“จริงๆ แล้วความละเมียดไม่ใช่เพียงปรัชญาการทำงานของช้าง ที่หมายถึงความละเมียด ความประณีต ในการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ต่างๆ สู่ผู้บริโภค แต่ความละเมียดเป็นเหมือนดีเอ็นเอที่อยู่ในตัวคนไทยทุกคนอยู่แล้ว ช้างเพียงแค่ปลุกเอาความละเมียด ซึ่งเป็นดีเอ็นเอไทยให้กลับคืนมาอีกครั้ง”
โฆษิต สุขสิงห์ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเบียร์ประเทศไทย ให้คำนิยามถึงปรัชญาการทำงานของแบรนด์ช้าง ซึ่งดีเอ็นเอความ ‘ละเมียด’ นี่เองที่กลายเป็นสารตั้งต้นการทำงานที่ช้าง อีกทั้งความละเมียดยังถูกส่งต่อไปสู่ประสบการณ์ใหม่ที่ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา อาหาร และไลฟ์สไตล์ รวมทั้งการส่งต่อมิตรภาพ และส่งความสุขสู่คนรอบข้างผ่านประสบการณ์ใหม่แบบฉบับของช้าง
ประสบการณ์สานมิตรภาพ
ประสบการณ์ใหม่แบบฉบับช้าง ถูกส่งผ่าน Experiential Platform ที่ไม่ใช่เพียงเรื่องของเครื่องดื่ม และอาหารภายใต้ชื่อ Chang Sensory Trails และถ้าไม่นับแพลตฟอร์มด้านกีฬาชื่อ Chang Football Moments ที่ทางช้างสนับสนุนมาตลอด ดนตรีคืออีกประสบการณ์ที่ช้างเดินหน้าลุยอย่างสุดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Chang Music Connection ซึ่งจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 5 ทว่าในปลายปีนี้กลับพิเศษยิ่งกว่าด้วยคอนเซปต์ใหม่ของ Chang Music Connection Musictropolis ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน คือสองความสนุกของคอนเสิร์ตใหญ่โดยศิลปินชั้นนำของเมืองไทย จะเกิดขึ้นพร้อมกันสองจังหวัดในวันเดียวกัน เพื่อให้ผู้คนในทั้งสองจังหวัด ได้เชื่อมต่อความสุขพร้อมกันผ่านประสบการณ์ดนตรีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่นที่โฆษิตได้กล่าวไว้
“ด้วยความที่ความละเมียดคือปรัชญาการทำงานของช้าง ดังนั้นในเรื่อง Experiential Platform เราก็ต้องมองด้วยความละเมียดด้วยเช่นกันว่า ทำอย่างไรถึงจะส่งต่อความสุขผ่านประสบการณ์ที่แปลกใหม่ไปให้ผู้บริโภค อย่างงานดนตรีก็ไม่ใช่มาฟังดนตรีและจบ เช่นในงาน Chang Carnival Presents The Green World เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีแต่ดนตรี แต่เรายังมองไปถึงว่าคนที่มาฟังดนตรีเขาจะได้ประสบการณ์พิเศษกับเพื่อนๆ อย่างไรบ้าง
“งาน Chang Carnival Presents The Green World ก็เป็นอีกหนึ่งงานที่สร้างความภาคภูมิใจในเรื่องการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ โดยงานนี้ถือว่ามีความโดดเด่นอย่างมาก เพราะเป็นการเอาสิ่งที่ผู้บริโภคสนใจหรือที่สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการมาสร้างเป็นเฟสติวัลนี้ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำดีเจระดับโลกกว่า 20 ชีวิตเข้ามาสร้างความสนุกให้กับคนไทย หรือการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อป ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามจังหวัดต่างๆ เพราะผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ก็มีความสนใจ และไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการนำเอาความเป็นโชว์เข้ามาผสมผสาน จึงถือได้ว่างานนี้เป็นไลฟ์สไตล์เฟสติวัลอย่างแท้จริง ในรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร
“เรามองว่าปัจจุบันนี้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ใกล้ชิดมากขึ้น ทำให้เข้าใจความต้องการของผู้บริโภคได้ชัดเจน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าผู้บริโภคต้องการความแปลกใหม่และหลากหลาย ในขณะเดียวกันเราก็ยังคงคำนึงถึงปัจจัยเรื่องภาพลักษณ์และคุณภาพ เหล่านี้เป็นจุดที่ธุรกิจของเราพัฒนามาโดยตลอด ซึ่งก็อยู่ในปรัชญาความละเมียดของเรา อย่างที่บอกว่าความละเมียดไม่ใช่แค่การพัฒนาที่ตัวผลิตภัณฑ์แต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นทุกๆ องค์ประกอบรวมทั้งประสบการณ์ที่ผู้บริโภคได้รับไปจากแบรนด์”
ที่สุดแห่งงานเฉลิมฉลอง ‘Federbräu Red Feather Club’
Federbräu Red Feather Club ปีนี้ มีความพิเศษคือ ปีนี้เป็นปีที่ฉลองครบรอบ 100 ปี สถาบันศิลปะและการออกแบบอันเก่าแก่จากประเทศเยอรมัน เบาเฮาส์ (Bauhaus) ประกอบกับการที่เราเป็นหนึ่งในสปอนเซอร์ของงาน Bangkok Art Biennale เราจึงนำแรงบันดาลใจนี้มาสร้างสรรค์ประสบการณ์สุดพรีเมียมผ่านกิจกรรม Federbräu Red Feather Club ณ ลานเซ็นทรัลเวิลด์ (ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561) และลานหน้าอาคารสาทร สแควร์ (ระหว่างวันที่ 17-28 ธันวาคม 2561)
ในงานนอกจากจะมีประสบการณ์ดนตรีที่ไม่ซ้ำใครแล้ว ยังมีการเปิดตัวเบียร์ เฟเดอร์บรอย ไวส์เบียร์ (Federbräu Weiss Bier) ไวส์เบียร์แบบคลาสสิกของเยอรมัน ซึ่งจะเสิร์ฟเฉพาะในงานอีเวนต์ของเฟเดอร์บรอยเท่านั้น
จะเห็นได้ว่าจากปรัชญาความละเมียดสู่ Experiential Platform ที่ช้างเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในทุกรายละเอียดของทุกไลฟ์สไตล์ ส่งผลให้จากผลสำรวจของ IPSOS ‘ช้าง’ ไทยเชือกนี้ยังคงเป็นแบรนด์ที่ครองความเป็นอันดับหนึ่งในใจผู้บริโภค (Top of Mind) ถึง 3 ปีซ้อน อีกทั้ง เพจช้างเวิลด์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ Best Brand Performance กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากเวที Thailand Zocial Awards 2018 โดยปัจจุบันเพจช้างเวิลด์มีแฟนเพจมีผู้ติดตามมากถึง 1,495,415 คน
แน่นอนว่าความสำเร็จนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากช้างไม่ได้ปลุกจิตวิญญาณความละเมียดให้เกิดขึ้น ก่อนที่จะเปลี่ยนความละเมียดเป็นประสบการณ์แห่งความสุขที่ส่งผ่านทุกไลฟ์สไตล์ในแบบฉบับช้าง
พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์