วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2005 การเจรจาที่แสนยาวนานและสับสนเป็นเวลา 10 ปีก็ได้มาถึงจุดสูงสุด โดยพิธีสารเกียวโตได้ถูกประกาศใช้เป็นกฎหมาย ปัจจุบันประเทศอุตสาหกรรม 35 ประเทศ รวมถึงสหภาพยุโรป มีพันธะผูกมัดตามกฎหมายในการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สำหรับพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสนธิสัญญาเกี่ยวกับภูมิอากาศของโลก คือบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับเดียวของโลกที่มีเป้าหมายผูกพันคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นมันจึงเป็นเครื่องมือหลักที่รัฐบาลทั่วโลกต้องใช้เพื่อจัดการกับภาวะโลกร้อน พูดให้เฉพาะเจาะจงก็คือพิธีสารฉบับนี้บังคับให้ประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงพอประมาณคือ 5% โดยเทียบกับระดับในปี 1990 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ภายในปี 2008-2012 แต่ละประเทศต้องมีพันธะต่อเป้าหมายของตัวเอง คือสหภาพยุโรป (15 ประเทศ) ที่ 8% ญี่ปุ่นที่ 6% ฯลฯ โดยเป้าหมายของแต่ละประเทศกำหนดขึ้นจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีต
นอกจากเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศที่ผูกพันตามกฎหมายแล้ว พิธีสารเกียวโตยังครอบคลุมถึงกลไกการค้าอันหลากหลายอีกด้วย การที่ปัจจุบันพิธีสารเกียวโตเป็นกฎหมายแล้วทำให้ประเทศต่างๆ ที่กำลังเตรียมการปฏิบัติการอย่างเป็นทางการจะนำไปสู่ ‘ตลาด’ คาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการค้าเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
ในส่วนของประเทศไทยได้ลงนามรับรองพิธีสารเกียวโตเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1999 และได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2002 ในฐานะภาคีสมาชิกในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา จึงไม่มีพันธกรณีใดๆ ภายใต้พิธีสารเกียวโต ยกเว้นมาตรา 10 ซึ่งกําหนดให้ทุกภาคีร่วมรับผิดชอบดําเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามขีดความสามารถและสถานการณ์ของแต่ละประเทศด้วยความสมัครใจ และมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด แต่ไม่มีพันธกรณีที่จะต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงพันธกรณีแรก (2008-2012) เหมือนกับประเทศในภาคผนวกที่ 1
อ้างอิง: greenpeace.org