ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร Postdoctoral Researcher at MIT Media Lab / Co-director of Advancing Human-AI Interaction Initiative กล่าวบรรยายในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 บนเวที Cyborg Psychology: Designing Human-AI Systems for Human Flourishing จิตวิทยาไซบอร์ก: การออกแบบระบบมนุษย์ – AI เพื่อความรุ่งเรืองของมนุษย์ ซึ่งโจทย์สำคัญคือจะทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีการพัฒนาด้าน AI ที่เท่าทันโลก
โดยกล่าวถึง 3 ประเด็นสำคัญที่ควรตระหนักในการผลักดันเทคโนโลยี AI ดังนี้
- Invent
พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยงานวิจัยของ ดร.พัทน์ ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และ AI จาก 3 ปัจจัยดังนี้
- Wisdom ทำอย่างไรให้มนุษย์ใช้ AI ได้ฉลาดขึ้น
- Wonder ทำอย่างไรให้มนุษย์สงสัยใคร่รู้ มีจินตนาการ มีแรงบันดาลใจ และทำให้ชีวิตมีความหมาย
- Well-being ทำอย่างไรให้มนุษย์มีสุขภาพกายและใจที่ดีจากการใช้งาน AI
ยกตัวอย่าง AI ที่สามารถสร้างอนาคตของมนุษย์คือ Future U ที่สามารถคุยกับตัวเองในอนาคตได้ โดยใช้ Language Model มารวมกับ Large Human Model ผลคือหลังจากที่คุยกับตัวเองช่วยให้เขาสะท้อนตัวตนของตัวเองและมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้น เป็นปัจจัยที่นำไปสู่การตัดสินใจในด้านอื่นๆ ได้ดีขึ้น เช่น ด้านการศึกษาและการเงิน
- Investigest
การพิจารณาและตรวจสอบความเสี่ยงของ AI เมื่อ AI เป็นเพื่อนเรา คุยกับเราได้ อาจทำให้มนุษย์เสพติดจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ยกตัวอย่างเช่น กรณีข่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2024 เด็กชายคนหนึ่งจบชีวิตตัวเองจากการมีแฟนเป็น AI เนื่องจากทนอยู่บนโลกจริงไม่ไหว โดย AI แนะนำให้จบชีวิตเพื่อจะได้อยู่ด้วยกัน
คำถามคือเราจะป้องกันอย่างไร
จากงานวิจัยของ ดร.พัทน์ ที่ศึกษาปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และ AI ด้านบวกและลบ จึงได้ข้อสรุปว่าต้องออกแบบ Target Policy ระหว่างมนุษย์และ AI
- Inspire
การสร้างจินตนาการด้าน AI เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลัง ซึ่งออกแบบให้คนไทยดีไซน์ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ขึ้น เช่น หนังไซไฟหรือเรื่องราววิทยาศาสตร์ที่เต็มไปด้วยจินตนาการ