แฮชแท็ก #วันนี้ดาราCallOutหรือยัง คือประเด็นที่กำลังเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง เมื่อมีคนในวงการบันเทิงหลากหลายแขนง ทั้งผู้กำกับ นักแสดง นักดนตรี ศิลปินเพลงไทยจำนวนมาก ร่วมแสดงจุดยืนสนับสนุนการรับฟังความเห็นที่แตกต่างอย่างปลอดภัย และเรียกร้องให้เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนผ่านโซเชียลมีเดียของตัวเอง
นับเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสสังคมที่กำลังเรียกหาการเคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเรียกร้องให้หยุดคุกคามประชาชน วันนี้ (13 สิงหาคม) จึงมีการเปิดกระบอกเสียงจากบุคคลในวงการบันเทิงจำนวนมากที่ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของตนแสดงจุดยืนและร่วมเรียกร้องประเด็นดังกล่าวด้วย จนกลายมาเป็นแฮชแท็ก #วันนี้ดาราCallOutหรือยัง
โดยกลุ่มบุคคลในวงการบันเทิงนี้ก็ล้วนเป็นบุคคลที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์, ณัฐ ศักดาทร, เจนนี่ ปาหนัน, เก้า สุภัสสรา, แสตมป์ อภิวัชร์, ไอซ์ พาริส, วี วิโอเลต, ใบเฟิร์น อัญชสา, TRINITY, แบงค์ ธิติ, เจเจ กฤษณภูมิ, คริส พีรวัส, วง Serious Bacon, เต ตะวัน, น้ำหนึ่งและฝ้ายจาก BNK48 และอื่นๆ อีกมากมาย โดยหลักๆ แล้วออกมาโพสต์ข้อความเพื่อเรียกร้องต่อรัฐให้เคารพหลักสิทธิมนุษยชน หยุดคุกคามประชาชน และไม่ควรมีใครหายไปเพราะพูดความจริง
สิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงในประเด็นนี้คือการที่บุคลากรที่ออกมาพูดเรื่องนี้ส่วนใหญ่ มีจำนวนมากที่เป็นข้อความจากศิลปินหรือนักแสดงวัยรุ่นที่ล้วนอยากส่งต่อและเป็นหนึ่งพลังให้เกิดการพูดถึงประเด็นดังกล่าวในวงกว้าง และนับเป็นอีกครั้งที่พิสูจน์ได้ว่ากลุ่มคนที่มีผู้ติดตามจำนวนมากสามารถที่จะเป็นกระบอกเสียงแทนเสียงของคนอื่นได้ดังมากขึ้น เช่น
เจมส์-ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ
“การแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนด้วยซ้ำ แต่หากต้องถูกคุกคามจากการที่มีความเห็นแตกต่าง ถือเป็นเรื่องที่ไม่แฟร์และน่าอายที่สุด”
การแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนด้วยซ้ำ แต่หากต้องถูกคุกคามจากการที่มีความเห็นแตกต่าง ถือเป็นเรื่องที่ไม่แฟร์และน่าอายที่สุด
— JMJ (@jamyjamess) August 13, 2020
ณัฐ ศักดาทร
“สิ่งที่ควรมีเพื่อจะแก้ปัญหาไปด้วยกันได้คือการสร้างพื้นที่ ‘ปลอดภัย’ ในการแสดงความคิดเห็นทั้งในสังคมจริงและออนไลน์ ที่เมื่อใครแสดงความคิดเห็นออกไปก็สามารถวางใจได้ว่าคนอื่นๆ จะอย่างน้อยเคารพสิทธิ์นั้น เห็นต่างก็ถกกันโดยสันติและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ใช้กำลังหรือวาจาคุกคามทำลายกัน”
สิ่งที่ควรมี เพื่อจะแก้ปัญหาไปด้วยกันได้ คือการสร้างพื้นที่ “ปลอดภัย” ในการแสดงความคิดเห็น ทั้งในสังคมจริงและออนไลน์ ที่เมื่อใครแสดงความคิดเห็นออกไป ก็สามารถวางใจได้ว่าคนอื่นๆ จะอย่างน้อยเคารพสิทธิ์นั้น เห็นต่างก็ถกกันโดยสันติและให้เกียรติซึ่งกัน ไม่ใช้กำลังหรือวาจาคุกคามทำลายกัน
— Nat Sakdatorn (@NATsakdatorn) August 13, 2020
วี-วิโอเลต วอเทียร์
“Freedom of speech is human right. Come on. How many times do we have to say this? Hello?”
คริส-พีรวัส แสงโพธิรัตน์
“อยู่เคียงข้างประชาชนที่ถูกคุกคาม”
อยู่เคียงข้างประชาชนที่ถูกคุกคาม ❤️
— คุณพี⛅💛 (@kristtps) August 13, 2020
เต-ตะวัน วิหครัตน์
“สิทธิมนุษยชนคือเรื่องพื้นฐานของประเทศที่เจริญแล้ว ส่วนความรุนแรงเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น และควรได้รับการปกป้องจากผู้พิทักษ์สันติราษฎร์”
สิทธิมนุษยชนคือเรื่องพื้นฐานของประเทศที่เจริญแล้ว
ส่วนความรุนแรงเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นและควรได้รับการปกป้องจากผู้พิทักษ์สันติราษฎร์— เทย์ทาวาฬ (@Tawan_V) August 13, 2020
พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์