×

“กินข้าวเหลือคนละช้อน เพียง 1 ปี จะมีข้าวถูกทิ้งกว่าแสนตัน” เปิดทุกข้อเท็จจริงของวิกฤตขยะอาหารในงานประชุม 2019 Thailand’s Annual Conference on Food Waste [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
12.12.2019
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 MINS. READ
  •  Food Waste ปัญหาที่ไม่มีทางแก้ถ้าทุกคนยังกินทิ้งกินขว้าง แค่ฝึกนิสัย ‘ตักแต่พออิ่ม กินให้หมดจาน’ คุณก็มีส่วนช่วยลด Food Waste ได้แล้ว
  • เทสโก้ โลตัส ร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหอการค้าไทย จัดงานประชุม 2019 Thailand’s Annual Conference on Food Waste ภายใต้ธีม Target, Measure, Act: A Recipe for Success ขับเคลื่อนการลดขยะอาหารให้เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมประกาศเป้าหมายลดปริมาณขยะอาหารภายในธุรกิจลงครึ่งหนึ่งภายในปี ค.ศ. 2030

แค่กินข้าวเหลือคนละหนึ่งคำ จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร? ความสงสัยนี้กระจ่างทันทีหลังจากที่ THE STANDARD ได้เข้าร่วมฟังงานประชุม ประจำปี 2019 Thailand’s Annual Conference on Food Waste ภายใต้ธีม Target, Measure, Act: A Recipe for Success ที่เทสโก้ โลตัส ร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหอการค้าไทย ขับเคลื่อนการลดขยะอาหารให้เป็นวาระแห่งชาติ  

 

 


ข้อมูลต่างๆ แนวคิดในการลดขยะอาหาร และโครงการต่างๆ ที่ได้เห็นและฟังในงานนี้ เชื่อว่าใครได้ฟังก็ต้องตระหนักถึงผลกระทบที่เราแทบไม่รู้เลยว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำร้ายโลก และเชื่อว่าผู้มีส่วนร่วมในการจัดงานในวันนั้น อยากให้ทุกคนตระหนักและลงมือเปลี่ยนแปลงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ จากตัวเราเอง แม้จะได้ยินคำเตือนที่ว่า “สร้างความตระหนักอย่างเดียวอาจไม่ทันกาล เพราะโลกเราวิกฤตแล้ว” 

และนี่คือบทสรุปที่อยากให้ทุกคนรับรู้สิ่งเดียวกัน รู้แล้วจะแก้ไขทันหรือไม่…ไม่อาจรู้ แต่หลังอ่านจบ แค่คุณเลิกกินทิ้งขว้าง แค่นี้ก็ถือว่าได้มีส่วนช่วยลดขยะอาหารจากต้นน้ำของคุณแล้ว 

 



 

งานประชุม 2019 Thailand’s Annual Conference on Food Waste เริ่มขึ้นด้วยการชวนทุกคนดูสารคดีใน ‘โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน’ ของ เทสโก้ โลตัส สิ่งที่ทุกคนได้เห็นคือ ภาพภูเขาขยะลูกใหญ่ที่เต็มไปด้วยขยะอาหาร (Food Waste) เสียงจากคนทำงานในพื้นที่ สะท้อนให้เราทุกคนต้องก้มหน้ายอมรับว่าเราต่างก็ ‘กินทิ้งกินขว้าง’ กันมากขนาดนั้น ก่อนจะเฉลยว่า นี่เป็นสารคดีที่ถ่ายเมื่อปี 2017 ก่อนจะเปิดสารคดีล่าสุดที่เพิ่งถ่ายไปเมื่อต้นปี 2 ปีให้หลัง…ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดที่สุดคือ ภูเขาขยะลูกเดิมที่ใหญ่ขึ้นทุกๆ วันในขณะที่ความสามารถในการจัดการขยะของเรา ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามปริมาณขยะ

 

ความใส่ใจแม้เพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้ คือคุณค่าหลักของเทสโก้ โลตัส ที่มุ่งมั่นในการเป็นผู้นำลดขยะอาหารในประเทศ ตั้งแต่ปี 2560 โดยเริ่มจากการลดปริมาณขยะอาหารภายในธุรกิจค้าปลีกของตนเองตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และค่อยๆ ขยายวงกว้างเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเทศ รวมถึงบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดแต่ยังสามารถรับประทานได้ผ่านโครงการ ‘กินได้ไม่ทิ้งกัน’ หลังจากนั้น เทสโก้ โลตัส ได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการขยายผลการลดขยะอาหาร ด้วยการเป็นธุรกิจค้าปลีกแรกในประเทศไทยที่วัดผล และเปิดเผยข้อมูลขยะอาหารภายในธุรกิจของตนเองอย่างโปร่งใส เมื่อเดือนกันยายน 2562 ซึ่งจะเป็นตัวอย่างของการเร่งดำเนินการลดขยะอาหารอย่างเป็นรูปธรรมจากผลชี้วัดและข้อมูลที่อ้างอิงได้ 

 

สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส

 

 

สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า “ในฐานะธุรกิจค้าปลีกที่จำหน่ายอาหารในปริมาณมาก เทสโก้ โลตัส เราอยู่ตรงกลางของห่วงโซ่อาหาร ระหว่างเกษตรกร ผู้ผลิตอาหาร ผู้ประกอบธุรกิจอาหาร และผู้บริโภค ดังนั้นเรามีบทบาทและความรับผิดชอบในการสร้างความร่วมมือเพื่อสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง กลุ่มเทสโก้ จึงตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณขยะอาหารภายในธุรกิจของเราเองลงครึ่งหนึ่งภายในปี ค.ศ. 2030 และยังมีเป้าหมายช่วยให้ประเทศที่เราประกอบธุรกิจอยู่ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย สามารถลดปริมาณขยะอาหารได้ลงครึ่งหนึ่ง ภายในปี ค.ศ. 2030 เช่นกัน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 12.3 จึงเป็นที่มาของความพยายามของเราในการเป็นผู้นำขับเคลื่อนการลดขยะอาหารให้เป็นวาระแห่งชาติ และขยายผลครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อาหารในประเทศไทย”

 

ประวิทย์ ประกฤตศรี กรรมการบริหารหอการค้าไทยและกรรมการ Circular Economy หอการค้าไทย

 


แม้ว่าเทสโก้ โลตัส จะประกาศตัวเป็นผู้นำที่ได้เริ่มลงมือทำอย่างจริงจัง แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่องค์กรไหนๆ จะลุกขึ้นมารับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อาหาร ทั้งภาคการผลิต ธุรกิจจำหน่ายอาหาร ร้านค้าปลีก โรงแรม ภัตตาคาร ไปจนถึงระดับครัวเรือน ตลอดจนภาคประชาสังคม ภาครัฐ และนักวิชาการ ร่วมระดมสมองและแสดงเจตนารมณ์แก้ปัญหาขยะอาหารอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นหอการค้าไทยก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนให้เครือข่ายสมาชิกหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิกทั่วประเทศรวมกว่า 120,000 ราย มาร่วมกันลดขยะอาหาร และสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy  ประวิทย์ ประกฤตศรี ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ส่งเสริมนวัตกรรมและวิจัย หอการค้าไทย เชื่อว่า “ลดขยะอาหารและการใช้ทรัพยากรอาหารอย่างคุ้มค่า ตามแนวทาง Circular Economy จะช่วยให้ประเทศไทยเจริญเติบโต ความยั่งยืนของทั้งระบบเศรษฐกิจ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดมลภาวะ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างยั่งยืน”   

 

การลดขยะให้เป็นรูปธรรมต้องมาจากพื้นฐานที่ถูกต้อง มีการทำงานที่เป็นระบบ กลุ่มเทสโก้ ขับเคลื่อนการลดขยะอาหารภายในธุรกิจ โดยใช้กรอบการทำงาน Target, Measure, Act ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับสากล นั่นคือ การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และประกาศให้เป็นสาธารณะ (Target) การวัดผลอย่างต่อเนื่องและเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส (Measure) และการลงมือทำเพื่อลดปริมาณขยะอาหารให้ได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ (Act) ซึ่งเป็นหัวใจหลักของงานประชุมประจำปีครั้งนี้ 

 

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

 

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ปัญหาขยะไม่มีทางแก้ได้ ถ้าคนทิ้งยังทิ้งอยู่” น่าเศร้าที่เราต้องพยักหน้าว่าเป็นเรื่องจริง วราวุธ ยังกล่าวว่า “เรื่องของขยะอาหารเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ กระทบหลายประเด็นนอกเหนือจากประเด็น เช่น ความมั่นคงทางอาหาร การขจัดความหิวโหย สุขภาพอนามัยของประชาชน และการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ต้องมีการร่วมกันทำงานกับหลายกระทรวง และที่สำคัญความร่วมมือกับภาคเอกชน”

 

เจเน็ต ซาเลม เจ้าหน้าที่โปรแกรม ‘Resource Efficiency and Sustainable Consumption and Production’ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)

 

 

เจเน็ต ซาเลม เจ้าหน้าที่โปรแกรม ‘Resource Efficiency and Sustainable Consumption and Production’ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ยกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทั่วโลกก็ลงมือกันจริงจัง เช่น การมี Global Food Loss Index หรือ ดัชนีนี้วัดการสูญเสียในช่วงของการผลิตภาคการเกษตรตั้งแต่หลังการเก็บเกี่ยวจนถึงแหล่งขายปลีก หรือเชฟทั่วโลกก็เริ่มหันมาสนใจเรื่องนี้จนกลายเป็นเทรนด์นวัตกรรมอาหาร Zero Waste Food 

 

พรพิมล เจริญส่ง ผู้อำนวยการกองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ (ซ้าย) สลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจกรรมบรรษัท เทสโก้ โลตัส (ขวา)

 

 

พรพิมล เจริญส่ง ผู้อำนวยการกองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวว่า “มีหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนงาน อีกส่วนคือการกำหนดมาตรฐาน จึงเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ และดำเนินการร่วมกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง อาทิ Framework 3R คอนเซปต์: Reduce Reuse Recycle และการจัดเตรียมสถานที่เหมาะสมเป็นศูนย์รวมที่จะนำประโยชน์ของขยะมาใช้ แต่สำคัญที่สุดในการทำงานคือ ต้องมีข้อมูลในการทำวิจัยที่จะใช้ในการวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ในขณะที่ข้อมูลฝั่งค้าปลีกขนาดใหญ่อย่าง เทสโก้ โลตัส สลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจกรรมบรรษัท เทสโก้ โลตัส เปิดเผยว่า เทสโก้ โลตัส มีการตั้งเป้าหมายทำงาน และ Food Waste เป็นเป้าหมายที่อยู่ในอันดับต้นๆ เมื่อตั้งเป้าหมายแล้วสิ่งสำคัญรองลงมาคือ การวัดผล เพื่อให้สอดคล้องไปกับเป้าหมายที่จะลดลงจากตัวเลขตั้งต้น 50% กลุ่มเทสโก้มีการวัดตัวเลข Food Waste ในหลายประเทศซึ่งประเทศไทยเก็บข้อมูลจาก 2,000 สาขา ทั่วประเทศ และศูนย์กระจายสินค้า 6 แห่ง ถือเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าแรกที่เปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา

 

เชฟแดเนียล บูเชอร์ เอ็กเซ็กคิวทีฟเชฟ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค

 

 

“Business Innovative Model น่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่เร็วกว่าการเริ่มต้นแก้กันที่การศึกษา” ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าว พร้อมยกตัวอย่างภาคส่วนต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ อาทิ สวีเดนเลิกแปะสติกเกอร์ลงบนผลไม้แต่ใช้เลเซอร์ยิงลงไป ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เองก็ใช้พลังงานความร้อนจากแอร์บ้านเพื่อช่วยให้ย่อยสลายเร็วขึ้น ในขณะที่จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่ประกาศตัวเป็น Zero Waste University หรือที่ต่างประเทศมีแพลตฟอร์มให้ร้านอาหารเข้าไปกรอกข้อมูลว่าทางร้านมีอาหารอะไรเหลือ ใครสนใจเข้ามารับซื้อในราคาถูก หรือที่เกาหลีเก็บเงินค่าขยะ ทิ้งเยอะจ่ายแพง ไม่อยากจ่ายก็ต้องรีไซเคิล เป็นต้น

 

อีกหนึ่งตัวอย่างที่ผู้ร่วมงานได้เห็นและได้ชิมจริงคือ “นำของเหลือเป็นของหรู” เชฟแดเนียล บูเชอร์ เอ็กเซ็กคิวทีฟเชฟ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค ยกครัวมาโชว์ทำอาหารให้ผู้ร่วมงานเลือกวัตถุดิบที่ไม่ผ่านมาตรฐานโรงแรม แทนที่จะทิ้งก็นำมาเปลี่ยนเป็นอาหารจานหรูให้ได้ชิมกัน 

การได้เข้าร่วมงานประชุมในครั้งนี้ ก็ทำให้เราเชื่อมั่นว่า หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ธุรกิจเล็กใหญ่ที่ลงมือทำอะไรบางอย่าง คือจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่วนประชาชนอย่างเราๆ ก็มีส่วนร่วมลด Food Waste ได้ง่ายๆ แบบไม่ต้องลงแรง แค่อย่าทิ้งอาหารที่ยังคงกินได้อยู่ ตักอาหารกินแต่พออิ่ม และกินข้าวให้หมดจาน 

 

เริ่มจากมื้อนี้เลยนะ  

 

 

 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising