เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นวันสุดท้ายก่อนปิดสมัยประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 1 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 สภาร่วมกันลงมติ ‘รับหลักการ’ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การขนส่งทางราง พ.ศ. …. ทั้ง 3 ฉบับ
สำหรับร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. …. ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ, ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. …. ที่มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะ สส. นครพนม พรรคเพื่อไทย กับคณะ เป็นผู้เสนอ และร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. …. ที่สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส. พรรคประชาชน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
สุดท้ายที่ประชุมจำนวน 405 ต่อ 0 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง ทั้ง 3 ฉบับ พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญทั้งสิ้น 31 คน และลงมติใช้ร่าง พ.ร.บ. จากรัฐบาลเป็นหลัก โดยมีระยะเวลาแปรญัตติ 15 วัน นัดประชุมครั้งแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น.
THE STANDARD ชวนผู้อ่านร่วมกันเปรียบเทียบ ‘ความเหมือน’ และ ‘ความต่าง’ ของร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง ทั้ง 3 ฉบับ จากรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน ก่อนจะมีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญครั้งแรกในวันนี้
ภาพประกอบ: ฉัตรชัย เฉยชิต