‘เหนื่อยล้า กดดัน หมดพลัง’ ปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับคนยุคนี้โดยเฉพาะกับเหล่า New Gen ที่ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความกดดันและคาดหวังของสังคม ต้องเติบโตบนโลกที่เต็มไปด้วยอุปสรรคที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้คน New Gen รู้สึกว่าตัวเองยังไม่เก่งพอ และจะทำไม่ได้ตามที่ตัวเองและโลกคาดหวัง แม้หัวใจพวกเขาจะเต็มเปี่ยมไปด้วยการอยากเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นก็ตาม
จากผลสำรวจอินไซต์ผู้บริโภคปี 2025-2026 เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ของ WGSN พบว่า ปี 2025 ลูกค้าจะรู้สึกเหนื่อยล้า ต้องการกำลังใจ คำถามคือแล้วแบรนด์จะรับมืออย่างไร?
หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจคือ สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจากแบรนด์คือการสื่อสารที่โปร่งใสและจริงใจ และหวังเพียงว่าแบรนด์จะทำหน้าที่เป็นผู้ซัพพอร์ตความรู้สึกแทนที่จะควบคุมความคิด
หนึ่งในแบรนด์ที่ทำหน้าที่นี้ได้อย่างดีคือ ‘Double A’ กับแคมเปญ ‘วันดี ๆ กับกระดาษดี ๆ’
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแบรนด์เข้าใจว่าการเชื่อมโยงแบรนด์เข้ากับความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่แค่เทรนด์แต่เป็นสิ่งที่แบรนด์ควรทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้พวกเขาเห็นว่าแบรนด์มีความเชื่อเดียวกัน และพวกเขาสามารถมีส่วนร่วมกับแบรนด์ผ่านประสบการณ์ดีๆ สุดท้ายคือแบรนด์ได้สร้างอิมแพ็กต์ที่ดีต่ออนาคตของพวกเขา
“เราจะคอยส่งพลังใจ ชื่นชมในความพยายาม และทำให้เขารู้ว่าพวกเขามีคุณค่าในตัวเอง” นี่คือสารตั้งต้นที่แสนจะจริงใจของ Double A ก่อนจะพัฒนามาเป็นแคมเปญ ‘วันดี ๆ กับกระดาษดี ๆ’ เพื่อสื่อสารกับคน New Gen และคนวัยทำงานซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์ว่า ‘ข้อความสร้างพลังใจดีๆ สามารถเปลี่ยนวันทั้งวันให้กลายเป็นวันดี ๆ ได้’
ส่งต่อ ‘ความเข้าใจ’ ผ่านแคมเปญ ‘วันดี ๆ กับกระดาษดี ๆ’
ความพยายามที่จะเข้าใจและเข้าใกล้ New Gen ทำให้พบอินไซต์ที่น่าสนใจ ‘ความกดดัน’ จากสภาพเศรษฐกิจ สังคม ชีวิตการทำงาน ครอบครัว ไปจนถึงเรื่องส่วนตัว ล้วนบีบคั้นให้คนยุคใหม่พากันตั้งคำถามต่อคุณค่าและความสามารถของตัวเอง
“ฉันดีพอหรือยัง?”
“เรายังพยายามไม่มากพอหรือเปล่า?”
“คุณค่าของฉันอยู่ตรงไหน?”
ความไม่มั่นใจที่ก่อตัวกลายเป็นตัวทำลาย ‘Better Day’ ของพวกเขา สิ่งที่พวกเขาต้องการไม่ใช่โลกที่ดีขึ้นในพริบตา แต่ต้องการเพียงแค่กำลังใจดีๆ ที่จะช่วยเติมเต็มพลัง
แบรนด์หยิบอินไซต์ที่พบมาบรรจบเข้ากับไอเดียสุดครีเอตที่ต้องการเชื่อมโยงแบรนด์กับ New Gen ด้วยการสร้าง Conversational Marketing ที่มีความหมายและมีอิมแพ็กต์ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ข้อความดีๆ สามารถเปลี่ยนวันทั้งวันให้กลายเป็นวันดี ๆ ได้
Double A คิกออฟแคมเปญ ‘วันดี ๆ กับกระดาษดี ๆ’ ด้วยการใช้ Contextual Marketing หรือการตลาดแบบใส่ใจ มาออกแบบสื่อ Digital Out of Home ด้วย Wording Contextual ข้อความสั้นๆ เรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยความใส่ใจ กระจายพลังใจไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็น BTS และ MRT หรือป้าย Digital Billboard ตามท้องถนน
ความทรงพลังของแคมเปญในเฟสแรกถูกคิดมาอย่างถี่ถ้วน ตั้งแต่การหยิบอินไซต์ความกังวลของคนแต่ละ Gen มาเป็นตัวตั้ง เลือกสื่อที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ก่อนจะคัดสรรข้อความง่ายๆ แต่อ่านแล้วใจฟูสุดๆ เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายและสถานที่นั้นๆ
คนวัยทำงาน นักเรียน นักศึกษาที่เดินทางด้วย BTS และ MRT เป็นประจำ คงจะเคยเห็นประโยคฮีลใจอย่าง “ชีวิตมีทางออกมากกว่า 1 ทางเสมอ”, “ออกจากสถานียิ้มให้ตัวเองสักทีนะ”, “จะเลือกทางไหนก็ขอให้ราบรื่น” หรือ “มีขาลง เดี๋ยวชีวิตก็มีขาขึ้น”
ส่วนใครที่เดินทางบนท้องถนนเป็นหลัก คงจะสะดุดกับข้อความน่ารักๆ เช่น “ขอให้งานวันนี้มีแต่ไฟเขียว”, “ติดขัดบ้าง…ค่อยเป็นค่อยไปนะ” หรือ “ถึงจะไปช้าๆ แต่ก็ไม่หยุดอยู่กับที่”
หรือบางคนเดินเข้าร้านเครื่องเขียน อาจเคยเห็นป้าย PoPs ที่ส่งพลังใจและสร้างรอยยิ้มเล็กๆ ให้กับเขาในวันนั้น เช่น “เก่งมากวันนี้ คุณทำเต็มที่แล้ว”, “เธอเก่งในแบบของเธอนะ” หรือ “วันที่ดีเริ่มต้นด้วยรอยยิ้ม”
จะเห็นว่าทุกประโยคถูกล้อและเชื่อมโยงไปกับบริบทของสถานที่ กลยุทธ์นี้ไม่เพียงสร้างโมเมนต์ร่วมให้กับคนที่อ่านข้อความได้อยู่หมัด แต่ยังซัดเข้าไปที่จิตใจ กระตุกให้พวกเขาหันกลับมามองเห็นเรื่องดีๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่ซ่อนอยู่รอบตัว เหนือสิ่งอื่นใดที่ทำให้พวกเขารู้ว่า ไม่ว่าวันนี้จะเหนื่อยหนักแค่ไหน Double A จะคอยส่งกำลังใจดีๆ เคียงข้างเขาตลอดทั้งวัน
ขยายพลังงานดีๆ ให้เข้าถึงทุก Gen ผ่าน ‘Experimental Film’
แบรนด์เล่นกับพลังของ Better Paper, Better World ต่อ ด้วยการออกแบบ Experimental Film การทดลองที่อยากเปลี่ยน 1 วันของใครสักคนให้ดีขึ้นด้วยกระดาษ 1 แผ่น โดยมี Gen Z, X และ Y เป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่ต้องใช้ชีวิตด้วยความกดดันหลากหลายรูปแบบ
สิ่งที่สะท้อนว่าแบรนด์เข้าใจอินไซต์ของคน Gen ต่างๆ จริง คือการเลือกโลเคชัน อย่าง Gen Z ก็เลือกเป็นสถานศึกษาและแหล่งรวมตัวของคน Gen นี้ ส่วน Gen X และ Y ตัวแทนของคนวัยทำงาน จึงเลือกโลเคชั่นในโซน Office Building
แต่หัวใจสำคัญของ Experimental Film คือการใช้ ‘ข้อความ’ ที่มีความหมายและมีอิมแพ็กต์ โดยหยิบอินไซต์ เช่น ความเก่งไม่พอ ความไม่มั่นใจที่เข้ามาทำร้าย Better Day ของคนแต่ละ Gen สื่อให้เห็นว่าในวันที่เหนื่อยล้า เราอาจต้องการแค่กำลังใจดีๆ ให้กันและกัน ที่ช่วยเติมเต็มพลัง เติมเต็มความรู้สึกให้กันและกัน
ถึงโปรดักชันจะเรียบง่ายแต่ทัชใจคนดูอย่างมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากสีหน้า แววตา รอยยิ้ม ของคนที่เปิดอ่านข้อความจากกระดาษ A4 ธรรมดาๆ เพียงแผ่นเดียว สำหรับบางคนนี่อาจเป็นข้อความธรรมดาๆ ที่ได้ยินจนเบื่อ แต่บางคน ประโยคเรียบง่ายอย่าง “รู้ใช่ไหม ว่าคุณอาจจะเก่งกว่าที่ตัวเองคิด”, “เหนื่อยใช่ไหม วันนี้เธอเก่งมากเลย”, “เป็นตัวเองในแบบที่อยากเป็น” หรือ “วันนี้ทำเต็มที่แล้ว เก่งมาก!”
ที่มันทัชใจอาจเป็นเพราะบางประโยค…เราเฝ้ารอจะได้ยินจากใครสักคนก็เป็นได้
พลังของ Better Paper, Better World
นอกจากพลังงานดีๆ ที่แบรนด์ส่งผ่านข้อความดีๆ บนกระดาษดีๆ จะทำหน้าที่ผ่านแคมเปญนี้ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะเชื่อว่าใครที่ได้ดู Experimental Film ไม่ว่าจะเวอร์ชัน Gen ไหนคงได้รับคลื่นพลังงานบวกเหล่านั้นไปด้วย รวมไปถึงสื่อ OOH ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้
เหนือสิ่งอื่นใดมันตอกย้ำ ‘พลังของกระดาษ’ ที่เป็นได้มากกว่าวัตถุที่ใช้จดบันทึกหรือวาดเขียน แต่ยังทำหน้าที่บางอย่างที่เทคโนโลยีไหนก็ทดแทนไม่ได้ นั่นคือพลังที่ทำงานกับอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์
นั่นเป็นเหตุที่ว่าทำไม Double A จึงไม่หยุดที่จะสร้างกระดาษให้มีคุณค่าต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม เพราะ Better Paper สามารถสร้าง Better Day, Better Life, Better People, Better Society ไปจนถึง Better Future และที่สำคัญกว่านั้นคือ ‘Better World’ พลังที่สามารถเปลี่ยนโลกของใครหลายคนให้ดีขึ้นได้
ว่าแล้วก็อยากที่จะหยิบกระดาษสักแผ่น เขียนข้อความดีๆ ส่งกำลังใจให้กับคนรอบข้างดูบ้าง หรือถ้าไม่รู้จะเขียนให้ใคร เขียนมันให้กับตัวเอง หยิบมาอ่านทุกครั้งที่พลังใจเริ่มลด แต่ถ้าอยากทดลองว่า ข้อความดีๆ ของคุณจะสร้างวันดี ๆ ให้คนใกล้ตัวได้เหมือนกับ Experimental Film ของ Double A หรือเปล่า จะฝากใครสักคนไปยื่นให้ ย่องไปแปะไว้บนโต๊ะ เสียบไว้ในหนังสือเรียน แล้วแอบส่องดูปฏิกิริยา ถ้าไม่ยิ้มออกมาก็ต้องมีน้ำตารื้นกันบ้างละ รับรอง!