×

อธิบดีกรมประมงขอความร่วมมือห้ามจับปลาทูขนาดเล็ก หลังเกิดกระแสวิกฤตปลาทูไทยใกล้สูญพันธุ์

01.07.2019
  • LOADING...

หลังจากเกิดกระแสที่มีการนำเสนอข่าวในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับประเด็นปัญหาวิกฤตปลาทูไทยใกล้สูญพันธุ์จากการจับลูกปลาทูขนาดเล็กไปจำหน่าย โดยมีการขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรมประมงนำ พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 57 ที่มีข้อกำหนดว่า ‘ห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำหรือนำสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดขึ้นเรือประมง’ มาบังคับใช้

 

​ล่าสุด (1 ก.ค.) อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าวว่า พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 57 มีข้อกำหนด ‘ห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำหรือนำสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดขึ้นเรือประมง’ มิได้มีข้อยกเว้นกับจำนวนสัตว์น้ำที่นำขึ้นเรือประมงแต่ประการใด และหากได้มีการกำหนดขนาดสัตว์น้ำที่ห้ามนำขึ้นเรือแล้วก็มิได้มีข้อยกเว้นกับเรือประมงพื้นบ้านหรือเรือประมงพาณิชย์ ทั้งนี้มาตรา 57 จึงเป็นกฎหมายที่ส่งผลกระทบกับชาวประมงเป็นอย่างยิ่ง มีความเสี่ยงที่ชาวประมงจะกระทำผิดได้โดยง่าย และอาจทำให้ชาวประมงกระทำผิดโดยมิได้ตั้งใจ 

 

ดังนั้นเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูอย่างเหมาะสมจึงไม่ควรจับปลาทูในช่วงที่ยังไม่สามารถวางไข่ได้ แต่หากกำหนดขนาดปลาทูที่เล็กที่สุดของวัยแรกสืบพันธุ์ที่ 14 เซนติเมตรตามมาตรา 57 อาจทำให้ทั้งเรือประมงพาณิชย์และเรือประมงพื้นบ้านมีความเสี่ยงที่จะกระทำความผิดได้โดยง่ายเหมือนกัน 

 

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นกลุ่มประมงพื้นบ้านได้ยอมรับในขนาดของปลาทูที่ห้ามทำการประมงที่ขนาดต่ำกว่า 14 เซนติเมตร ในขณะที่ทางประมงพาณิชย์ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมโดยแจ้งว่าจะไปดำเนินการประชุมหารือร่วมกับสมาคมประมงทั้ง 22 จังหวัดชายทะเลเพื่อหาข้อยุติก่อน 

 

อธิบดีกล่าวในตอนท้ายว่าการดำเนินการตามมาตรา 57 จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและชัดเจน มีความเห็นร่วมกันทั้งประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดกับการประกอบอาชีพประมง ดังนั้นชาวประมงทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการหารือร่วมกันอีกครั้งเพื่อหาข้อยุติเหล่านี้

 

 

ภาพ: กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X