- ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ 1. ฝรั่งเศสประกาศดัชนี Manufacturing PMI เบื้องต้น (กันยายน) ที่ระดับ 50.3 ต่ำกว่าคาดที่ 51.2 และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้า 51.1 ส่วนดัชนี Services PMI (กันยายน) อยู่ที่ 51.6 ต่ำกว่าคาดไว้ที่ 53.2 และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 53.4 2. เยอรมนีเผยดัชนี Manufacturing PMI เบื้องต้น (กันยายน) ที่ระดับ 41.4 ต่ำกว่าคาดที่ 44.0 และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 43.5 ส่วนดัชนี Services PMI (กันยายน) อยู่ที่ 52.5 ต่ำกว่าคาดไว้ที่ระดับ 54.3 และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 54.8 3. ดัชนี Manufacturing PMI เบื้องต้น (กันยายน) ของยุโรปอยู่ที่ระดับ 45.6 ต่ำกว่าคาดไว้ที่ 47.3 และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 47.0 ส่วนดัชนี Services PMI (กันยายน) อยู่ที่ 52.0 ต่ำกว่าคาดไว้ที่ 53.3 และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้า 53.5 4. ออสเตรเลียเผยดัชนี Manufacturing PMI (กันยายน) ที่ระดับ 49.4 จากที่คาดว่าจะทรงตัวที่ 50.9 ซึ่งต่ำกว่า 50.0 นับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจครั้งแรกเมื่อปี 2016 แต่ดัชนี Services PMI เบื้องต้นอยู่ที่ 52.5 ซึ่งขยายตัวได้มากกว่าคาดอย่างมากและสูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.1
- ECB ส่งสัญญาณยุโรปยังไม่ฟื้นตัว ขณะที่นักวิเคราะห์คาด มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้อาจไม่ส่งผลดีเท่าที่คิด มาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เผย เศรษฐกิจสหภาพยุโรปยังไม่ส่งสัญญาณการฟื้นตัว รวมถึงมีการชะลอตัวในภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงที่จะลุกลามไปยังภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจ แม้กระทั่งข้อมูลตัวเลข คำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกใหม่ในภาคการผลิต ยังไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัวในอนาคตอันใกล้นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาด มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้อาจไม่ส่งผลดีเท่าใดนัก โดย แฮนส์ ไวเจอร์ส ประธานธนาคาร ING ระบุว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางมีขีดจำกัดของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหภาพยุโรปที่ต้องการกระตุ้นทางการคลังควบคู่ด้วย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคและการลงทุนที่มากขึ้น
- นักวิเคราะห์มอง Fed ล่าช้า หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดปัญหาสภาพคล่องตึงตัว ส่งผลให้ overnight repo rate ปรับตัวขึ้นสูงในเช้าวันจันทร์และวันอังคาร ทำให้ธนาคารกลางสาขานิวยอร์กต้องดำเนิน Open Market Operations (OMOs) เพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งนักวิเคราะห์บางส่วนเห็นว่าตลาดต้องการการส่งสัญญาณจาก FRBNY ที่รวดเร็วกว่านี้ เพื่อลดความวิตกกังวลหากเกิดกรณีสภาพคล่องตึงตัวขึ้นอีกครั้ง
- สงครามการค้าผ่อนคลาย หลังจากทวีความตึงเครียดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เมื่อคณะเจรจาจีนเดินทางกลับก่อนกำหนด พร้อมทั้งยกเลิกการเดินทางเข้าพบตัวแทนเกษตรกรสหรัฐฯ ล่าสุดสหรัฐฯ เดินหน้ายกเว้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มเติม 437 รายการ ขณะที่ทางการจีนเดินหน้านำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ กว่า 6 แสนตัน ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี พร้อมกันนั้น โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังระบุถึงการเดินทางกลับของคณะเจรจาจีนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าเป็นไปตามความต้องการของฝั่งสหรัฐฯ ซึ่งตัดสินใจโดย สตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและหัวหน้าทีมเจรจา
- จับตาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าจะประกาศออกมาที่ 134.0 จุด ลดลงจากครั้งก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 135.1 จุด แต่ยังคงเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 19 ปี สะท้อนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการบริโภคที่สูง ขณะที่วันนี้มีกำหนดการประกาศผลประกอบการ Nike ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าจะประกาศออกมาที่ 0.70 ดอลลาร์ต่อหุ้น พร้อมยอดขายที่ 10,400 ล้านดอลลาร์
ภาวะตลาดวานนี้
- ดัชนีตลาดหุ้นอินเดีย BSE Sensex ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 2.83% ขานรับนักวิเคราะห์ปรับคาดการ Earning โตมากถึง 10% หลังจากได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคลถึง 5.3% จากภาษีทั้งหมด ปัจจัยดังกล่าวยังคงสร้างแนวโน้มเชิงบวกต่อตลาดอย่างต่อเนื่อง
- ขณะที่แนวโน้มดัชนี PMI เบื้องต้นเดือนกันยายนทั่วโลกออกมาต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะยุโรป ทั้ง Manufacturing PMI และ Services PMI ส่งผลให้ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลงทั้งภูมิภาค ขณะที่ตัวเลข PMI เบื้องต้นเดือนกันยายนของสหรัฐฯ สามารถขยายตัวได้ทั้ง Manufacturing และ Services ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวในแดนบวกเล็กน้อย
- ส่วนตลาดเกิดใหม่พากันปรับตัวในแดนลบ จากแนวโน้มการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ล่าสุด Dollar Index กลับมายืนเหนือ 98 จุดอีกครั้ง พร้อมกับแนวโน้ม Fund flow ไหลกลับเข้าลงทุนในพันธบัตรสหรัฐฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป พร้อมกับการฟื้นตัวขึ้นของราคาทองคำ ล่าสุดอยู่ที่ 1,530.95 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือเพิ่มขึ้น 15.85 (+1.05%) ซึ่งเป็นสัญญาณของเกิดภาวะ Risk Off กลับมาอีกอีกครั้ง นับตั้งแต่ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไม่ได้สร้างความชัดเจนต่อแนวโน้มที่จะลดดอกเบี้ยต่อในอนาคต แม้ว่าข้อพิพาทการค้ามีปัจจัยบวกออกมาเมื่อวานนี้ แต่กลับไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นต่อตลาด แนะกลยุทธ์กระจายความเสี่ยงเป็นทางเลือกที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน
สหรัฐฯ
- Dow 30 ปิดที่ 26949.99 เพิ่มขึ้น 14.92 (+0.06%)
- S&P 500 ปิดที่ 2991.77 ลดลง 0.3 (-0.01%)
- Nasdaq ปิดที่ 8112.46 ลดลง 5.21 (-0.06%)
ยุโรป
- DAX ปิดที่ 12342.33 ลดลง 125.68 (-1.01%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7326.08 ลดลง 18.84 (-0.26%)
- Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3536.97 ลดลง 34.42 (-0.96%)
- FTSE MIB ปิดที่ 21899.88 ลดลง 223.37 (-1.01%)
เอเชีย
- Nikkei 225 ปิดที่ 22079.09 เพิ่มขึ้น 34.64 (+0.16%)
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 6749.7 เพิ่มขึ้น 18.9 (+0.28%)
- Shanghai ปิดที่ 2977.08 ลดลง 29.37 (-0.98%)
- SZSE Component ปิดที่ 9781.14 ลดลง 100.11 (-1.01%)
- China A50 ปิดที่ 13696.6 ลดลง 153.57 (-1.11%)
- Hang Seng ปิดที่ 26222.4 ลดลง 213.27 (-0.81%)
- Taiwan Weighted ปิดที่ 10919.02 ลดลง 10.67 (-0.1%)
- SET ปิดที่ 1622.79 ลดลง 13.41 (-0.82%)
- KOSPI ปิดที่ 2091.7 เพิ่มขึ้น 0.18 (+0.01%)
- IDX Composite ปิดที่ 6206.2 ลดลง 25.27 (-0.41%)
- BSE Sensex ปิดที่ 39090.03 เพิ่มขึ้น 1075.41 (+2.83%)
- PSEi Composite ปิดที่ 7867.51 ลดลง 3.6 (-0.05%)
Commodity
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 58.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.21 (+0.36%)
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 64.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.11 (+0.17%)
- ราคาทองคำ ปิดที่ 1530.95 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 15.85 (+1.05%)
พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing