×

จีนกำหนดทิศทางเงินหยวนแข็งค่าขึ้น คลายวิตกสงครามค่าเงิน, จับตา กนง. คาดคงดอกเบี้ย ท่ามกลางท่าทีผ่อนคลายการเงินทั่วโลก: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (7 ส.ค. 2562)

โดย FINNOMENA
07.08.2019
  • LOADING...
  • ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯ เซ็นคำสั่งพิเศษอายัดสินทรัพย์ของรัฐบาลเวเนซุเอลา พร้อมสั่งห้ามการติดต่อและห้ามการส่งออกสินค้าไปยังเวเนซุเอลา ความเคลื่อนไหวดังกล่าวหนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นอีกครั้ง ประกอบกับข่าวที่ทางการอังกฤษและสหรัฐฯ ร่วมคุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมันในช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเพิ่มความตึงเครียดในคาบสมุทรอาหรับ นอกจากนี้ตลาดยังจับตาตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลต่อทิศทางราคาน้ำดิบ

 

  • จับตาการประชุมคณะกรรมการ กนง. หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) 0.25% ส่งท่าทีผ่อนคลายทางการเงินต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย ด้วยค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกดดันภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ทำให้ต้องติดตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยต่อทิศทางค่าเงินบาทหลังจากนี้

 

  • การปรับลดอัตราดอกเบี้ยกำลังมาอีกระลอก ท่ามกลางความคาดหมายว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงอัตราดอกเบี้ย ธนาคารกลางนิวซีแลนด์กำลังผ่อนคลายมาตรการทางการเงินเพื่อหนุนภาคแรงงาน ด้านธนาคารกลางอินเดียถูกคาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง 

 

  • ไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เผยเตรียมเข้าพบอุตตม รัฐมนตรีคลัง เพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนแบบใหม่เข้ามาทดแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่จะหมดอายุของสิทธิประโยชน์ด้านภาษีภายในปีนี้ โดยกองทุนแบบใหม่จะมีลักษณะเด่น 2 ข้อคือ สามารถเพิ่มวงเงินการลงทุนสูงสุดได้ 30% ของรายได้พึงประเมิน และยอดรวมไม่เกิน 250,000 บาท จากเดิมที่เคยกำหนดให้สามารถลงทุนได้สูงสุดที่ 15% ของรายได้พึงประเมิน และยอดรวมไม่เกิน 500,000 บาท เพื่อที่จะตอบโจทย์ลดความเหลื่อมล้ำ

 

  • UN รายงานว่า เกาหลีเหนือได้เจาะระบบการเงิน และขโมยเงินไปกว่า 2 พันล้านดอลลาร์จากธนาคารและระบบแลกเปลี่ยนเงินคริปโตเคอร์เรนซีสำหรับโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ รายงานยังระบุว่า ทางการสหรัฐฯ กำลังตรวจสอบการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธนาคารใหญ่ของจีน 3 แห่ง ซึ่งต้องสงสัยว่าให้ความช่วยเหลือโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ

 

ภาวะตลาดวานนี้

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น ขานรับจีนประกาศกำหนดค่าเงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 6.9683 แข็งค่ากว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ระดับ 6.9871 ส่งผลให้ค่าเงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจาก 7.0508 เป็น 7.0264 ต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกทั้ง 3 ดัชนีหลัก โดย Dow 30 เพิ่มขึ้น 1.21%, S&P 500 เพิ่มขึ้น 1.3% และ Nasdaq เพิ่มขึ้น 1.39% แต่ความต้องการสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งทองคำ ราคาขึ้นสู่ระดับ 1483.5 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ทำจุดต่ำสุดต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 1.677% บ่งชี้ถึงความกังวลของนักลงทุนว่ายังไม่คลี่คลาย

 

  • SET Index เปิดตลาดร่วงทันที ทดสอบแนวรับสำคัญในระดับจิตวิทยาที่ 1,650 จุด ก่อนกลับตัวขึ้นปิดที่ระดับ 1,671.48 จุด โดยสถาบันซื้อสุทธิ +2,471.41, รายย่อยซื้อสุทธิ +1,622.87 ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -3,415.98 ซึ่งขายต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 มูลค่ารวม -11,596.53 สอดคล้องตลาดภูมิภาค

 

ยุโรป

  • Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3291.66 ลดลง -19.27 (-0.58%)
  • DAX ปิดที่ 11567.96 ลดลง -90.55 (-0.78%)
  • FTSE 100 ปิดที่ 7171.69 ลดลง -52.16 (-0.72%)
  • FTSE MIB ปิดที่ 20631.74 ลดลง -141.56 (-0.68%)

 

เอเชีย

  • Nikkei 225 ปิดที่ 20585.31 ลดลง -134.98 (-0.65%)
  • S&P/ASX 200 ปิดที่ 6478.1 ลดลง -162.2 (-2.44%)
  • Shanghai ปิดที่ 2777.56 ลดลง -43.94 (-1.56%)
  • Hang Seng ปิดที่ 25976.24 ลดลง -175.08 (-0.67%)
  • SET ปิดที่ 1671.48 เพิ่มขึ้น 5.49 (0.33%)
  • KOSPI ปิดที่ 1917.5 ลดลง -29.48 (-1.51%)
  • BSE Sensex ปิดที่ 36976.85 เพิ่มขึ้น 277.01 (0.75%)

 

อเมริกา

  • Dow 30 ปิดที่ 26029.52 เพิ่มขึ้น 311.78 (1.21%)
  • S&P 500 ปิดที่ 2881.77 เพิ่มขึ้น 37.03 (1.3%)
  • Nasdaq ปิดที่ 7833.27 เพิ่มขึ้น 107.22 (1.39%)

 

Commodity

  • ราคาน้ำมัน Crude Oil WTI ปิดที่ 54.19 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง -0.5 (-0.91%)
  • ราคาน้ำมัน Brent Oil ปิดที่ 59.52 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง -0.29 (-0.48%)
  • ราคาทองคำ Gold ปิดที่ 1483.5 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 7 (0.47%)

 

 

 

finnomena in partnership

ภาพ: ShutterStock

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง: 

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • Markit
  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X