×

SCB EIC มอง แจกเงินหมื่นรอบแรกกระตุ้นเศรษฐกิจจำกัด คาดเฟส 2 ดันยอดค้าปลีกโตราว 5%

22.11.2024
  • LOADING...

SCB EIC มอง โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาทจะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มเติมในปีนี้ แต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ‘ค่อนข้างจำกัด’ เนื่องจากเม็ดเงินทั้งหมดอาจไม่ได้ใช้จ่ายโดยตรงในระบบเศรษฐกิจ

 

สะท้อนจากผลสำรวจของ SCB EIC Consumer Survey ที่พบว่าผู้ได้รับสิทธิ์บางส่วนจะนำเงินไปออมหรือชำระหนี้ รวมถึงใช้จ่ายเงินนี้แทนรายจ่ายปกติที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว

 

เงินหมื่นรอบแรกกระตุ้นได้ไม่มาก

 

ในรายงานของ SCB EIC ยังเผยว่า โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจแจกเงิน 10,000 บาทรอบแรกกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเพราะผู้ได้รับสิทธิ์ส่วนใหญ่นำเงินไปเก็บออม คืนหนี้ หรือลดรายจ่ายส่วนตัวลง

 

โดยจากผลสำรวจของ SCB EIC Consumer Survey ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2023 จากกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับเงินหมื่นเฟสแรก พบว่า

 

  • 64% ของผู้ได้รับสิทธิ์ทยอยใช้จ่ายจนหมดภายใน 6 เดือน
  • 25% ค่อยๆ ทยอยใช้นานมากกว่า 6 เดือน
  • มีเพียง 10% ของผู้ได้รับสิทธิ์เท่านั้นที่ใช้จ่ายในครั้งเดียวจนหมด

 

อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่าผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินจากโครงการราว 49% จะลดค่าใช้จ่ายมากกว่าที่ได้รับจากโครงการ 37% ลดค่าใช้จ่ายเท่ากับ/ใกล้เคียงกับเงินที่ได้รับจากโครงการ 37% คงค่าใช้จ่ายเท่าเดิม 9% และมีเพียง 5% เท่านั้นที่เพิ่มการใช้จ่ายส่วนตัวมากขึ้น

 

โดยสัดส่วนการใช้เงินที่ได้รับจากโครงการแบ่งเป็นออมหรือลงทุน 40% ชำระเงินกู้ 30% ให้คนในครอบครัว 30% ลงทุนในธุรกิจ 6% อื่นๆ 6% และยังไม่แน่ใจ 2%

 

เงินหมื่นเฟส 2 จ่อดันยอดค้าปลีกโตราว 5%

 

นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า มูลค่าตลาดค้าปลีกจะโตราว 5% หากมีการดำเนินโครงการในเฟสที่ 2 ในปี 2025 โดยคาดการณ์ว่าตลาดค้าปลีกจะโต 4.8% ในปีนี้ และโต 5.1% ในปีหน้า ซึ่งหากไม่ดำเนิการต่อจะเติบโตขึ้น 4.4% ในปีนี้ และโตเพียง 3.6% ในปีหน้า

 

ในอีกแง่หนึ่งคาดการณ์การเติบโตโดยมีโครงการกระตุ้นจะเพิ่มมูลค่าตลาดค้าปลีก 4 ล้านล้านบาทในปีนี้ และ 4.2 ล้านล้านบาทในปีหน้า ซึ่งหากไม่ดำเนินการต่อมูลค่าตลาดค้าปลีกจะเติบโต 3.9 ล้านล้านบาทในปีนี้ และ 4.1 ล้านล้านบาทในปีหน้า

 

ซึ่งผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินจากโครงการส่วนใหญ่จะใช้จ่ายของใช้ในชีวิตประจำวันแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจดังนี้

 

  • ของใช้ประจำวัน 87%
  • ยา/อาหารเสริม 28%
  • อาหารและเครื่องดื่ม 21%
  • สินค้าเกี่ยวกับบ้าน 20%
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า 16%
  • เครื่องสำอาง/สกินแคร์ 16%
  • มือถือ/แท็บเล็ต 11%
  • สินค้าแฟชั่น 8%
  • อุปกรณ์ทางการเกษตร 6%

 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X