Smart City หรือ ‘เมืองอัจฉริยะ’ คืออนาคตของเมืองแบบใหม่และยังเป็นอนาคตของการใช้ชีวิตที่ประเทศไทยต้องเอาจริงสักที เมื่อมองสถานการณ์รอบโลกตอนนี้ ดูเหมือนหลายประเทศจะผ่านขั้นตอนการเตรียมการไปสู่การใช้งานจริงมานานแล้ว อย่าง เดนมาร์กมีการใช้ระบบอัจฉริยะในการควบคุมไฟบนท้องถนนในเมืองโคเปนเฮเกน รัสเซียมีระบบ FindFace ค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลจากภาพถ่ายได้ ด้านสิงคโปร์จัดการ Data ของระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ สู่การพัฒนาระบบขนส่งที่เรียกว่า One Monitoring ครอบคลุมข้อมูลการจราจรจากกล้องวงจรปิดบนถนนและบนรถแท็กซี่เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและเป็นประโยชน์ในการเดินทาง
ภายใต้การเปลี่ยนผ่านไปสู่เมืองอัจฉริยะ มีจิ๊กซอว์สำคัญที่เปรียบเสมือนรากฐานของการดำเนินชีวิตของผู้คน ยกระดับให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะที่มีคุณภาพ นั่นคือระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยมากมายเข้ามามีบทบาทต่อผู้คนมากกว่าในอดีต การนำความสามารถของเทคโนโลยี AI เข้ามาปรับใช้กับระบบกล้องวงจรปิด (CCTV System) กลายเป็นสิ่งจำเป็น และอาจนำไปสู่อนาคตด้านความปลอดภัยของชีวิตพวกเราในทุกพื้นที่
ถ้าให้นึกถึงบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ (Smart Security) ตั้งแต่เรื่องการวางระบบรักษาความปลอดภัยจากกล้องวงจรปิดให้กับสถานที่สำคัญและองค์กรสำคัญอย่าง สนามบินสุวรรณภูมิ กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง คงมีเพียง บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY ที่เรานึกถึง
ขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) ไม่เพียงแต่มาพูดคุยกับ THE STANDARD ถึงทิศทางอนาคตเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย หรือความสำคัญของระบบรักษาปลอดภัยที่เป็นกลไกสำคัญของ Smart City แต่จะแชร์แนวคิดและวิธีการทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ Tech Company เต็มตัว ไปจนถึงแผนการขับเคลื่อนเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ทำแล้วและกำลังพัฒนา
แต่ก่อนจะตั้งคำถามว่าประเทศไทยจะเป็น Smart City ได้หรือไม่ ขอเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า AI Security กำลังพัฒนาไปในทิศทางไหน
ขยลยกตัวอย่างจีนที่ประกาศริเริ่มโครงการเมืองอัจฉริยะนำร่องแห่งชาติใน 9 เมืองใหญ่ไปตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน จนกลายเป็นต้นแบบ Smart City ที่มีประสิทธิภาพที่สุดประเทศหนึ่งของโลก ซึ่งปัจจัยหนึ่งของ Smart City คือการมี Smart Infrastructure ที่แข็งแรง มีเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันได้ทั้งเมือง นั่นคือสิ่งที่ประเทศจีนมี รวมถึงการมีหน่วยงาน Centralized Data ที่มีศูนย์สั่งการขนาดใหญ่ โดยนำระบบ AI ผนวกกับระบบกล้อง CCTV มาใช้งานแบบเรียลไทม์ และติดอยู่ทุกที่ทั่วเมือง
“นี่คือตัวอย่างของประเทศจีน กับคำถามที่ว่าระบบ AI Security ในตอนนี้พัฒนาไปถึงไหน ต้องบอกว่าทุกวันนี้กล้องวงจรปิดถูกพัฒนาไปไกล ไม่เหมือนกับที่เราเคยรู้จักอีกต่อไป มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยประมวลผล มีการนำระบบกล้อง CCTV มาใช้งานแบบเรียลไทม์ ผนวกกับระบบ Alert Alarm ให้ AI วิเคราะห์วัตถุที่กล้องจับภาพได้ และแจ้งเตือนมายังศูนย์สั่งการ”
“แต่การประมวลผลรูปภาพในสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศก็ต่างกัน แม้ว่าประชากรจีนจะผิวเหลืองเหมือนคนไทย แต่จะมีคาแรกเตอร์ รูปร่างหน้าตา การแสดงออกทางใบหน้า และท่าทางที่ต่างกัน ดังนั้นการทำ AI Data Analytic จึงจำเป็นต้องปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศนั้น”
เทคโนโลยีเหล่านี้จะสร้างอนาคตของความปลอดภัยในมิติใด?
วิกฤตในช่วงที่ผ่านมาอาจเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่ทำคนเข้าใจและมองเห็นภาพของการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ขยลขยายความเพิ่มเติมว่า ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคที่ระมัดระวังเรื่องการจับ สัมผัสสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ นำไปสู่สังคมไร้สัมผัส (Touchless Society) หากเทคโนโลยีถูกนำไปใช้ร่วมกับรูปแบบการใช้ชีวิตจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น
“ตอนนี้เรามีเทคโนโลยีที่จะช่วยให้เราเดินเข้าไปในอาคารสำนักงาน หมู่บ้าน คอนโดมิเนียมได้โดยระบบควบคุมการเข้าออกอัตโนมัติ (Access Control) สิ่งที่ SKY ICT ทำคือ ติดตั้งระบบอ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ (License Plate Recognition: LPR) ผ่านกล้อง CCTV เพื่อคัดกรองคนเข้า-ออกอาคาร และยังดึงข้อมูลดังกล่าวมาจัดเก็บไว้ได้ แต่ถ้าเป็นคนในองค์กรหรือพนักงานของอาคารนั้นก็ไม่จำเป็นต้องแลกบัตรหรือสัมผัสกับจุดต่างๆ ภายในอาคารอีกต่อไป สามารถใช้การสแกนใบหน้าผ่านระบบจดจำใบหน้า (Face Recognition) ซึ่งเป็น ID ที่ดีที่สุดในการระบุตัวตนของเราในวันนี้เข้าไปอยู่ใน Database ทำให้การเข้าอาคารปลอดภัยและสะดวกยิ่งขึ้น แค่เดินไปหน้าลิฟต์จะมีกล้องจับใบหน้าและบอกว่าพนักงานคนนี้สามารถเข้าชั้นไหนได้ และเข้าได้เฉพาะพื้นที่ที่อนุญาตเท่านั้น แต่ถ้าเป็นคนภายนอกจะใช้ระบบจัดการผู้มาติดต่อ (Visitor Management) เพียงแค่ยืนยันตัวตนที่ตู้คีออสที่ตั้งในอาคารสำนักงาน สแกนใบหน้า เลือกชั้นที่ต้องการไป สามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้ระบบจดจำข้อมูลและอนุญาตให้เข้าตึกได้ภายในกี่ชั่วโมง นี่คือตัวอย่างเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะที่ SKY ICT ทำ จะเห็นได้ว่านอกเหนือจากความปลอดภัยยังช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น”
เบื้องหลังการทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ Tech Company
จะว่าไปก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปลี่ยนจากการเป็นผู้รับเหมาระบบ ICT ที่ครอบคลุมการบริการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ดูแลบำรุงรักษาระบบงาน จัดหาและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบเบ็ดเสร็จ ทรานส์ฟอร์มองค์กรให้เป็น Tech Company
ปี 2562 ขยลเล่าว่าเป็นปีที่ SKY ICT เริ่มวางแผนทรานส์ฟอร์มองค์กร โดยเริ่มจากการฟอร์มทีม Data Scientist ปรับวัฒนธรรมองค์กรใหม่ให้มีความเป็น Tech Culture เพียงปีเดียวเท่านั้น SKY ICT ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ Tech Company แบบเต็มตัว วางตำแหน่งตัวเองเป็น Total Solution Provider ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรม การให้บริการ Digital Platform และ AI Solution ให้ลูกค้าแบบครบวงจร
หลังจากฟอร์มทีม Data Scientist ปี 2563 SKY ICT จัดตั้งทีมพิเศษในชื่อ เนบิวลา (NEBULA) เพื่อเป็นทีมนำร่อง (Pilot Team) โดยแบ่ง Squad หรือหน่วยย่อยการทำงานออกเป็น 4 หน่วย ในการปรับเปลี่ยนองค์กร สร้างวัฒนธรรม และสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งแต่ละทีมจะมีการทำงานคล้ายกับสตาร์ทอัพ ได้แก่
- VOYAGER ทีมนี้จะดูแลกลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และมีแอปฯ ชื่อ AOT Airports Application ที่จะช่วยให้การเดินทางของคุณเป็นเรื่องง่ายขึ้น
- TOSSAKAN ดูแลกลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของมนุษย์ ได้เปิดตัวบริการเทคโนโลยี ‘e-KYC’ ระบบยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล เมื่อกลางปีที่ผ่านมา โดยจับมือกับ AppMan เชื่อมโยงเทคโนโลยี Face Recognition กับ Optical Character Recognition (OCR) เข้ามาทดแทนวิธีการแบบเดิมที่ลูกค้าต้องกรอกเอกสารและเดินทางไปยืนยันตัวตน นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ลดขั้นตอนการกรอกเอกสาร ลดระยะเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูล และมีความปลอดภัยมาตรฐาน Banking Grade
ล่าสุด SKY ICT เพิ่งเปิดตัวบริการใหม่อย่าง ‘TOSSAKAN’ (ทศกัณฐ์) แพลตฟอร์มระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ ผสานพลังอันแข็งแกร่งอีกขั้นของเทคโนโลยี AI มาทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ บูรณาการระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ (AI CCTV) ระบบบริหารอาคารอัจฉริยะ (Smart Management) รวมถึงอุปกรณ์ IoT เข้ากับศูนย์สั่งการด้านความปลอดภัย (Security Operation Center) และ Mobile Application เพื่อเข้าควบคุมเหตุการณ์ได้แบบเรียลไทม์ ยกระดับมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยในระดับสากล พร้อมให้บริการแล้วในปีนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3beenMh หรืออีเมล [email protected] หรือโทรศัพท์ 0 2029 7888
- ORION ดูแลเรื่อง Digital Transformation ให้องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ทำทุกอย่างจากกระดาษให้เข้าสู่ Data Platform ตอบโจทย์องค์กรยุค Digital Transformation
- INTERSTELLAR เป็นทีมกลางที่พัฒนา Data Platform ทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีภาพรวม
“เรามีการรีวิวการทำงานกันตลอดเวลา ทั้งพูดคุยแบบตัวต่อตัวและจัด Town Hall ให้พนักงานในหน่วยงานต่างๆ ได้แสดงผลงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนา ต่อยอด นี่เป็นสิ่งที่เราทำภายในองค์กรเพื่อให้เกิดเป็น Tech Culture ภายใต้ Brand Value ใหม่ Intelligence in Action”
เฟรมเวิร์กสำหรับองค์กรที่อยากนำ AI มาปรับใช้
ขยลอธิบายถึง AI Readiness Framework หรือองค์ประกอบเบื้องต้นของปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่
- Collect Data การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการด้วยกระบวนการที่เหมาะสม แต่ละองค์กรต้องดูว่าในองค์กรมี Data อะไรอยู่บ้าง และต้องเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญจริงๆ สำคัญที่สุด ต้องรู้ว่าเก็บไปเพื่ออะไร ซึ่งวิธีการเก็บข้อมูลในตอนเริ่มต้นก็สำคัญ อาจมีเรื่องของเซนเซอร์มาช่วยจัดเก็บข้อมูล
- Move/Store ขั้นตอนของการจัดเรียงข้อมูลที่ได้มาให้อยู่ในโครงสร้างที่ต้องการ จะมีเรื่องของ Data Warehouse กับ Data Lake เกิดขึ้น ควรจัดเก็บอย่างถูกต้องในที่ที่เหมาะสม รวมถึงกระบวนการในการนำ Data ที่รวบรวมได้เข้าไปสู่ Data Lake ต้องเป็นระบบ
- Explore/Transform ทำความสะอาดข้อมูลเพื่อเตรียมข้อมูลที่สำคัญให้พร้อมต่อการใช้งาน ทำให้เราได้ Metadata หรือ Data ที่มีความสำคัญจริงๆ
- Aggregate/Label จัดหมวดหมู่ กำหนดชื่อที่เฉพาะเจาะจง เพื่อนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเองของเครื่องจักร
- Learn ข้อมูลถูกนำไปป้อนเข้าสู่แบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องจักร เมื่อข้อมูลถูกป้อนเข้าไปเรื่อยๆ ระบบหลังบ้านจะทำการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ก็เริ่มจะเป็น AI แล้ว
“ถ้าให้ผมแนะนำเบื้องต้นองค์กรควรให้ความสำคัญกับ 3 ขั้นตอนแรกก่อน จริงๆ แล้วขั้นตอนที่ 4 จำเป็นต้องมี Data Scientist เข้ามาช่วยจัดอัลกอริทึม (Algorithm) ซึ่งประเทศไทยยังขาดบุคลากรด้านนี้ หลายองค์กรจึงไปไม่ครบทุกขั้นตอน”
“แต่ถ้าถามว่าความยากอยู่ที่ขั้นตอนไหน ผมว่าขั้นตอนแรก เช่น ถ้าสร้างแพลตฟอร์มกลางขึ้นมาเพื่อเก็บข้อมูล แต่ข้อมูลที่เราจะเก็บมาจากข้างนอก แล้วจะทำอย่างไรให้ข้างนอกมีรูปแบบในการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องให้กับเราได้ หรือถ้าวันนี้ทุกหน่วยงานต้องกรอกข้อมูลใหม่หมด มันไม่มี Data Center ที่จะจัดเก็บข้อมูลของประชาชนทั้งประเทศ บางทีเราเองกรอกข้อมูลแต่ละหน่วยงานก็ไม่เหมือนกัน ก็ต้องเสียเวลาไปกับการทำความสะอาดข้อมูลที่จำเป็นจริงๆ อีก จุดนี้เองที่เทคโนโลยีของ SKY ICT จะมาช่วยลดข้อผิดพลาดในการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน เรามี Image Recognition ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากใบหน้าจริงๆ หรือแม้แต่ป้ายทะเบียนก็ตาม จึงไม่มี Human Error ช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น”
โอกาสและความท้าทายของ SKY ICT เมื่อโลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่เมืองแห่งอนาคต
“จุดมุ่งหมายหลักของ SKY ICT คือการนำเทคโนโลยีมาทำให้ความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น เราใช้จุดแข็งในเรื่องเทคโนโลยี AI มาพัฒนาโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในอนาคต ยกระดับชีวิตผู้คน และเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ”
“ดังนั้นเราจึงมองเรื่องของ Platform Business Model เป็นอนาคตที่จะสร้าง Recurring Income ให้เกิดขึ้น โดยนำความสามารถที่มีมาต่อยอดเป็นแพลตฟอร์มต่อไปได้อย่างไรบ้าง นี่คือคำถามสำคัญที่เราคุยกันในทีมตลอด”
“ตอนนี้เรามีระบบที่เป็น Smart Security Platform เกิดขึ้นแล้วก็คือ ‘TOSSAKAN’ จะเห็นว่า ตอบโจทย์จุดมุ่งหมายของ SKY ICT ที่ต้องการสร้างเทคโนโลยีที่จะทำให้ความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้นในทุกมิติ เราต่างตรงที่เรามีความรู้ทั้งในเรื่องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ จึงนำ Know-how ที่มีป้อนข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มได้ และเซ็ตอัพมาเป็นระบบ เช่น หากหมู่บ้านต้องการยกระดับความปลอดภัยสามารถนำแพลตฟอร์มนี้ไปใช้ได้ทันที”
“ศูนย์สั่งการอัจฉริยะด้านความปลอดภัย หรือ Security Operation Center: SOC เปรียบเสมือนหัวใจของการดูแลความปลอดภัย เราทำห้องขนาดใหญ่ ระดมเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย มีจอมอนิเตอร์กว่า 100 จอ มีพนักงานคอยเฝ้าระวังเหตุการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง หากมีสัญญาณแจ้งเตือนมา พนักงานจะโทรไปแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าไปตามจุดนั้นๆ”
อนาคตของ Smart City ในเมืองไทย
ขยลบอกว่า ขั้นแรกที่จะสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็น Smart City ได้ต้องเริ่มจากเก็บรวบรวม Data ก่อนแล้วจัดสรรข้อมูลเหล่านั้นเข้าไปที่หน่วยงานกลาง แต่ปัญหาก็คือหน่วยงานที่ว่านั้นยังไม่มี
“เราเองก็อยากเห็นกรุงเทพฯ เป็น Smart City และสิ่งที่ SKY ICT จะสามารถเข้ามาช่วยพัฒนา Smart City ได้ก็คงเป็นการใช้ Data ที่ได้จาก AI CCTV เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ อย่างอาคารแบบ Mixed Use โดยเริ่มจากติดเซนเซอร์ตามจุดต่างๆ ทำให้ทราบข้อมูลว่าแต่ละตึกมีการใช้พลังงานเท่าไร นำระบบของเราเข้าไปเพื่อดูแลโครงการทั้งหมดผ่านแพลตฟอร์มที่เรากำลังพัฒนา เพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจทำงานได้ดีขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น ลดต้นทุนจากการไม่ต้องลงทุนเอง เพราะเราจะให้บริการในรูปแบบ Subscription Model คิดค่าบริการเป็นรายเดือน เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าที่ภาคธุรกิจจะลงทุนในเทคโนโลยีเหล่านี้เอง”
“เราเชื่อว่ามันจะสามารถขยายออกไปสู่อุตสาหกรรมหรือแวดวงอื่นๆ ได้ อย่างตอนนี้เราดูแลอาคารสำนักงาน อีกหน่อยอาจจะขยายไปคอนโดมิเนียม หมู่บ้าน โรงแรมและการท่องเที่ยว ในอนาคตหลังเปิดประเทศการดูแลความปลอดภัยหรือการจัดเก็บข้อมูลของนักท่องเที่ยวเพื่อเฝ้าระวังและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนี้เรายังขยายไปสู่แวดวงการศึกษาด้วยการสร้าง AI Learning Center ร่วมมือกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเทรนด์บุคลากรด้าน AI ขึ้นมา เพื่อสร้างรากฐานที่ดีสู่การพัฒนาระบบนิเวศด้านเทคโนโลยี หรือ Tech Ecosystem ในระยะยาว”
“ไม่แน่ว่าวันหนึ่ง SKY ICT อาจจะมีส่วนร่วมในการทำให้ประเทศไทยเป็น Smart City ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยติดอันดับต้นๆ แห่งหนึ่งของโลกก็ได้”