลีใต้ก็เพิ่งเผชิญเหตุน้ำท่วมใหญ่ที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศเป็นอย่างมากไปหมาดๆ ทำให้เราได้เห็นสภาพรถและเมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้น้ำแบบที่ไม่คุ้นตามาก่อน ส่วนถ้าย้อนกลับไปก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้ว เวียดนามและสปป.ลาว ก็ต้องประสบกับภัยหนาวครั้งใหญ่ในรอบหลายปี จนเป็นเหตุให้หิมะขาวโพลนตกลงมาปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นให้เห็นเป็นประจำ

 

ฝั่งประเทศไทยของเราเอง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ก็กำลังตกอยู่ในสภาวะที่สุ่มเสี่ยงต่อเหตุน้ำท่วมอยู่ตลอดเวลา สังเกตได้จากฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องไม่ลดละ และสถานการณ์ก็ดูมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

 

ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือการที่ผลการศึกษาจาก Swiss Re Institute ระบุว่า หากประเทศไทยยังไม่มีมาตรการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกรวน เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส GDP ของเราจะลดลง 4.9%

 

และหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3.2 องศาเซลเซียส GDP ของไทยจะลดลงถึง 43.6% กระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและการเกษตร รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของเรา

 

เมื่อเร็วๆ นี้ ไทยยังถูกจัดอันดับโดย Global Risk Index ให้เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบจากโลกรวนเป็นอันดับ 9 ของโลก เสี่ยงต่อภัยแล้งเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่กลับมีขีดความสามารถในการรับมือรั้งท้ายที่อันดับ 39 จาก 48 ประเทศเท่านั้น ตอกย้ำให้เห็นว่าพวกเรากำลังอยู่ในระยะอันตรายที่ทุกคนต้องหันมาร่วมมือกันทำอะไรสักอย่างก่อนสายเกินแก้ไข

 

CP

สภาพความเสียหายบางส่วนของกรุงโซลหลังผจญกับเหตุน้ำท่วมเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

 

แล้วถ้าภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟป่า และสภาพอากาศที่แปรปรวนคือปัญหา แล้วต้นตอของเรื่องราวทั้งหมดมาจากอะไร?

จุดร่วมหนึ่งที่ทุกประเทศต่างก็มี ‘เหมือนกัน’ นอกเหนือจากความเดือดร้อนที่ประชาชนในประเทศได้รับกับความโกลาหลจากภัยธรรมชาติทั้งหลายและความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ก็คือสาเหตุของปัญหา

 

และในที่นี้ก็คือ ‘ภาวะโลกรวน’ ที่ทำให้เกิด Climate Change นั่นเอง

 

ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและยืนยันได้โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ (The Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)) โดย UN ชี้ชัดว่า Climate Change ส่งผลโดยตรงให้คลื่นความร้อนอย่าง Heatwave เกิดขึ้นบ่อยขึ้นและร้อนมากขึ้นกว่าเดิม

 

ฟรีเดอริก อ็อทโท นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศประจำมหาวิทยาลัย Imperial College London เคยกล่าวถึงประเด็นข้างต้นไว้ว่า “ในทุกๆ คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นนั้น เราพบว่าคลื่นความร้อนในปัจจุบันนับวันก็ยิ่งจะทวีความร้อนและความถี่ในการเกิดขึ้นบ่อยกว่าเดิม และเหตุผลก็ไม่ได้ซับซ้อนเพราะมาจาก Climate Change นั่นเอง”

 

เท่านั้นยังไม่พอ ข้อมูลที่น่าสนใจยังบอกอีกด้วยว่า นับตั้งแต่ยุคก่อนอุตสาหกรรม (1500-1700) เป็นต้นมา กิจกรรมต่างๆ ที่มนุษย์โลกอย่างเราได้ทำให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ โดยเฉพาะการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกออกมา ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้โลกใบนี้ร้อนขึ้นกว่าเดิมที่ 1.2 องศาเซลเซียส!

 

ตัวเลขดังกล่าวน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ร้ายแรงกว่าเดิม และแน่นอนว่าอุณหภูมิโลกที่ว่าร้อนแล้ว ต่อจากนี้จะร้อนเร็วกว่าเก่าจนเราอาจจะไม่ทันตั้งตัว เมื่อประมวลรวมจากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และหากพฤติกรรมมนุษย์ที่นับวันก็มีแต่จะเป็นมิตร (ฉาชีพ) กับทรัพยากรโลกมากขึ้น ยังไม่มีลู่ทางที่จะปรับเปลี่ยนแก้ไขให้ได้ในทางที่ควรจะเป็น น่าวิตกเหลือเกินว่าโลกที่เราเคยใช้ชีวิต อาศัยและพึ่งพา อาจจะอายุสั้นก่อนวัยอันควร

 

ลำพังการหวังให้นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมวัย 19 ปี ผู้ซึ่งเป็นกระบอกเสียงให้กับโลกใบนี้อย่าง เกรตา ธันเบิร์ก หรือกลุ่มนักเคลื่อนไหว กลุ่มคนที่เป็นตัวตั้งตัวตี ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดยตรง ออกมาเคลื่อนไหวทำกิจกรรมเรียกร้องให้ผู้คนสนใจปัญหาที่เกิดขึ้น ก็อาจจะไม่เพียงพอ หรือสร้างแรงกระเพื่อมที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมได้อีกต่อไปได้

 

คำถามที่อยากชวนคิดก็คือ แล้วเราทำอะไรด้วยตัวเองได้อีกบ้าง หากมองถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ และอยากสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน?

 

CP

 

เริ่มต้นที่ตัวเราเอง ลงมือขยับ ปรับ เปลี่ยน ‘โลก 2 เมตร’ ในมือให้ดีขึ้นกว่าเดิม

การปรับพฤติกรรมคนทั้งโลกให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงระดับโลกให้เกิดขึ้นแบบทันทีทันใด อาจจะฟังดูแล้วเป็นเรื่องที่ยากและเกินตัวสำหรับใครคนใดคนหนึ่ง ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ทุกคนต่างก็มีปัญหาหรือเรื่องที่ต้องรับมือกับภาระรอบตัวที่ต้องแบกรับเป็นทุนเดิม

 

คำถามคือถ้าเราจะเริ่มปรับพฤติกรรมผู้คนโดยเริ่มจากตัวเอง เพื่อให้สังคมตื่นรู้ในปัญหาสิ่งแวดล้อม และเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งองคาพยพ เป็นแรงกระเพื่อมที่ส่งต่อถึงกัน วิธีไหนที่จะเหมาะสมและเข้าวินที่สุด?

 

 

ไม่นานมานี้ผู้เขียนมีโอกาสได้รับชมหนังโฆษณา ‘#ตอบแทนโลก2เมตร’ โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์​​ (C.P. Group) ที่เพิ่งปล่อยออกมาและพบแง่มุมที่น่าสนใจอยู่พอสมควร โดยเฉพาะในแก่นคิดที่ตัวหนังโฆษณาพยายามจะสอดแทรก และจุดที่ Trigger ปลดล็อกให้เราคิดต่อในประเด็นการเริ่มต้นลงมือดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

 

ตัวหนังโฆษณาเริ่มต้นไม่ต่างจากแคมเปญรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ เปิดด้วยคำถามที่ว่า “โลกให้อะไรกับเรา แล้วเราตอบแทนอะไรกลับคืนสู่โลกบ้าง?”

 

แต่เมสเสจที่เรากลับชื่นชอบมากเป็นพิเศษและดูจะทำให้เราจดจำได้มากที่สุดคือการที่หนังโฆษณาตัวนี้พยายามจะบอกว่า จริงอยู่ที่การดูแลโลกทั้งใบอาจเป็นเรื่องยาก แต่ในเมื่อ ‘เราทุกคนต่างก็มีโลกขนาด 2 เมตรอยู่ในมือของตัวเอง’ นับจากปลายนิ้วกลางข้างซ้ายไปจรดยังนิ้วกลางข้างขวาเมื่อกางเหยียดแขนทั้งสองข้างออกจากลำตัว 

 

ถ้าเราทุกคนสามารถดูแลโลก 2 เมตรรอบตัวให้ดีได้ แม้จะไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่อย่างน้อยที่สุดเมื่อนำโลก 2 เมตรของทุกๆ คนมาต่อจุดโยงใยเข้าถึงกัน โลกทั้งใบบนพื้นที่ขนาด 148.9 ล้านตารางกิโลเมตรก็คงจะน่าอยู่ขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น และกลับคืนสู่ความสมบูรณ์ในแบบที่เขาเคยเป็น 

 

เพราะด้วยเหตุผลที่ว่า มนุษย์กับธรรมชาติ พวกเราล้วนอยู่ในระบบนิเวศที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ซึ่งกันและกัน เราจึงควรตอบแทนโลกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งในฐานะผู้ให้กำเนิดชีวิตและผู้ให้ที่พักพิง

 

ที่น่าสนใจคือ แคมเปญ #ตอบแทนโลก2เมตร โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังได้ต่อยอดไปสู่การชวนผู้คนให้ลุกขึ้นมาดูแลโลก 2 เมตรที่จับต้องได้ผ่านโซเชียลมีเดีย เรียกได้ว่าไม่ใช่แค่การสร้าง Awareness เท่านั้น แต่ยังผันต่อไปสู่การปลุกให้เกิดการ Take Action ในสังคมอีกต่างหาก

 

CP

 

จากโลก 2 เมตร สู่เป้าหมายใหญ่ ‘ลดขยะเป็นศูนย์ 2030’ และ ‘ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ 2050’

นอกเหนือจากการสร้างความตระหนักรู้ให้คนไทยทุกคนลุกขึ้นมาตอบแทนโลกด้วยแนวคิดการดูแลโลก 2 เมตรให้เกิดขึ้นได้จริง อีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจของเครือเจริญโภคภัณฑ์คือการให้ความสำคัญกับประเด็นการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมแบบที่จับต้องได้ และสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาคได้จริง

 

ข้อพิสูจน์สำคัญคือในช่วงที่ผ่านมา องค์กรหลายแห่งทั่วโลกเริ่มตื่นรู้และให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะการตั้งตัวอยู่บนแกนและแนวทางการพัฒนาแบบ ESG ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มมิติความเป็นองค์กรที่ใส่ใจการพัฒนาสังคมในระยะยาวอย่างจริงใจ ไม่ได้มองแค่เรื่องผลประโยชน์เชิงธุรกิจ กำไร และการปั่นกระดานหุ้นอีกต่อไป

 

ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ก็เป็นหนึ่งในองค์กรที่ตื่นรู้และปรับเปลี่ยนแนวทางในการบริหารองค์กรเพื่อหันมาใส่ใจในสิ่งแวดล้อม โลก สังคม และความยั่งยืน

 

ที่ชัดที่สุดคือการที่พวกเขาในฐานะองค์กรใหญ่ของประเทศ ตั้งเป้าการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญใน 2 ประเด็น คือ การมุ่งสู่แนวคิดการลดขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) และเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ในปี 2030 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050

 

สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือระยะทางกว่าจะไปถึงเป้าหมาย เนื่องจากพวกเขาจะต้องลงทุนมหาศาล ทั้งเทคโนโลยี สรรพกำลัง ด้วยเจตนารมณ์มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เกิดขึ้นในสังคมให้ได้มากที่สุด

 

ซึ่งในแกนการทำงาน ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้แบ่งแนวทางออกเป็น 5 ส่วนสำคัญ ได้แก่ การรับผิดชอบต่อความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ, การใช้พลังงานสะอาดและจัดการทรัพยากรตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน, การดูแลทรัพยากรน้ำ, การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ

 

ตัวอย่างเช่น การที่เครือเจริญโภคภัณฑ์เริ่มนำร่องนำพลังงานหมุนเวียนแบบ 100% รวมถึงพลังงานทดแทนมาใช้ เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือจากก๊าซชีวมวล เช่น มูลสุกร เป็นต้น

 

ให้ความสำคัญกับการจัดการของเสีย (Waste Management) โดยเฉพาะอาหารและของเหลือจากกระบวนการผลิต และยังตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำมาใช้งานในสัดส่วน 100% จะต้องนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้

 

รวมไปถึงการทำงานควบคู่กับพาร์ตเนอร์คู่ค้าที่มีอยู่มากมายในห่วงโซ่ของธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และปฏิบัติตามแนวทางด้านความยั่งยืนร่วมกันให้เห็นถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดผลกระทบด้านที่ดีกับโลกและสิ่งแวดล้อมในระนาบเดียวกันกับปรากฏการณ์ผีเสื้อขยับปีก (Butterfly Effect)

 

จะเห็นว่าไม่ใช่แค่การมองไปที่ปลายทางเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ให้ความสำคัญในการหันมาใช้วัสดุแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น งดแจกถุงพลาสติก ใช้หลอดกระดาษแค่เท่านั้น แต่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งห่วงโซ่อุปทานด้วยความรับผิดชอบ

 

เพราะด้วยกลยุทธ์ทั้งหมดที่กล่าวมา ผสมรวมกับความเข้าใจในการอยากที่จะลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดขึ้นในวงกว้าง ผ่านการตั้งเป้าหมายใหญ่องค์กรหรือแม้แต่การรณรงค์ให้ผู้คนใส่ใจโลก 2 เมตรในมือตัวเอง ก็ค่อนข้างสะท้อนให้เห็นว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์มองลึก มองไกล และจริงใจในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้จริง

 

อีก 8 ปี และอีก 28 ปี ต่อจากนี้ เราน่าจะได้เห็นผลลัพธ์ความตั้งใจของพวกเขา จนถึงเวลานั้นหากเราหมั่นดูแลโลก 2 เมตรของเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นคู่ขนานไปพร้อมๆ กัน ตามกำลังที่เราแต่ละคนพอจะทำได้ ทำไหว เราทุกคนก็น่าจะมีโลกทั้งใบที่น่าอยู่อาศัยและมีพรุ่งนี้ที่ดีกว่าเดิมไปด้วยกัน

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising