×

ผ่าแผนกู้วิกฤตเศรษฐกิจของ ‘กองทุนมิตรผล-บ้านปู’ หลังระดมทุนเพิ่ม 500 ล้านบาท เน้นกระจายรายได้ เร่งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
11.10.2021
  • LOADING...
Mitr Phol-Banpu

HIGHLIGHTS

6 Mins. Read
  • ‘กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19’ จัดตั้งโดย กลุ่มมิตรผล และบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เมื่อมีนาคม 2563 ด้วยงบประมาณ 500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิดตลอด 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ได้มอบความช่วยเหลือให้กว่า 380 หน่วยงาน ในพื้นที่ 40 จังหวัด
  • วิกฤตโควิดยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องในด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งสองบริษัทจึงเพิ่มงบประมาณอีก 500 ล้านบาท รวมเป็น 1,000 ล้านบาท เพื่อเดินหน้าช่วยเหลือคนไทย และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และประเทศไทยให้กลับคืนสู่ภาวะปกติสุขอีกครั้ง

ถึงแม้วันนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะค่อยๆ ลดระดับจากหลักหมื่นสู่หลักพัน และคนไทยกว่า 57 ล้านคนได้รับวัคซีนแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2564) แต่ปัญหาจากผลกระทบของวิกฤตโควิดยังคงลากยาว และดูเหมือนจะเรื้อรังจนยากจะฟื้นตัวโดยเฉพาะเศรษฐกิจ

 

โควิดสร้างผลกระทบด้านรายได้ในระบบเศรษฐกิจไทยอย่างหนัก เมื่อดูจากรายงานผลการทบทวนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิดในระดับโลกและในประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) พบว่า การระบาดระลอกที่สามตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 รุนแรงอย่างมาก ธนาคารโลกคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจของไทยลดลงร้อยละ 2.2 

 

Mitr Phol-Banpu

 

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รายได้ครัวเรือนหายไป 1.8 ล้านล้านบาท และคาดว่าปี 2565 รายได้ครัวเรือนก็ยังคงหายไปต่อเนื่องอีก 8 แสนล้าน นี่คือตัวอย่างของผลกระทบต่อเนื่องที่ทำให้ภาคครัวเรือนต้องเผชิญกับภาวะของการมีหนี้สูง ซ้ำร้ายยังเจอภาวะตลาดแรงงานที่เปราะบางมาก การจ้างงานได้รับผลกระทบรุนแรง คาดการณ์ว่าสิ้นปี 2564 จะมีผู้ว่างงานและเสมือนว่างงานเพิ่มเป็น 3.4 ล้านคน และจำนวนผู้ว่างงานระยะยาวเกิน 1 ปี จำนวน 1.7 แสนคน เพิ่มขึ้นกว่าช่วงก่อนการระบาดถึง 3 เท่าตัว อีกทั้งระยะหลังเริ่มเห็นการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียม ไปจนถึงธุรกิจที่ต่างกันก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย ร้านอาหาร หรือกลุ่มเกษตรกร ยิ่งทำให้จำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดเพิ่มมากขึ้น

 

Mitr Phol-Banpu

 

อีกประเด็นที่น่าสังเกตคือ ปัญหาที่ทับซ้อนกันนี้ก่อให้เกิดผลกระทบที่ลากยาวจนแผลเริ่มลึกและเรื้อรัง นอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจระยะยาว ยังพบรูปแบบของปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขต่างกันไปในแต่ละระลอก อาทิ ระลอกแรกประเทศไทยต้องรับมือกับวิกฤติขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรค ความช่วยเหลือจากหลายภาคส่วนก็พุ่งเป้าไปที่ระบบสาธารณสุข แม้ว่าตอนนี้ระบบสาธารณสุขจะพอคลายการตึงตัวบ้าง แต่ระลอกต่อมาจนถึงระลอกล่าสุด ปัญหาและผลกระทบก็ยื้ดเยื้อ เช่น วิกฤตเตียงเต็ม ถังออกซิเจนขาดตลาด การแพร่กระจายในชุมชนแออัด ธุรกิจเจ๊ง และคนตกงานเพิ่มสูงขึ้น

 

ด้วยเหตุนี้เอง กลุ่มมิตรผล และบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) จึงร่วมกันจัดตั้ง ‘กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19’ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ด้วยงบประมาณ 500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิดแก่โรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบเชิงเศรษฐกิจจากโควิด โดยใช้หลักการทำงานแบบ Agile Collaboration เน้นทำงานอย่างรวดเร็วและไม่ซ้ำซ้อน กระจายความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงด้วยเครือข่ายของทั้งสองบริษัท ทำให้ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานกว่า 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา กองทุนฯ ได้ให้ความช่วยเหลือคนไทยครอบคลุมพื้นที่ 40 จังหวัด รวมกว่า 380 หน่วยงานทั่วประเทศ

 

Mitr Phol-Banpu

 

อย่างที่กล่าวไป จนถึงตอนนี้ปัญหาและผลกระทบเปลี่ยนรูปแบบ ‘กองทุนมิตรผล-บ้านปู’ จึงปรับแผนหันมาดูแลปัญหาเร่งด่วน เพิ่มงบประมาณกองทุนฯ อีก 500 ล้านบาท รวมเป็น 1,000 ล้านบาท เพื่อเดินหน้าช่วยเหลือคนไทยได้อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นความช่วยเหลือแก่ภาคประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนด้านปากท้องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ เติมพลังใจให้คนไทยก้าวผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกัน

 

Mitr Phol-Banpu

ชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) 

 

ชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความจำเป็นของการเพิ่มงบประมาณว่า “ตลอดการทำงานเรายังคงติดตามว่าในแต่ละพื้นที่มีปัญหาเร่งด่วนใดที่เราต้องช่วยเหลือก่อน จนถึงตอนนี้เงินกองทุนกำลังจะหมดแต่สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง จึงเพิ่มไปอีกเท่าตัวเพื่อให้ครอบคลุมความช่วยเหลือทั้งหมด นอกจากงบประมาณส่วนหนึ่งจะจัดสรรไว้เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดแล้ว ครั้งนี้เราเน้นช่วยเหลือปัญหาด้านปากท้อง ชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มผู้คนที่ได้รับผลกระทบ เป็นการเติมพลังใจคนไทยในการก้าวผ่านความยากลำบากจากวิกฤตที่เกิดขึ้น”

 

Mitr Phol-Banpu

บรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล

 

ด้าน บรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล เสริมประเด็นเรื่องจุดแข็งของกองทุนมิตรผล-บ้านปู ที่ทำให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับกระทบเป็นไปได้อย่างตรงจุด “จุดแข็งในการทำงานของเราคือ รวดเร็ว ตรงจุด เข้าใจ และเข้าถึง เน้นความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทีมงานที่จัดตั้งจำนวนไม่เยอะ เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็ว ช่วงแรกกองทุนให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขเป็นหลัก มาจนถึงตอนนี้สิ่งที่ได้รับผลกระทบและความเสียหายอย่างหนัก คือเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับเรื่องปากท้องของประชาชน เราจึงกำหนดทิศทางความช่วยเหลือที่สามารถตอบโจทย์กับความต้องการอย่างแท้จริง ด้วยการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเร่งด่วน”

 

Mitr Phol-Banpu

 

ปัญหาเฉพาะหน้าเร่งด่วนที่กองทุนฯ หมายถึง คงจะเป็นปัญหาด้านการครองชีพสำหรับกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ จึงจัดตั้งโครงการมิตรปันสุข ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางได้ถึงสองมิติ มิติแรกนั้นก็เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดเงินหมุนเวียนจากการจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค และการจ้างผลิตและแพ็กถุงยังชีพในชุมชน เป็นการกระจายรายได้ให้ชุมชนในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการอุดหนุนสินค้าจากร้านค้าในชุมชน หรือจ้างคนในชุมชนทำน้ำพริก ไข่เค็ม ปลาแห้ง กล้วยฉาบ ไปจนถึงการผลิตถุงยังชีพที่จะนำมาใส่เครื่องอุปโภคบริโภค ก็ใช้กระสอบน้ำตาลมาตัดเย็บ และจ้างคนในชุมชนทำ เพื่อให้พวกเขามีรายได้ และอีกมิติก็คือ ปลายทางของถุงยังชีพทั้งหมดนี้จะถูกนำไปมอบให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด ผู้ป่วย ผู้ที่ต้องกักตัว กลุ่มเปราะบาง และประชาชนผู้มีรายได้น้อย

 

Mitr Phol-Banpu

 

โครงการ ‘เติมความหวานเคียงข้างผู้ประกอบการไทย’ ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในหมวดหมู่ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ไหนจะต้องแบกภาระในช่วงที่ล็อกดาวน์ และปรับวิธีการบริหารเงินทุนเพื่อเดินหน้าต่ออีกครั้ง กองทุนฯ จึงมอบ E-Voucher สำหรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำตาลมิตรผล รายละ 500 บาท จำนวน 20,000 ราย ก็เท่ากับได้ช่วยลดต้นทุน แปรเปลี่ยนเป็นกำไร เพื่อเป็นกำลังใจและใช้ในการดำเนินธุรกิจหลังจากที่ภาครัฐได้ประกาศมาตรการผ่อนคลาย 

 

Mitr Phol-Banpu

สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) 

 

สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ชี้ให้เห็นถึงทิศทางการสนับสนุนและช่วยเหลือคนไทยฝ่าวิกฤตโควิดจากการระดมทุนเพิ่ม 500 ล้านบาท ที่แบ่งออกเป็น 7 กลยุทธ์ หรือ 7 หมวดหมู่ ได้แก่ 1. การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ 2. การสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลและหน่วยงานด้านสาธารณสุข 3. การสนับสนุนบริการสาธารณสุขเชิงรุก 4. การสนับสนุนงานด้านการป้องกันการแพร่ระบาด และกิจกรรมฌาปนกิจศพผู้ป่วยโควิด 5. การสนับสนุนกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้อง 6. การเยียวยาด้านสุขภาพจิต และ 7. จุดประสงค์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

 

Mitr Phol-Banpu

ดร.กฤษดา กฤตยากีรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด

 

ยิ่งไปกว่านั้น กองทุนฯ ยังทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมหลากหลายองค์กร โดยใช้ความชำนาญและเชี่ยวชาญของแต่ละองค์กรมาผนึกกำลังเพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็วและตรงจุดยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินโครงการ ‘มูฟมี อาสาขนส่ง ห่วงใย โดยกองทุนมิตรผล-บ้านปู’ ที่จับมือกับ MuvMi (มูฟมี) นำรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามาเพิ่มความรวดเร็วในการส่งมอบความช่วยเหลือ จัดส่งอาหารจำนวนกว่า 60,000 กล่อง และถุงยังชีพจำนวน 5,000 ถุง และอุปกรณ์ต่างๆ ยารักษาโรคอีก 4,000 ชุด ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ ดร.กฤษดา กฤตยากีรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด ผู้ให้บริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi ยืนยันจะให้ความช่วยเหลือเต็มที่

 

Mitr Phol-Banpu

Mitr Phol-Banpu

 

“ที่ผ่านมาเราอาสาส่งอาหารให้กับชุมชนต่างๆ รวมถึงส่งถุงยังชีพให้กับกลุ่มคนที่ต้อง Home Isolation ต่อเนื่องมาถึงภารกิจสุดท้าย คือพาคนที่หายป่วยกลับบ้าน ผมคิดว่าการช่วยเหลือเหล่านี้อย่างน้อยก็ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ระดับหนึ่ง” 

 

Mitr Phol-Banpu

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สิ่งที่ สสส. ทำคือการให้ความรู้ด้านการป้องกันและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านสุขภาวะทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญาเป็นหลัก ส่วนการทำงานร่วมกับกองทุนฯ นั้น จะเป็นลักษณะของการประสานกันชี้เป้า “เรามีฐานข้อมูลประชากรในชุมชนต่างๆ ทั้งชุมชนเมือง ชุมชนแออัด หรือชุมชนชนบท ทางกองทุนฯ อยากได้คนที่กำลังเดือดร้อนจริงๆ จึงกลายเป็นความร่วมมือ เชื่อมโยงประสานงาน”

 

พรรณทิพย์ เพชรมาก รองผู้อำนวยการ พอช.

 

ในขณะที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. จะทำงานกับกลุ่มชุมชนและกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย ทั้งในเมืองและชนบท รวมถึงกลุ่มชุมชนแออัดในเมือง พรรณทิพย์ เพชรมาก รองผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า “การระบาดระลอกล่าสุด กลุ่มชุมชนแออัดในเมืองถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสุดและเป็นกลุ่มเปราะบาง นอกจากจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่ม มีผู้เสียชีวิต ยังมีกลุ่มคนว่างงานเพิ่มมากขึ้น แนวทางการเยียวยาต้องเข้าไปให้ถึงทั้งความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขและปากท้อง” 

 

Mitr Phol-Banpu

หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล หรือคุณชายอดัม ผู้ก่อตั้ง ‘โครงการต้องรอด โดยกลุ่ม Up for Thai’

 

สุดท้ายแล้ว หากจะวางแผนฟื้นฟูวิกฤตในครั้งนี้ หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล หรือคุณชายอดัม ผู้ก่อตั้ง ‘โครงการต้องรอด โดยกลุ่ม Up for Thai’ เสนอว่าต้องมองเป็น 3 ระยะสำคัญของการช่วยเหลือ “ระยะแรกคือ ‘ระยะเร่งด่วน’ เหมือนเวลาเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ก็ต้องมีเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที แล้วจึงเข้าสู่ระยะที่สองคือ ‘ระยะเยียวยา’ เพื่อให้เราอยู่กับภัยพิบัติต่อไปได้หากมันยังไม่จบ หรือหากมีระยะเวลายาวนานขึ้น และสุดท้าย ‘ระยะฟื้นฟู’ สำหรับโควิดส่วนสำคัญน่าจะเป็นเรื่องการให้ความรู้ ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของโรคเพื่อการบริหารจัดการที่ดีขึ้นในอนาคต”

 

ภายใต้งบประมาณเดิมและงบประมาณใหม่ที่เพิ่มเข้ามานั้น ยังมีอีกหลายโครงการความช่วยเหลือที่กองทุนฯ ได้ดำเนินการไปแล้วและที่กำลังดำเนินการอยู่ อาทิ การสนับสนุนให้แก่มูลนิธิ CU Enterprise (โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย) การพัฒนาซอฟต์แวร์ Alto Guest Service สำหรับผู้กักตนในโรงแรมที่เป็น State Quarantine เพื่อใช้แจ้งอาการเจ็บป่วย วัดไข้ และเป็นสื่อกลางในการติดต่อประสานกับเจ้าหน้าที่โรงเเรม สนับสนุนงบประมาณเพื่อฉีดวัคซีน Sinopharm ให้แก่พนักงาน ชาวไร่ และผู้รับเหมาของกลุ่มมิตรผล สนับสนุนรถตู้พยาบาลกู้ชีพฉุกเฉิน และอุปกรณ์ป้องกันให้แก่กลุ่มอาสมัครเส้นด้าย (Zendai) และมูลนิธิเพชรเกษม และอื่นๆ อีกมากมาย จะเห็นได้ว่า นี่คือปัญหาใหญ่ของประเทศเกินกว่าที่ใครหรือองค์กรใดจะฟันฝ่าไปได้เพียงลำพัง ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน “การร่วมมือของ มิตรผล และ บ้านปู ในการจัดตั้งกองทุนนี้ขึ้นมา อย่างน้อยที่สุดมันคือการจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไป” ชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าว

 

ท้ายที่สุด งบประมาณที่เพิ่มขึ้นในครั้งนี้จะทำให้การช่วยเหลือดำเนินต่อไปอย่างแน่นอน แต่ทีมงาน อาสาสมัคร องค์กร และทุกหน่วยงานที่เข้ามาเป็นฟันเฟืองสำคัญ คือพลังที่จะผลักดันให้ทุกโครงการขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่มากขึ้น ตรงเป้า แก้ปัญหาได้ถูกจุด และอาจจะช่วยให้ประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้เร็วยิ่งขึ้น

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X