×

พบค่าฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ เกินมาตรฐาน 39 พื้นที่ แนะงดกิจกรรมกลางแจ้ง

โดย THE STANDARD TEAM
16.12.2020
  • LOADING...
พบค่าฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ เกินมาตรฐาน 39 พื้นที่ แนะงดกิจกรรมกลางแจ้ง

วันนี้ (16 ธันวาคม) ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 24-98 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) จำนวน 39 พื้นที่คือ

 

  1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81: มีค่าเท่ากับ 98 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  2. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2: มีค่าเท่ากับ 87 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  3. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ: มีค่าเท่ากับ 79 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  4. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี: มีค่าเท่ากับ 79 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  5. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน: มีค่าเท่ากับ 78 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  6. เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค: มีค่าเท่ากับ 76 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  7. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน: มีค่าเท่ากับ 76 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  8. เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร: มีค่าเท่ากับ 76 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  9. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน: มีค่าเท่ากับ 76 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  10. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด: มีค่าเท่ากับ 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  11. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา: มีค่าเท่ากับ 73 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  12. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย: มีค่าเท่ากับ 70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  13. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน): มีค่าเท่ากับ 70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  14. สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค: มีค่าเท่ากับ 69 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  15. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ: มีค่าเท่ากับ 66 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  16. เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง: มีค่าเท่ากับ 66 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  17. เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต: มีค่าเท่ากับ 66 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  18. เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง: มีค่าเท่ากับ 63 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  19. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์: มีค่าเท่ากับ 63 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  20. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหสวรรย์: มีค่าเท่ากับ 62 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  21. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ: มีค่าเท่ากับ 61 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  22. เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน: มีค่าเท่ากับ 61 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  23. เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่: มีค่าเท่ากับ 61 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  24. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า: มีค่าเท่ากับ 59 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  25. เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง: มีค่าเท่ากับ 57 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  26. เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี: มีค่าเท่ากับ 57 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  27. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอยถนนเซนต์หลุยส์: มีค่าเท่ากับ 57 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  28. สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง: มีค่าเท่ากับ 57 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  29. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย: มีค่าเท่ากับ 56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  30. สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด: มีค่าเท่ากับ 56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  31. สวนสันติภาพ เขตราชเทวี: มีค่าเท่ากับ 54 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  32. เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต: มีค่าเท่ากับ 54 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  33. เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี: มีค่าเท่ากับ 54 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  34. เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก: มีค่าเท่ากับ 53 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  35. สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ: มีค่าเท่ากับ 52 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  36. เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ: มีค่าเท่ากับ 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  37. เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย: มีค่าเท่ากับ 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  38. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่: มีค่าเท่ากับ 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  39. สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย: มีค่าเท่ากับ 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

 

ขณะที่ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่พบว่าอยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลต่อสุขภาพ

 

โดยมีคำแนะนำให้ประชาชนทั่วไปในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐานให้เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น และทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X