×

รายงานเผย มนุษย์กำลังคุกคามพืชและสัตว์กว่า 1 ล้านสายพันธ์ุ เสี่ยงสูญพันธ์ุในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า

07.05.2019
  • LOADING...

รายงานสหประชาชาติฉบับล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมโลกที่วิเคราะห์และอ้างอิงผลงานการศึกษาวิจัยและสำรวจมากกว่า 15,000 ชิ้น ซึ่งรวบรวมโดย Intergovernmental Science-Policy Platform on Biodiversity and Ecosystem Services (IPBES) เปิดเผยว่าปัจจุบันมนุษย์กำลังคุกคามพืชและสัตว์ราว 25% หรือกว่า 1 ล้านสายพันธ์ุในระบบนิเวศโลก เสี่ยงสูญพันธ์ุในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า

 

ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่านับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง การค้าระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 10 เท่า ในขณะที่เมืองต่างๆ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว พื้นที่ความเป็นเมืองเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่านับตั้งแต่ปี 1992

 

ในช่วงทศวรรษ 1980-2000 พื้นที่ป่าไม้โลกถูกทำลายลงกว่า 100 ล้านเฮกตาร์ (ราว 625 ล้านไร่) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการทำปศุสัตว์ในลาตินอเมริกาและการทำสวนปาล์มน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้พื้นที่ชุ่มน้ำที่เหลืออยู่บนโลกเมื่อตอนทศวรรษที่ 2000 คิดเป็นเพียง 13% ของพื้นที่ชุ่มน้ำเมื่อทศวรรษที่ 1700

 

โดยรายงานล่าสุดจาก Global Forest Watch เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ระบุว่าปี 2018 ที่ผ่านมาพบว่ามีพื้นที่ป่าไม้กว่า 12 ล้านเฮกตาร์ (ราว 120,000 ตารางกิโลเมตร) เกือบเท่าพื้นที่ของอังกฤษถูกทำลายลง หรือเทียบเท่าพื้นที่สนามฟุตบอล 30 สนามถูกทำลายในทุกๆ 1 นาที ส่งผลให้สถานการณ์ป่าไม้โลกอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วง

 

แหล่งน้ำหลายพื้นที่ทั่วโลกเริ่มมีมลพิษ ในแต่ละปีมีของเสีย โลหะหนัก และสารพิษกว่า 300-400 ล้านตันถูกปล่อยทิ้งลงแม่น้ำตามธรรมชาติ อีกทั้งปริมาณขยะพลาสติกก็เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่านับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980

 

สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ระบุว่าสิ่งมีชีวิตกว่า 1 ใน 4 กำลังใกล้สูญพันธ์ุ โดยสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า 40% พืชตระกูลสนกว่า 34% ปะการังกว่า 33% ฉลามและกระเบนกว่า 31% สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 25% และนกกว่า 14% กำลังจะสูญพันธ์ุในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้านี้ โดยสถานการณ์ภาวะโลกร้อนจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

 

ภาพ: Mauro Pimentel / AFP / Getty Images

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง:

 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X