ช่วงเวลานี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของแวดวงวิทยาศาสตร์โลก นอกจากมวลมนุษยชาติจะได้เห็นภาพหลุมดำเป็นครั้งแรกในโลกแล้ว ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดียังเปิดเผยว่า ได้มีการค้นพบมนุษย์สปีชีส์ใหม่บริเวณ Callao Cave ทางตอนเหนือของเกาะลูซอนในฟิลิปปินส์ โดยได้รับการตั้งชื่อว่า ‘Homo luzonensis’
โดยชิ้นส่วนโครงกระดูกที่พบประกอบไปด้วยฟัน กระดูกมือ กระดูกนิ้วเท้า รวมถึงกระดูกโคนขา ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นผู้ใหญ่และเด็กอย่างน้อย 3 คน ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับโครงกระดูกบรรพบุรุษของมนุษย์ในยุคโบราณผสมผสานกับมนุษย์ยุคปัจจุบัน คาดมีชีวิตอยู่ในช่วง 67,000-50,000 ปีที่แล้ว
หนึ่งในมนุษย์สกุล Homo ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันและในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันคือ Homo floresiensis ที่มีโครงสร้างร่างกายขนาดเล็กหรือเรียกว่า ‘ฮอบบิต (Hobbit)’ ที่อาศัยอยู่บนเกาะฟลอเรสของอินโดนีเซียจนถึงราว 50,000 ปีที่แล้ว
นอกจากนี้ หลักฐานต่างๆ ที่พบ ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์สปีชีส์ Homo luzonensis อาจเกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษมนุษย์ที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา บ้างก็มีลักษณะคล้ายมนุษย์ยุคปัจจุบัน บ้างก็มีลักษณะคล้าย Australopithecines ที่เดินลำตัวตั้งตรงและมีชีวิตอยู่ราว 4-2 ล้านปีที่แล้ว
พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล
อ้างอิง:
- www.bbc.com/news/science-environment-47873072?ns_mchannel=social&ns_source=facebook&ns_campaign=bbcnews&ocid=socialflow_facebook&fbclid=IwAR2_J5kjaSyJbOfTA8xRObrAwb6BYnw3XeYSLLvbG0YdnNLYoT1_U3Giy3M&fbclid=IwAR1JuMYAecWaIiVxZDAm8FLnNCf6fn-Ty4pZPABbzxjaU9UGbNgyvbuAEHU
- www.theguardian.com/science/2019/apr/10/new-species-of-ancient-human-homo-luzonensis-discovered-in-philippines-cave
- www.nationalgeographic.com/science/2019/04/new-species-ancient-human-discovered-luzon-philippines-homo-luzonensis/