Singapore Biennale 2019 เทศกาลศิลปะนานาชาติกลับมาแล้วเป็นครั้งที่ 6 โดยครั้งนี้ประเทศสิงคโปร์และผู้จัดงานต้อนรับผู้ที่มาเยือนด้วยผลงานของศิลปินและกลุ่มศิลปิน 77 รายชื่อ ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอีกหลายประเทศ รวมทั้งหมดกว่า 150 ผลงาน นอกจากนี้ยังมีผลงานของศิลปินชาวไทยที่เรียกได้ว่าโดดเด่นและน่าสนใจไม่แพ้กับต่างประเทศ นำไปจัดแสดงในเทศกาลนี้ด้วย
ธีมใหญ่ของปีนี้มีชื่อว่า ‘Every Step in the Right Direction’ ที่สื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินและผู้ชมที่ต้องการจะก้าวไปสู่ความหมายของชีวิตและศิลปะในแบบร่วมสมัย สะท้อนถึงความเป็นอยู่ ความเชื่อ วิถีชีวิตของชุมชน ทั้งในเชิงสังคมและวัฒนธรรมทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผ่านการจัดแสดงและความเป็นชุมชนของคนรักศิลปะ ซึ่งสถานที่จัดแสดงกระจายอยู่ในสถานที่สำคัญ ๆ ของเกาะสิงคโปร์ ไม่ว่าจะเป็น National Galley Singapore แหล่งจัดแสดงงานศิลปะสมัยใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค, Gillman Barracks, Lasalle College of Arts, Asian Civilisations Museum รวมไปถึงบางส่วนของ Singapore Art Museum ที่กำลังปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ ก่อนจะเปิดให้เข้าชมอีกครั้งในปี 2023
โดยปีนี้ได้เริ่มเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา ยาวไปจนถึงวันที่ 22 มีนาคม 2020 ดังนั้นตลอด 4 เดือนนี้เราจะมีโอกาสได้เห็นผลงานหลากหลายรูปแบบทั้งภาพวาด งานจัดแสดง ภาพยนตร์สารคดี ศิลปะการแสดง รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีอย่าง Virtual Reality เข้ามาผสานกับผลงานศิลปะ
ตาม THE STANDARD POP ไปชมผลงานที่เป็นไฮไลต์ของเทศกาลกันเลยดีกว่า
_________________________________________________________
บริเวณทางเข้าของ National Gallery Singapore
ชื่อผลงาน: Survey of Works
ศิลปิน: Carlos Villa, USA
คอลเล็กชันโดยรวมของ Carlos Villa
ศิลปินชาวฟิลิปปินส์อเมริกัน
ชื่อผลงาน: Far From Home
ศิลปิน: Paphonsak La-Or, Thailand
แรงบันดาลใจจากพระราชนิพนธ์ ไกลบ้าน ในรัชกาลที่ 5
ชื่อผลงาน: Time: Dust
ศิลปิน: Min Thein Sung, Myanmar
ความพิเศษอยู่ที่เทคนิค สีที่เห็นคือฝุ่นที่อยู่ในอากาศ จับตัวลงบนแผ่นแคนวาส
ชื่อผลงาน: Seldom Seen, Soon Forgotten
ศิลปิน: Hera Büyüktaşcıyan, Turkey
ชื่อผลงาน: Telling stories from outside and inside
ศิลปิน: Veronica Troncoso, Chile
ชื่อผลงาน: Pan African Flag for the Relic Travellers’ Alliance
ศิลปิน: Larry Achiampong, UK
ชื่อผลงาน: Gilded Age
ศิลปิน: Le Quang Ha, Vietnam
ชื่อผลงาน: Spatial Composition
ศิลปิน: Celine Condorelli, France
ชื่อผลงาน: Chapter 1: The Legend of Lieu Hanh
ศิลปิน: Ngoc Nau, Vietnam
ชื่อผลงาน: Queen’s Own Hill and it’s Environs
ศิลปิน: Robert Zhao Renhui, Singapore
ชื่อผลงาน: The Map for the Soul to Return to the Body
ศิลปิน: Dusadee Huntrakul, Thailand
ชื่อผลงาน: Reincarnations (Hopea Sangal and Sindora Wallichii)
ศิลปิน: Ruangsak Anuwatwimon, Thailand
ชื่อผลงาน: Ayaw Jaw Bah
ศิลปิน: Busui Ajaw, Thailand
ชื่อผลงาน: Intimate Apparitions
ศิลปิน: Khairullah Rahim, Singapore
ชื่อผลงาน: Social Organism
ศิลปิน: Hafiz Rancajale, Indonesia
ชื่อผลงาน: An Obstacles in Every Direction
ศิลปิน: Nabilah Nordin, Singapore
ชื่อผลงาน: From Where Labor Blooms
ศิลปิน: Mark Sanchez, Philippines
ชื่อผลงาน: Etc., Etc., No.3: About to, thereafter
ศิลปิน: Propaganda Department
โซนรวมผลงานวิดีโอและเทคนิคเสียงของศิลปิน Hafiz Rancajale
ผลงาน Virtual Reality ที่ชื่อว่า La camera Insabbiata (The Chalkroom)
โดยศิลปิน Laurie Anderson, USA และ Hsin-Chien Huang, Taiwan
ชื่อผลงาน: Pink Slime Caesar Shift: Gold Edition
ศิลปิน: Jen Liu, USA
ชื่อผลงาน: 2065 (Singapore Centennial Edition)
ศิลปิน: Lawrence Lek, Germany