- สนค. ประเมินตัดสิทธิ GSP กระทบส่งออกไทย 0.01% พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรณีที่สหรัฐฯ มีประกาศจะตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรทางการค้าหรือ GSP ที่เคยให้ไทยบางรายการนั้น จะทำให้การส่งออกไทยได้รับผลกระทบคิดเป็นประมาณ 0.01% ของการส่งออกรวมของไทยเฉลี่ยรายปี แต่จะมีสินค้าบางรายการที่ใช้สิทธิมากที่อาจได้รับผลกระทบมากกว่ารายการอื่น โดยสหรัฐฯ ประกาศตัดสิทธิ GSP 573 รายการ หรือคิดเป็น 40% จากจำนวนสินค้าที่ไทยใช้สิทธิในปี 2561 จำนวนรวม 1,485 รายการ และมีการคืนสิทธิให้ไทย 7 รายการ สนค. ประเมินว่า การถูกตัดสิทธิ GSP ทำให้ต้นทุนส่งออกไทยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 50.33 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากสินค้าไทยกลุ่มนี้จะถูกเก็บภาษีนำเข้าสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 4.5% แต่เป็นการกระทบการส่งออกของไทยในวงจำกัด ซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ สำหรับสินค้ากลุ่มที่โดนตัดสิทธิในปี 2563 ลดลงมูลค่า 28.8-32.8 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.01% ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย
- สงครามการค้ากดดันต้นทุนอุตสาหกรรมพุ่ง รายงาน Tariff War Fallout ซึ่งสำรวจโดยสมาคมเชื่อมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (IPC) ระบุว่า ราว 90% ของบริษัทผู้ผลิตและประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับต้นทุนภาษีที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากหลายบริษัทยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และอุปกรณ์การผลิตจากจีนเป็นหลัก เพื่อนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นแผงวงจรควบคุมรถแทรกเตอร์ ไปจนถึงเครื่องถ่ายภาพทางการแพทย์ เพื่อจำหน่ายในสหรัฐฯ ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าของแต่ละบริษัทเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 31% ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทั้งหมด โดย 25% ของบริษัทอเมริกันที่ IPC สำรวจ ระบุว่า ต้นทุนการนำเข้าของพวกเขาเพิ่มขึ้นกว่า 50% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด นอกจากนี้ต้นทุนทางภาษีที่สูงขึ้น ยังทำให้ผลกำไรของบริษัทลดลง ส่งผลให้บริษัท 1 ใน 5 ปรับลดการลงทุนในสหรัฐฯ ลงแล้ว
- จับตาท่าที Fed และ BOJ โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีกำหนดประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ระหว่างวันที่ 29-30 ตุลาคม ซึ่งนักวิเคราะห์และตลาดคาดว่า FOMC จะมีมติลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 1.75-2.0% พร้อมทั้งส่งสัญญาณท่าทีที่มีลักษณะ Dovish มากขึ้น เพื่อเตรียมดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินญี่ปุ่นนั้น ถูกคาดหมายว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ย เพื่อติดตามผลกระทบจากมาตรการปรับขึ้นภาษีการขาย (Sales Tax) รวมถึงผลลัพธ์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งก่อน และท่าทีธนาคารกลางสหรัฐฯ ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป
- ประกาศตัวเลขสำคัญประจำสัปดาห์ 1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ (US CB Consumer Confidence) ถูกคาดการณ์ว่าจะประกาศออกมาที่ 127.4 จุดเพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนหน้าที่ 125.1 จุด แต่ยังคงสามารถยืนอยู่เหนือระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2000 เอาไว้ได้ 2. ตัวเลข GDP เบื้องต้น Q3/2019 ของสหรัฐฯ ถูกคาดหมายว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.7% (YoY) ลดลงจาก Q2/2019 ที่ระดับ 2.0% (YoY) เหตุสงครามการค้ากดดันภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ภาคการบริโภคยังแข็งแกร่ง 3. ดัชนี Caixin Manufacturing PMI ของจีน ซึ่งถูกคาดว่าจะประกาศออกมาที่ 51.0 ลดลงจากครั้งก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 51.0 จุด แต่ยังคงอยู่ในแดนขยายตัว 4. ดัชนี ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 46.5 จุด เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 46.3 จุด
- Brexit ยังไม่จบ โดยสัปดาห์นี้สภายุโรปมีกำหนดลงมติกรณีการเลื่อนเส้นตายการแยกตัวของสหราชอาณาจักรจากสหภาพยุโรป (Brexit) จากวันที่ 31 ตุลาคม 2019 ออกไปอีก 3 เดือน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่ามีโอกาสที่มติดังกล่าวจะผ่านสูง ด้าน บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เตรียมเดินหน้ายื่นญัตติขอจัดการเลือกตั้งในวันที่ 12 ธันวาคม 2019 หากมติดังกล่าวผ่านสภายุโรป ทางด้านนักวิเคราะห์มองว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปเพื่อเสริมฐานเสียงในรัฐสภาให้มีมากขึ้น ก่อนที่จะดำเนินการแยกตัวอีกครั้งในอนาคต
ภาวะตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
- ดัชนี Dow Jones ปิดบวกเล็กน้อยจากความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดบวกเช่นกัน นำโดยกลุ่มเทคโนโลยี Intel ปรับตัวขึ้นถึง 8.10% หลังผลประกอบการดีเกินคาด และแนวโน้มผลประกอบในไตรมาสสุดท้ายจะเติบโตตามไปด้วย ในสัปดาห์นี้จะมีการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดยตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินระหว่างวันที่ 29-30 ตุลาคมนี้
- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกสูงสุดในรอบ 22 เดือนที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีที่ออกมาดีเกินคาด และผลประกอบการของบริษัทดีกว่าคาด เช่น Electrolux ของเยอรมนี ปรับตัวขึ้น 6.23% หลังเปิดเผยผลกำไรไตรมาส 3 ดีกว่าคาด เช่นเดียวกับ KERRING ฝรั่งเศส พุ่ง 8.74% จากปัจจัยหนุนของยอดขายที่เพิ่มขึ้น 11.6% ในไตรมาส 3 ซึ่งได้แรงหนุนจากยอดขายสินค้าแบรนด์ Gucci ที่เพิ่มขึ้น
- ดัชนี Hang Seng ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวลดลง จากความไม่แน่นอนในฮ่องกงที่ค่อนข้างยืดเยื้อ ด้านดัชนี SET ปรับตัวลงจากการที่ธนาคารกสิกรไทยเปิดเผยเป้าหมายธุรกิจปี 63 ที่อ่อนแอลง นับเป็นการตอกย้ำภาพเศรษฐกิจไม่ดี ซึ่งฉุดให้มีแรงขายทั้งกลุ่มธนาคาร รวมถึงกลุ่มรับเหมาที่ยังไม่ได้ประกาศงบการเงินไตรมาส 3/62 ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะมีทิศทางอ่อนตัวลง ผนวกกับงานประมูลล่าช้า กดดันให้หุ้นรับเหมาขนาดใหญ่ ทั้ง ITD, CK, STEC ร่วงลง 5-7% ในวันศุกร์ที่ผ่านมา
- ตลาดน้ำมันปิดบวก 4 วันติดต่อกัน แม้มีแรงกดดันจากอุปสงค์น้ำมันที่ลดลง แต่ทั้งฝั่งการผลิตและสต๊อกน้ำมันดิบที่ลดลง ทำให้ราคายังปิดบวกต่อไปได้ รวมไปถึงการคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) จะลดกำลังการผลิตลงมากขึ้นในการประชุมกำหนดนโยบายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อรับมือกับการขยายตัวของอุปสงค์ที่อ่อนแอลง
- ตลาดทองคำปิดบวกเล็กน้อยจากแรงหนุนการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ โดยผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นขั้นสุดท้ายของผู้บริโภคสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับ 95.5 ในเดือนตุลาคม จากตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 96.0 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 96.0 แต่ปรับตัวขึ้นจากระดับ 93.2 ในเดือนกันยายน แต่อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์ที่เริ่มกลับมาแข็งค่า ทำให้ทองคำเริ่มมีความน่าดึงดูดน้อยลงตามไปด้วย
สหรัฐฯ
- Dow 30 ปิดที่ 26958.06 เพิ่มขึ้น 152.53 (0.57%)
- S&P 500 ปิดที่ 3022.55 เพิ่มขึ้น 12.26 (0.41%)
- Nasdaq ปิดที่ 8243.12 เพิ่มขึ้น 57.32 (0.7%)
ยุโรป
- DAX ปิดที่ 12894.51 เพิ่มขึ้น 22.41 (0.17%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7324.47 ลดลง -3.78 (-0.05%)
- Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3624.68 เพิ่มขึ้น 3.31 (0.09%)
- FTSE MIB ปิดที่ 22608.99 เพิ่มขึ้น 81.57 (0.36%)
เอเชีย
- Nikkei 225 ปิดที่ 22799.81 เพิ่มขึ้น 49.21 (0.22%)
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 6739.2 เพิ่มขึ้น 45.6 (0.68%)
- Shanghai ปิดที่ 2954.93 เพิ่มขึ้น 14.01 (0.48%)
- SZSE Component ปิดที่ 9660.44 เพิ่มขึ้น 104.68 (1.09%)
- China A50 ปิดที่ 13921.79 เพิ่มขึ้น 23.9 (0.17%)
- Hang Seng ปิดที่ 26667.39 ลดลง -130.56 (-0.49%)
- Taiwan Weighted ปิดที่ 11296.12 ลดลง -24.02 (-0.21%)
- SET ปิดที่ 1593.28 ลดลง -27.69 (-1.71%)
- KOSPI ปิดที่ 2087.89 เพิ่มขึ้น 2.23 (0.11%)
- IDX Composite ปิดที่ 6252.35 ลดลง -87.3 (-1.38%)
- BSE Sensex ปิดที่ 39058.06 เพิ่มขึ้น 37.67 (0.1%)
- PSEi Composite ปิดที่ 7922.5 ลดลง -28.48 (-0.36%)
.
Commodity
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 56.66 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.43 (0.76%)
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 61.98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.31 (0.5%)
- ราคาทองคำปิดที่ 1507.15 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 2.45 (0.16%)
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing