เนื่อง ทาง 5 สมาคมฯ ภาคค้าปลีกและบริการ ได้ออกแถลงการณ์ที่ระบุว่า หากมีความจำเป็นต้องล็อกดาวน์กรุงเทพฯ และปริมณฑลเพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบของระบบเศรษฐกิจทุกระดับและการจ้างงาน
“การล็อกดาวน์เพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีแผนปฏิบัติการเชิงรุกร่วมด้วย และต้องมีมาตรการเยียวยาช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ เช่น ช่วยค่าน้ำค่าไฟเป็นเวลา 3 เดือน, ช่วยจ่ายค่าแรงงานที่ต้องว่างงาน และชดเชยรายได้ที่หายไป เป็นต้น”
โดย 5 สมาคมฯ ภาคค้าปลีกและบริการ ได้นำเสนอแนวทางในการล็อกดาวน์เป็น 3 ระดับ ดังนี้
- ล็อกดาวน์เป็นช่วงเวลา โดยกำหนดการเปิด-ปิดธุรกิจเหมือนช่วงหลังสงกรานต์ปี 2564 ที่ผ่านมา พร้อมเร่งแผนการนำเข้าและฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงและเร็วที่สุด และมีมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ
- ล็อกดาวน์เป็นบางคลัสเตอร์หรือบางจุดในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก โดยจำกัดการเคลื่อนย้ายประชาชนในพื้นที่ และเร่งฉีดวัคซีนในคลัสเตอร์ให้ครบ 100% พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือเรื่องสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และมีมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการในคลัสเตอร์นั้นๆ
- ล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยงดการเคลื่อนย้ายข้ามพื้นที่ และปูพรมการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงโดยเร็วที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องล็อกดาวน์ถึง 14 วัน ถ้าสามารถเร่งการฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ 100% และยังคงต้องมีมาตรการเยียวผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
สำหรับ 5 สมาคมฯ ภาคค้าปลีกและบริการ ประกอบด้วย คณะกรรมการค้าปลีกและบริการ หอการค้าไทย, สมาพันธ์ SME ไทย, สมาคมผู้ค้าปลีกไทย, สมาคมศูนย์การค้าไทย และสมาคมภัตตาคารไทย ซึ่งทั้งระบบมีการจ้างงานถึง 12 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 34% ของ GDP ประเทศ และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 5.6 ล้านล้านบาท
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า