×

แพทย์เตือน ใช้ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนผิดอาจเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์

13.08.2019
  • LOADING...
โรคอัลไซเมอร์ ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน

HIGHLIGHTS

2 Mins. Read
  • นายแพทย์สมบูรณ์ รุ่งพรชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย เตือนการใช้โรลออนระงับกลิ่นกาย ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของสารอะลูมิเนียม เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมและอัลไซเมอร์

ใครจะไปคาดคิดว่าการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนผิดอาจเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมและอัลไซเมอร์ได้ 

 

นายแพทย์สมบูรณ์ รุ่งพรชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ออกมาให้ความรู้เพื่อเตือนภัยหนุ่มสาวให้ระวังการใช้โรลออนระงับกลิ่นกาย เพราะถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนส่วนใหญ่ไม่ทันคิดว่าอาจส่งผลร้ายมากกว่าที่คิด 

 

ด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของเมืองไทยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ทำให้หลายคนมีกลิ่นเหงื่อ กลิ่นกาย และความอับชื้นระหว่างวัน ส่งผลให้เกิดความรำคาญได้ทั้งชายหญิง ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายประเภทโรลออนจึงเป็นตัวเลือกที่ถูกนำมาใช้ระงับกลิ่นกายใต้วงแขน แต่รู้หรือไม่ว่าสารอะลูมิเนียมซึ่งเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ประเภทระงับเหงื่อ ระงับกลิ่นกาย เป็นหนึ่งในปัจจัยที่เสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน

นายแพทย์สมบูรณ์อธิบายว่า ‘อะลูมิเนียม’ เป็นสารที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบและเป็นสารหลักในการควบคุมการทำงานของต่อมเหงื่อ จึงเป็นสารที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและกลิ่นกายที่วางจำหน่ายแพร่หลายในท้องตลาด โดยมีรายงานการวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าอะลูมิเนียมที่สะสมเข้าร่างกายจากยาระงับเหงื่อมีผลต่อเนื้อเยื่อสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบสารเหล่านี้ในสมองคนไข้อัลไซเมอร์ และยังกระจายไปในกระแสเลือดและทางเดินของสายรกอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีรายงานศึกษาการสะสมของโลหะอะลูมิเนียมจากการใช้ยาระงับเหงื่อว่าอาจมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมอีกด้วย 

 

“เราสัมผัสอะลูมิเนียมโดยตรงทุกวันผ่านการทาลงบนผิวหนัง เช่น ใต้วงแขน ซึ่งนอกจากจะเป็นบริเวณที่ผิวบอบบางแล้วยังอาจมีบาดแผลจากการโกนหรือถอน ยิ่งทำให้สารอะลูมิเนียมสามารถซึมผ่านเข้าไปสะสมในร่างกายได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้โลหะอะลูมิเนียมยังมีอยู่ในข้าวของเครื่องใช้ในครัว เช่น กระทะ ตะหลิว อะลูมิเนียมฟอยล์ ซึ่งสัมผัสกับอาหารที่เรารับประทานและเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน โดยเฉพาะการใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ในการปรุงเมนูอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น มะนาว ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอะลูมิเนียมและออกมาปนเปื้อนในอาหารที่เรารับประทานโดยไม่รู้ตัว” 

 

คุณหมอยังเสริมอีกว่า “ผู้บริโภคยุคใหม่ควรหาความรู้เพื่อการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ แม้จะหลีกเลี่ยงอะลูมิเนียมไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็พยายามลดปัจจัยเสี่ยงเพื่อเลี่ยงการสะสมสารพิษในร่างกาย เช่น เปลี่ยนมาใช้เครื่องครัวที่ทำจากสเตนเลสสตีลหรือกระทะเซรามิก รวมถึงเครื่องครัวที่ทำจากอะลูมิเนียม และเลี่ยงการใช้อะลูมิเนียมฟอยล์ร่วมกับอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่มีส่วนจากธรรมชาติที่ได้รับการรับรองในระดับสากล โดยเฉพาะในยุโรปที่มีมาตรฐานสูงในการการันตีสินค้าออร์แกนิกออกสู่ตลาด ก็ช่วยทำให้มั่นใจว่าใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว”  

 

ดังนั้นการเลือกใช้โรลออนที่ปลอดภัยจากความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมและโรคอัลไซเมอร์จึงควรเลือกจากผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารอะลูมิเนียมคลอโรไฮเดรต (Aluminum chlorohydrate) เป็นหลัก เพื่อความปลอดภัยต่อผิวที่มากขึ้น ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่ทำมาจากสมุนไพรธรรมชาติที่อ่อนโยนต่อผิว ปราศจากแอลกอฮอล์ น้ำหอม และน้ำมัน โดยสามารถอ่านส่วนผสมที่ฉลากผลิตภัณฑ์ประกอบการตัดสินใจ 

 

ภาพเปิด: Pichamon W. 

ภาพ: Courtesy of Neals Yard Remedies Thailand

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X