×

ราชกิจจาฯ ออกประกาศคุมเข้มกิจการสักผิวหนัง ป้องกันการติดเชื้อ-อันตรายจากการสัก

03.01.2020
  • LOADING...

เมื่อวานนี้ (2 มกราคม) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรการควบคุมการประกอบกิจการการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย พ.ศ. 2562 

 

โดยระบุว่า โดยเป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ มาตรการควบคุมการประกอบกิจการจากผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกอบกิจการที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การติดเชื้อ การแพ้สีหรือสารเคมี เป็นต้น ประกอบกับมูลฝอยที่เกิดจากการประกอบกิจการ เช่น เข็มสัก วัสดุบนเปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่ง หากไม่ได้รับการจัดการที่ถูกสุขลักษณะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานการประกอบกิจการดังกล่าวด้วย 

 

โดยในประกาศฉบับนี้ มีการระบุมาตรฐานสำคัญของ ‘ผู้ปฎิบัติการสัก’ ไว้ดังนี้

  • มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ขณะให้บริการต้องไม่เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจและโรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ
  • มีใบรับรองแพทย์การตรวจสุขภาพประจำปี รายการตรวจเฝ้าระวังโรคติดต่อได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และวัณโรค
  • มีความรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ และการจัดการมูลฝอย ที่เกิดจากการประกอบกิจการ

 

ขณะที่ ‘ผู้ดำเนินกิจการ’ ต้องมีข้อปฏิบัติสำคัญดังนี้

 

  • มีคู่มือการปฏิบัติงานและเอกสารแสดงขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัย โดยเฉพาะในกรณีที่ได้รับอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำ ของมีคมบาด หรือสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง ทั้งนี้ผู้ดำเนินกิจการต้องแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงาน (ผู้รับบริการสัก) ทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำงาน และแจกคู่มือปฏิบัติงาน พร้อมทั้งชี้แจงให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ
  • มีความรู้และควบคุม ดูแลให้มีการปฏิบัติ เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ และการจัดการมูลฝอยที่เกิดจากการประกอบกิจการ
  • แจ้งเตือนสำหรับผู้มารับบริการที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคโลหิตไหลไม่หยุด โรคลมชัก โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะไม่ควรใช้บริการสัก เป็นต้น 

 

อย่างไรก็ตาม ประกาศนี้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising