×

LINE MAN RIDE โต 60% ชู ‘ราคาถูก-ปลอดภัย’ แก้ปัญหาตลาด Ride-hailing เล็งขยายสู่หัวเมืองทั่วประเทศใน 2 ปี

06.11.2024
  • LOADING...
LINE MAN RIDE

LINE MAN RIDE บริการเรียกรถของ LINE MAN เผยอัตราการเติบโตกว่า 60%* หลังเปิดให้บริการแบบครบวงจร ครอบคลุมทั้งการเรียกรถยนต์ แท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์

 

ในปี 2024 ผลวิจัยจาก Redseer คาดว่าตลาด Ride-hailing ปีนี้จะมีมูลค่าการเติบโตมากถึง 2 หมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มจะโตต่อเรื่อยๆ โดยอีก 5 ปีอาจมีมูลค่าอยู่ที่ระดับ 3.4 หมื่นล้านบาท

 

ศิวภูมิ เลิศสรรค์ศรัญย์ รองประธานอาวุโสฝ่ายธุรกิจบริการด้านออนดีมานด์ LINE MAN Wongnai สะท้อนการเติบโตของตลาด Ride-hailing ว่ามาจากปัจจัย 3 อย่าง คือการขยายตัวของสังคมเมือง พฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาเรียกรถผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น และการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่

 

สำหรับประเภทบริการเรียกรถที่ได้รับความนิยม ได้แก่ LINE MAN Eco, LINE MAN Bike, และ LINE MAN Taxi ตามลำดับ โดย LINE MAN Bike บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์เติบโตมากถึง 390%** เนื่องจากเป็นบริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ต้องการความรวดเร็วและการเดินทางที่คล่องตัว

 

LINE MAN RIDEเป็นบริการเรียกรถที่วางตัวในตลาดด้วยการเน้นเรื่อง ‘ราคาถูกและความปลอดภัย’ โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้บริษัทตัดสินใจเข้ามารุกตลาด Ride-hailing แบบครบวงจรเป็นเพราะการเห็นปัญหาของผู้บริโภคที่ต้องเลือกระหว่างบริการที่ปลอดภัยแต่มีราคาสูง หรือบริการที่ราคาถูกแต่กลับต้องแลกมาด้วยความไม่ปลอดภัย

 

“สิ่งที่เราเห็นคือค่าบริการเรียกรถมีราคาสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะช่วงหลังปี 2020 ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้เล่นเดิมในตลาดเริ่มหันมาโฟกัสเรื่องการทำกำไรมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้เล่นรายใหม่ที่ทำราคาได้ถูกก็ไม่สามารถสร้างมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีได้ ทำให้เกิดสถานการณ์ที่บีบให้ลูกค้าต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง LINE MAN RIDEเลยเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหานี้ให้การเรียกรถที่มีราคาถูกและปลอดภัย” ศิวภูมิกล่าว

 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ราคาข้าวของปรับตัวสูงขึ้น ก็ทำให้เกิดคำถามว่าบริษัทจะสามารถรักษาจุดยืน ‘ราคาถูก’ ได้ในระยะยาวหรือไม่?

 

ประเด็นนี้ศิวภูมิมองว่าจุดยืนของแบรนด์ยังเหมือนเดิมไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร นั่นคือการเป็นผู้ให้บริการที่มอบราคาถูกที่สุดให้กับผู้บริโภค ซึ่งมาจากการบริหารต้นทุนที่ดี แต่ในขณะเดียวกันสภาพตลาดก็เป็นปัจจัยสำคัญเพราะธรรมชาติของธุรกิจ Ride-hailing จะมีการตั้งราคาที่แปรผันตามความต้องการของผู้ใช้งานและจำนวนผู้ให้บริการ

 

ในส่วนของฟีเจอร์บน LINE MAN RIDEมีทั้ง Toll Selection ให้เลือกว่าจะขึ้นทางด่วนหรือไม่เพื่อลดความไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการของผู้ใช้งานและผู้ให้บริการ มีการใช้ Chat Stickers เพื่อสื่อสารกับคนขับ และสามารถชำระเงินผ่าน QR Payment

 

ขณะเดียวกันความปลอดภัยของผู้ใช้บริการก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ LINE MAN RIDEจึงทำระบบติดตามการเดินทางแบบเรียลไทม์ (Trip Tracking) ตรวจสอบประวัติคนขับอย่างละเอียด มีประกันครอบคลุมทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร อีกทั้งมีระบบประเมินคะแนนแบบไม่เปิดเผยตัวตนเพื่อให้บริการมีความโปร่งใส

 

นอกจากนี้ ความท้าทายที่ LINE MAN RIDEต้องรับมือในอนาคตอันใกล้จากมุมของศิวภูมิคือการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในตลาด โดยเฉพาะการดึงดูดให้ไรเดอร์หรือผู้ขับขี่มาเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม เนื่องจากในปัจจุบันจำนวนผู้ขับขี่ไม่เพียงพอกับความต้องการในตลาด ซึ่งบริษัทก็เตรียมแผนรับมือเพื่อจูงใจให้ไรเดอร์เข้ามามากขึ้น

 

สำหรับเป้าหมายธุรกิจ ศิวภูมิแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ สั้น กลาง และยาว โดยในระยะสั้นจะเน้นไปที่การทำการตลาดเพื่อดึงดูดผู้โดยสารกับผู้ขับขี่ รวมทั้งทำงานกับภาครัฐเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร ส่วนระยะกลางคือการขยายบริการให้ครอบคลุมหัวเมืองหลักภายใน 2 ปี และเป้าหมายระยะยาวคือการเป็นอันดับ 1 ของผู้ประกอบการแอปพลิเคชัน Ride-hailing

 

หมายเหตุ:

*ข้อมูลเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 15 ตุลาคมของปี 2567 และปี 2566 โดยช่วงเวลาดังกล่าวของปี 2566 LINE MAN RIDEยังให้บริการเรียกรถแท็กซี่เท่านั้น

**ข้อมูลการให้บริการระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 โดยบริการ LINE

MAN Bike เปิดให้บริการในช่วงต้นปี 2567

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X