×

ร่วมพัฒนาสตาร์ทอัพไทยด้วยมุมมองและแนวคิดระดับโลกจาก AIS และ MIT [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
17.07.2018
  • LOADING...

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วงการสตาร์ทอัพไทยเติบโตขึ้นอย่างมาก หลายหน่วยงานให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ล่าสุด AIS ได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง MIT เพื่อการพัฒนาอีกขั้นของเทคโนโลยีไทย   ทั้งนี้เรามาฟังบทสัมภาษณ์ของ ดร.ศรีหทัย พราหมณี  หรือ (ดร.ออน) Head of AIS The StartUp  โดย ดร.ออนจะมาแบ่งปันประสบการณ์ กับสิ่งที่ได้รับจากการไปสัมผัสที่ MIT

 

จุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่าง AIS กับ MIT

จุดเริ่มต้นมาจากหน่วยงาน AIS Academy ที่คอยดูแลในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพศักยภาพของพนักงานให้มีความสามารถทั้งทักษะในเรื่องนวัตกรรม ทักษะในการทำงาน มุมมองที่มากกว่าแค่ในประเทศไทย AIS Academy ได้ลงนาม MOU กับ MIT ที่จะส่งเสริมให้พนักงาน AIS ได้ไปสร้างศักยภาพเกี่ยวกับเรื่องของนวัตกรรมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านนวัตกรรมของโลก มันเริ่มต้นตรงนี้ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงเดินทางไปที่ MIT

 

 

ในการลงนามครั้งนี้ นอกเหนือจากประโยชน์กับกลุ่มพนักงาน AIS เองแล้วยังได้ประโยชน์กับกลุ่มใดอีกบ้าง

นอกจากพนักงาน AIS ก็คือ AIS The StartUp Portfolio ในมุมของความเป็นธุรกิจ สตาร์ทอัพของเราไม่ใช่แค่พันธมิตรทางธุรกิจ แต่พวกเขาเป็นเหมือนครอบครัวเดียวกันกับ AIS ซึ่งเราก็ไม่ได้อยากแค่ทำธุรกิจกับเขาอย่างเดียว แต่เราเองอยากที่จะนำประโยชน์ในเรื่องของการสร้างศักยภาพในตัวคนไปให้กับกลุ่ม AIS The StartUp Portfolio ด้วย ดังนั้นประโยชน์ของ MOU ทางผู้บริหารก็มองเห็นว่าเราควรขยายโอกาสไปให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพด้วย ให้เขาได้มีโอกาสไปเรียนรู้ว่าอีกซีกหนึ่งของโลกเป็นอย่างไร เมื่อเขาได้มีโอกาสได้เรียนรู้ มันไม่พัฒนาแค่ตัวเขา แต่เขาสามารถนำกลับมาถ่ายทอดสู่สตาร์ทอัพรุ่นน้อง มันก็จะเป็นเหมือนการส่งต่อให้รุ่นต่อไปมีความรู้มากขึ้น

 

 

การส่งต่อความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องของสตาร์ทอัพไทย

สำหรับประเทศไทย AIS อยู่ในวงการสตาร์ทอัพตั้งแต่สมัยที่ยังไม่เกิดความแพร่หลายมากนัก แต่พอมีจุดกระตุ้นขึ้นมาในช่วงเวลาที่เหมาะสม มันก็กลายเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนพูดถึง พี่เชื่อว่ามีรุ่นพี่สตาร์ทอัพหลายคนเคยมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนแนวคิดกับรุ่นน้องสตาร์ทอัพหรือกับมหาวิทยาลัย และเห็นความสำคัญของการสร้างทักษะผู้ประกอบการให้กับคนรุ่นใหม่ ฉะนั้นไม่ว่าเราจะเป็นบริษัทเอกชนหรือสื่อต่างๆ เราควรเป็นพี่ใหญ่ที่ส่งเสริมให้สตาร์ทอัพส่งต่อความรู้รุ่นต่อรุ่น นี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลของการเลือกสตาร์ทอัพอย่าง QueQ และ Dreamaker ไปที่ MIT กับเรา เพราะสองเจ้านี้อยู่ในโครงการ AIS The StartUp ตั้งแต่ปี 2015 จนวันนี้ธุรกิจได้เติบโตและพร้อมที่จะร่วมเป็น AIS The StartUp Committee ที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับรุ่นน้องที่จะมาร่วมเป็นครอบครัว AIS ด้วยกัน

 

 

อยากให้เล่าถึงความโดดเด่นที่ได้ในการไปร่วมงานครั้งนี้

ความโดดเด่นที่เห็นชัดคือเรื่องของนวัตกรรมและการทำงานร่วมกันภายในให้เกิดประสิทธิภาพ MIT นำนวัตกรรมหลากหลายรูปแบบมาให้ดู เช่น Deep Data โดยในปี 2022 สิ่งที่เขาคาดหวังคือข้อมูลในโลกนี้จะเพิ่มขึ้น 93% หมายความว่าเราจะมีแหล่งข้อมูลที่จะเอามาแปลงเป็นข้อมูลวิเคราะห์เพื่อที่จะพัฒนาสิ่งอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้นอีกถึง 93% อีกข้อหนึ่งคือในเรื่องของ Hard Tech หรือที่เรียกว่าเทคโนโลยีเชิงลึกในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ในกลุ่มเคมิคัล, พลังงาน, ชีววิทยา หรืออิเล็กทรอนิกส์ MIT แสดงให้เราเห็นว่าในโลกอนาคตอีก 5-10 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีเหล่านี้จะสามารถสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างไร และส่งผลอะไรให้กับการดำรงชีวิตของพวกเรา อีกเรื่องที่ MIT นำมาแสดงคือเรื่องของ Advanced Manufacturing เมื่อเทคโนโลยีอื่นพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว กลุ่มการทำงานของโรงงานก็ต้องมีการปรับตัวด้วยเช่นกัน และเทคโนโลยีอะไรล่ะที่จะต้องมารองรับในการปรับตัว ทุกวันนี้เราพูดถึง 3D Printer แต่ในอนาคตมันคือ 3D Printer จริงๆ หรือเปล่า หรือมันอาจจะต้องเป็น 3D Printer ที่แอดวานซ์ขึ้น

 

จุดเด่นข้อที่สองของ MIT คือ Internal Ecosystem ของ MIT ซึ่ง MIT ที่เรารู้จักคือมหาวิทยาลัย แต่ในมหาวิทยาลัยของเขาสามารถสร้าง Internal Ecosystem ได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยวิธีการแบ่งว่าแต่ละส่วนใครดูแล และมีฟังก์ชันการทำงานแบบไหน และแต่ละฟังก์ชันสามารถไขว้กันได้อย่างไร ซึ่งข้อนี้เป็นจุดสำคัญมากที่จะผลักดันให้เกิด Ecosystem และสตาร์ทอัพภายในองค์กรได้จริง

 

พอได้ไปเห็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ แล้ว เราถือว่า MIT คือระดับโลก ความแตกต่างของเทคโนโลยีระหว่างไทยกับ MIT มันห่างไกลกันมากไหม

มันก็จะมีช่องว่างอยู่ระดับหนึ่ง แต่พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าเมืองไทยจะตามไม่ทัน เนื่องจากว่าเขาเริ่มต้นก่อนเรา ทำให้เขามีเวลาเรียนรู้และสะสมประสบการณ์ได้ก่อนเรา และเรื่องของ Ecosystem ในมหาวิทยาลัยที่เขาอาจจะพร้อมมากกว่าเรา หากว่าเราเปิดโลกทัศน์และเปิดมุมมอง ดูว่าเขาทำอย่างไร แล้วลองมาปรับใช้กับเราให้เหมาะสมกับสภาพเมืองไทย มันก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เมืองไทยสามารถก้าวได้เร็วขึ้น ทำให้ช่องว่างของความแตกต่างเล็กลง

 

ถ้าเราสามารถเพิ่มความรู้ให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพบ้านเรา ยังมีส่วนไหนที่เรารู้สึกว่าควรต้องเพิ่มเติมและได้รับการสนับสนุนไปกับกลุ่มนี้บ้าง

อันดับแรกเลยคือการสร้าง Global Mindset ที่แข็งแรง สตาร์ทอัพบ้านเราเก่งและเข้าใจปัญหาในเมืองไทยได้ดี ตอนนี้สิ่งที่เราควรจะช่วยขับเคลื่อนกันมากขึ้นคือการทำให้สตาร์ทอัพได้สร้างประสบการณ์นอกจากประเทศไทยมากขึ้นเพื่อเรียนรู้ว่าจะขยับขยายในเชิงธุรกิจนอกเมืองไทยอย่างไรได้บ้าง กับอีกข้อหนึ่งคือมองในมุมของเทคโนโลยี สตาร์ทอัพบ้านเราส่วนใหญ่จะมองในเรื่องของซอฟต์แวร์ แต่ MIT จะมองในเชิงเทคโนโลยี เราอาจจะต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเราถนัดแบบไหน แล้วก็ผลักดันไปในจุดที่เราถนัด

 

การที่เราไปร่วมมือ เราเห็นว่า MIT โดดเด่นเรื่องการสนับสนุนเทคโนโลยีต่างๆ ทาง AIS วางโพสิชันตัวเองกับเรื่องนี้อย่างไรบ้างในการที่จะซัพพอร์ตกลุ่มนี้

ทาง AIS เป็นบริษัทเทคโนโลยี แน่นอนว่าเราย่อมเปิดโอกาสให้กับบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ได้เข้ามาใช้เทคโนโลยีของ AIS ดังนั้นตั้งแต่ปีที่แล้วเราสร้าง Open Innovation ให้สตาร์ทอัพได้เข้ามาใน Telecom Technology เช่น การสร้าง Open AIS API (Application Programming Interface) สมัยก่อนการที่จะเชื่อมต่ออะไรในโครงสร้างพื้นฐานของโทรคมนาคมนั้นยากมาก ต้องนัดประชุมแล้วนัดประชุมเล่า ทำเอกสารก่อน แต่ตอนนี้ทุกอย่างสามารถดาวน์โหลดออนไลน์ได้ผ่านเว็บไซต์ AIS The StartUp (www.ais.co.th/thestartup) พอดาวน์โหลดแล้วสตาร์ทอัพสามารถเอาไปลองเล่นแล้วก็ลองใช้ได้เลยเพื่อสร้างโปรโตไทป์เบื้องต้น ซึ่งจากสถิติล่าสุด API ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจะเป็นในเรื่องของ IoT (Internet of Things), Smart Intelligent

 

 

การทำงานของ ILP The Engine และ Martin ของ MIT เป็นอย่างไรบ้าง

ILP คือโปรแกรมที่ MIT ทำงานร่วมกับองค์กรเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่าง Academic Research มาเป็น Corporate Innovation ส่วนในเรื่องของ The Engine ตื่นตาตื่นใจมากเลย เขากลับวางตัวเองว่าเป็น Home of Tough Tech ซึ่งเป็นศัพท์ใหม่ที่พี่ได้ยินในการไป MIT ครั้งนี้ ซึ่งมันเป็นอีกขั้นของ Hard Tech มากไปกว่านั้น The Engine ไม่ใช่แค่หน่วยงานใน MIT แต่เขาแยกมาตั้งอยู่นอก MIT ให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างห้องแล็บของทั้ง MIT กับฮาร์วาร์ด
 

 

ส่วน Martin Trust Center for MIT Entrepreneurship เป็นเหมือนหน่วยงานที่สอนให้นักเรียนมีทักษะผู้ประกอบการ ซึ่งหมายความว่าในอนาคตไม่ว่าคุณจะทำงานในลักษณะไหน คุณก็ควรมีทักษะผู้ประกอบการเป็นพื้นฐาน เพราะฉะนั้น MIT Entrepreneurship Skill จึงมีอยู่ในทุกคณะเพื่อให้นักเรียนทุกคนมีทักษะนี้เพื่อใช้ในการประกอบวิชาชีพได้ในอนาคต  

 

สิ่งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจของ AIS ในการให้ความรู้และพัฒนาหรือเปล่า

ใช่ค่ะ เราคือผู้ให้บริการเครือข่าย เทคโนโลยี และดิจิทัล ซึ่งดิจิทัลมันคือเรื่องของเทคโนโลยีที่จะส่งเสริมให้ชีวิตลูกค้าเราดีขึ้น โดยเราไม่สามารถทำคนเดียวได้ทุกอย่าง พอเราพูดถึงโลกดิจิทัล มันไม่ใช่การใช้สิ่งเดียวเพื่อการทำงานทุกประเภท แล้วยิ่งเราส่งเสริมให้คนมีศักยภาพมากขึ้นเท่าไร มันก็จะยิ่งขับเคลื่อนประเทศไทยไปได้ไกลเท่านั้น AIS ไม่สามารถเดินลำพังคนเดียวได้ หากคนอื่นหรือเพื่อนๆ ยังอยู่ข้างหลังอยู่ เราต้องก้าวไปพร้อมๆ กัน

 

โครงสร้างที่จะพัฒนา Ecosystem ให้แข็งแกร่งคือเราต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กันใช่ไหม

ใช่ค่ะ คือพี่มองว่าเราไม่ได้เก่งทุกอย่าง หลายๆ อย่างที่พี่ทำแล้วประสบความสำเร็จเพราะพี่มีสตาร์ทอัพที่ดีที่ให้คำแนะนำ มีทีมงานที่ดี และมีทีมผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ สามารถให้คำแนะนำในเรื่องที่เราไม่มีประสบการณ์มาก่อน เช่นเดียวกับการขับเคลื่อนประเทศ เรามีจุดยืนในการขับเคลื่อน แต่เราไม่สามารถสร้างได้ทุกเทคโนโลยี ถ้าเราอยากที่จะให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้น เราก็ต้องหาเทคโนโลยีดีๆ มาให้เขา เทคโนโลยีที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นเอง เทคโนโลยีเกิดจากคน ฉะนั้นการสรรหาเทคโนโลยีที่ดีก็ต้องเริ่มจากการสร้างคน

 

จากคำพูดที่ว่าสตาร์ทอัพมันล้นตลาด มองเรื่องนี้อย่างไร

ก่อนอื่นเราต้องแยกให้ออกว่าเราเข้าใจคำว่าสตาร์ทอัพกันมากน้อยแค่ไหน คำว่าสตาร์ทอัพล้นตลาด สิ่งนั้นคือสตาร์ทอัพจริงๆ หรือเปล่า หรือเป็นแค่การนำคำศัพท์สตาร์ทอัพมาใช้ สตาร์ทอัพเป็นกลุ่มผู้ประกอบการใหม่ที่แกนหลักของเขาคือการมองเห็นช่องว่างในตลาดและปัญหาของผู้ใช้ เขาจึงอยากทำอะไรเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาส่วนนั้น


หัวใจหลักของสตาร์ทอัพคือความเร็วและสเกล จึงมีคำศัพท์ว่า Growth Hack เราจะสังเกตได้ว่าสตาร์ทอัพชอบทำอะไรที่อาจไม่ถูกใจหลายๆ คน เพราะเขายึดหลักความเร็วเพื่อที่จะครองตลาด นอกจากความเร็วจะต้องมีคำว่าสเกลควบคู่กันไป ซึ่งการยกโมเดลจากตลาดแรกไปยังตลาดสองได้อย่างรวดเร็วนั้นต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ฉะนั้นสตาร์ทอัพหลายตัวจึงถูกเรียกว่า Tech Startup เพราะสร้างเทคโนโลยี แล้วพอเขานำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหา จึงมาสร้างโมเดลธุรกิจรอบๆ การแก้ปัญหาเหล่านั้น


แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นมันไม่ได้ถูกหรือผิดว่าคุณจะเป็นหรือไม่เป็นสตาร์ทอัพ เพราะถ้าทุกคนเป็นสตาร์ทอัพหมด ประเทศไทยก็จะไม่ไปไหน ไม่ว่าคุณจะเป็นสตาร์ทอัพ, Tech SMEs, ลูกจ้าง หรือผู้บริโภคทั่วไป ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกลุ่มคนเหล่านี้คละกันไป มันคือความหลากหลาย และความแตกต่างนี่ล่ะที่จะสร้างความสมดุล บางคนอาจจะมองว่าการเป็นสตาร์ทอัพนั้นเท่ แต่จริงๆ แล้วถ้าบ้านมีแต่สตาร์ทอัพอย่างเดียว สตาร์ทอัพก็จะอยู่ไม่รอด เพราะจะไม่มีใครทำงานให้ และจะไม่มีพาร์ตเนอร์อื่นๆ ร่วมสร้างธุรกิจไปด้วยกัน

 

วัฒนธรรมหรือการสนับสนุนในบ้านเราเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ถ้าเทียบกับในอดีต พี่คิดว่ารุ่นใหม่โชคดีกว่ารุ่นเก่าเยอะ ในรุ่นเก่าต้องไปหาข้อมูลจากเว็บต่างประเทศ ต้องลองเอง ขาดทุนเอง แต่รุ่นใหม่มีทั้งตัวอย่างที่ดีและไม่ดีให้ได้ศึกษา อีกทั้งองค์กรต่างๆ ยังมีความเข้าใจในการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากขึ้น แต่เราก็ไม่ควรเทียบตัวเรากับประเทศอื่นๆ จนเกินไป เช่น ซิลิคอนแวลลีย์ ซึ่งเขาเริ่มต้นมาก่อนเราหลายปี เรามองดูเขาเป็นตัวอย่างเพื่อการศึกษา แต่อย่าไปมองเพื่อสะท้อนว่าเราด้อยกว่าเขา จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของระยะเวลาที่แตกต่างกัน

 

หัวใจสำคัญในการพัฒนาสตาร์ทอัพหรือเทคโนโลยีคืออะไร

หัวใจสำคัญคือใจ ทำงานให้มีหลายใจ ได้แก่ จริงใจ เข้าใจ ใส่ใจ


อันดับแรก คุณต้องมีความจริงใจกับมัน คือไม่ใช่ทำเพื่อความสนุกเท่านั้น แต่ต้องหลงรักกับสิ่งที่จะทำ หลังจากจริงใจ ถ้าจะทำเพื่อให้อยู่รอด คุณต้องมีความเข้าใจมัน เข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไร ท้ายที่สุดต้องใส่ใจทั้งกับสิ่งที่คุณทำและใส่ใจกับลูกค้าของคุณ แล้วสุดท้ายคุณจะได้ใจของลูกค้ากลับมา


นอกจากมุมมองจาก AIS แล้วยังมีตัวแทนสตาร์ทอัพในไทย Dreamaker และ QueQ ที่ได้มีโอกาสไปสัมผัสประสบการณ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

ประสบการณ์ร่วมงานคอนเฟอเรนซ์ระดับโลกของ เอกสิทธิ์ เดี่ยววณิชย์ จาก Dreamaker

ในครั้งนี้ผมได้พบกับ 25 บริษัทที่ได้เข้าโปรแกรม MIT STEX25 ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาสินค้าขึ้นมาจากเทคโนโลยีชั้นสูง (Tough Tech) ทางด้าน Data, Hard Tech, Advanced Manufacturing and AI โดยนำสินค้าที่สร้างขึ้นไปใช้กับงานในสาขาต่างๆ เช่น สาขาการเกษตร (Agriculture Tech) และเทคโนโลยีชีวภาพ (BioTech) บริษัททั้ง 25 แห่งมาพิทชิงในงานนี้เพื่อหาพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจและหาผู้ลงทุนในรอบซีรีส์ B ขึ้นไป ในงานผมมีโอกาสได้พบกับบริษัทหนึ่งที่พัฒนาเทคโนโลยี BioTech สาขาการเกษตร คือผลิตปุ๋ยที่ใส่ลงในดินคราวเดียว และปุ๋ยจะค่อยๆ กระจายออกมา ใช้เวลาเป็นเดือน บริษัทนี้ต้องการขยายตลาดในเอเชีย จึงมองหาพาร์ตเนอร์และเงินลงทุนค่อนข้างสูง ผมจึงได้ติดต่อพูดคุยกับบริษัทดังกล่าวเพื่อหาพาร์ตเนอร์ที่เหมาะสมในประเทศไทยที่มีศักยภาพทั้งด้านขนาดของตลาดและด้านเงินลงทุน

 

นอกจากนี้ยังได้พบกับ ทอม เลห์ตัน ซึ่งเป็น CEO & Co-founder ของ Akamai ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดประมาณ 12.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยทอมได้เล่าถึงความเป็นมาของบริษัทและปิดท้ายด้วยการเล่าถึงโครงการของ Akamai ที่มองหาการเป็นพาร์ตเนอร์และการลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีธุรกิจส่งเสริมกับกิจการของ Akamai ซึ่งจุดนี้เองทำให้ผมประทับใจว่าบริษัทขนาดใหญ่ในระดับนี้ยังคงมองหาการลงทุนในสตาร์ทอัพอย่างไม่หยุดนิ่ง และเริ่มลงทุนกับสตาร์ทอัพตั้งแต่ยังมีขนาดเล็ก ทำให้ได้เห็นภาพในระดับกว้างของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี

 

สำหรับมุมมองจาก โจ้-รังสรรค์ พรมประสิทธิ์ ถ้าเปรียบเทียบกับเมืองไทย พวก Hard Tech, Deep Tech and Tough Tech จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตามความเห็นผมนะครับ ตอนแรกในมุมมองของทางรัฐบาลที่จะผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพออกมาจากรั้วมหาวิทยาลัยเยอะๆ ตอนแรกก็คิดว่ามันค่อนข้างเป็นไปได้ยาก แต่พอมาพบกับ MIT ที่เขาผลิตสตาร์ทอัพที่ออกมาจากรั้วมหาวิทยาลัยจริงๆ แล้วก็ไปทำเทคโนโลยีจำพวก Deep Tech และเทคโนโลยีลึกๆ ที่ไม่ใช่แค่ธุรกิจอย่างเดียว ซึ่งเขามีแนวคิด เพียงแต่ของไทยต้องเปลี่ยนมุมมอง ต้องเปลี่ยนวิธีคิด รวมไปถึงการเปลี่ยนโครงสร้างหลักสูตร แล้วก็พยายามปรับเปลี่ยนหลักสูตรปัจจุบันของมหาวิทยาลัยอาจจะล้าสมัยไปแล้ว จริงๆ ควร Disrupt ตัวเอง ซึ่งผมยังไม่เห็นอะไรเหล่านี้ในเมืองไทย แต่ที่ MIT เขาเข้าใจว่าจริงๆ แล้วเนื้อหาเป็นสิ่งที่อยู่ในตำราเฉยๆ จริงๆ เด็กที่เข้ามาเหมือนมาทำบริษัทสตาร์ทอัพเองเลย ซึ่งยังไม่ทันจบจากรั้วมหาวิทยาลัยเลย กำลังสร้างบริษัทสตาร์ทอัพและมีทุนซัพพอร์ตให้มีแรงฉุดที่ไปทำการทดลองจริงๆ ไปออกตลาดจริงๆ รวมถึงไปจับคู่กับองค์กรจริงๆ ซึ่งเกิดขึ้นมาแล้ว เขาไม่ได้มองภาพว่าเด็กพวกนี้คือเด็กที่ต้องมาเรียนหนังสือตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยวางไว้ เขามองว่าพวกนี้เข้ามาสร้างบริษัท เพราะฉะนั้นแนวคิดจึงปรับเปลี่ยนเลยทันที โดยเขาจะให้เด็กพวกนี้จับคู่กับศาสตราจารย์และจับคู่กับงานวิจัยอะไรที่สามารถเอามาประยุกต์ได้ และสามารถปรับเข้าได้กับโลกธุรกิจที่สามารถเกิดธุรกิจได้จริงๆ แบบนี้เป็นต้น ซึ่งในเมืองไทยยังเห็นตัวนี้น้อยมากๆ ซึ่งเราก็รู้กันอยู่แล้วว่างานวิจัยส่วนใหญ่ของไทยก็จะทำโดยศาสตราจารย์หรือคนที่จบเมืองนอกกลับมาเพื่อทำงานวิจัยด้วย มาเป็นศาสตราจารย์ด้วย ก็ถูกแขวนอยู่บนหิ้งอยู่เฉยๆ ทำไมไม่ให้นักศึกษารุ่นใหม่ๆ ที่เขาสามารถวางแผนโลกของการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพวกนี้กับโลกธุรกิจจริงๆ โดยการจับมือกันและสร้างให้เป็นธุรกิจได้จริงๆ ขึ้นมา ซึ่งแนวคิดแบบนี้ถ้ามันถูกสร้างและถูกปรับปรุงโดยมหาวิทยาลัย ผมว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ที่เราจะสามารถผลิตบริษัทสตาร์ทอัพและบัณฑิตที่จบมาพร้อมกับบริษัทสตาร์ทอัพของตัวเองได้จากรั้วมหาวิทยาลัยเหมือนกับที่อเมริกาทำ แล้วก็หลายๆ คนในเมืองไทยยังมีคำถามกับเรื่องนี้อยู่ว่าเราถูกข้อจำกัดหลายๆ อย่างด้วยเหมือนกัน ผมมองว่าถ้า AIS หรือบริษัทใหญ่ๆ ให้การสนับสนุนในการวางแผน มันเป็นไปได้ด้วยว่าเทคโนโลยีบางอย่างที่ไทยสามารถทำได้ดีกว่าที่อเมริกา หรือเทคโนโลยีบางอย่างที่มันจำเพาะหรือเราสามารถต่อยอดได้ การเชื่อมเข้าด้วยกันแล้วเอางานวิจัยไขว้กันไปมา เช่น ร่วมมือกับ MIT และมหาวิทยาลัยที่ไทยก็น่าจะแลกเปลี่ยนความรู้และทำวิจัยร่วมกัน ข้อดีคือตลาดของเราไม่ถูกเจาะจงแค่ประเทศไทย ตลาดของเราจะสามารถวิ่งไปอเมริกา มันก็จะสามารถวิ่งไปทั้งโลกได้ อันนี้อาจจะเป็นจุดที่ได้ประโยชน์ถ้าเราสามารถวางแผนกับ MIT หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ผลิตสตาร์ทอัพเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นที่อเมริกาหรือที่ภูมิภาคอื่นๆ ได้

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X