×

แนะ ‘10 วิธี’ ที่นักพัฒนาบล็อกเชนสามารถนำ ChatGPT มาทำให้งานง่ายขึ้น!

23.01.2023
  • LOADING...

‘ChatGPT’ AI ดังที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ในฐานะเทคโนโลยีที่จะเข้ามาดิสรัปต์วงการต่างๆ ทั้งการศึกษา โปรแกรมเมอร์ นักเขียน และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ในวันนี้ทางทีมงาน THE STANDARD WEALTH จะพาไปรู้จักกับ 10 วิธีที่ ‘ChatGPT’ จะมาทำให้ชีวิตนักพัฒนาบล็อกเชนทำงานได้ง่ายขึ้น

 

1. เขียนโค้ด ‘Smart Contract’

ด้วยความสามารถของ ‘ChatGPT’ ที่เขียนโค้ด Smart Contract ได้ โดยอาศัยเพียงแค่เงื่อนไขและข้อมูลบางอย่างที่ตัว AI ต้องการ ทำให้เหล่านักพัฒนาได้โค้ดที่ต้องการในเวลาอันสั้น และยังช่วยลดข้อผิดพลาดในโค้ดต่างๆ ที่ทำให้เหล่านักพัฒนาต้องเสียเวลาได้อีกเช่นกัน

 

2. แหล่งรวมโค้ดสำหรับนักพัฒนา

‘ChatGPT’ เป็น AI ที่ได้รับการพัฒนาจากข้อมูลปริมาณมาก ทำให้มีแหล่งความรู้ถูกเก็บและพัฒนาอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากนักพัฒนาต้องการข้อมูลอะไรที่เกี่ยวกับโค้ดสำหรับ Smart Contract ก็สามารถเรียกใช้ หรือศึกษาวิธีการใช้จาก AI ‘ChatGPT’ ได้ดั่งห้องสมุดแห่งหนึ่งเลยทีเดียว

 

3. ตัวช่วยสำหรับการบริหารจัดการคอมมูนิตี้โปรเจกต์บล็อกเชน

‘ChatGPT’ สามารถถูกนำไปใช้เป็นบอต AI ในการช่วยตอบคำถามภายในคอมมูนิตี้โปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีใดๆ ก็ได้ ด้วยความที่ AI ดังกล่าวถูกพัฒนามาในรูปแบบ Generative AI ที่สามารถสื่อสารให้ใกล้เคียงมนุษย์ได้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้บุคคลภายในคอมมูนิตี้สามารถคลายข้อสงสัยบนโปรเจกต์คริปโตได้ เหมือนมีผู้ช่วยที่เป็นมนุษย์จริงๆ คอยดูแล

 

4. วิเคราะห์แนวโน้มตลาด

เนื่องจาก ‘ChatGPT’ สามารถนำมาใช้สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตของตลาดและอุตสาหกรรมได้ นักพัฒนาโปรเจกต์คริปโตก็สามารถนำ ChatGPT มาช่วยในการตัดสินใจต่อการดำเนินการของโปรเจกต์ตัวเองในอนาคต

 

ทั้งยังสามารถนำไปวิเคราะห์ข้อมูลแบบ ‘Unstructured Data’ หรือข้อมูลที่ไม่ถูกจัดกลุ่ม เช่น ข้อมูลประเภทข่าวหรือบทความได้ดี ก็ทำให้สามารถนำไปประเมินมุมมองตลาดหรือความคิดเห็นของตลาดในขณะนั้น 

 

5. พัฒนาวอลเล็ตสำหรับคริปโต

‘ChatGPT’ สามารถนำมาใช้ในการสร้างและทดสอบวอลเล็ตซอฟต์แวร์สำหรับการเก็บรักษาคริปโตได้ ทั้งยังมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายวิธีการใช้สำหรับผู้ใช้งานบนหน้าต่างผู้ใช้งานได้

 

6. สร้างสถานการณ์จำลองได้

‘ChatGPT’ สามารถถูกใช้ในการสร้างสถานการณ์จำลอง สำหรับการจำลองเครือข่าย (Network Simulation) ว่ามีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร หรือหากเครือข่ายถูกโจมตีจะเป็นอย่างไร, จำลองพฤติกรรมผู้ใช้ (User Simulation) ว่าจะมีพฤติกรรมไปในทิศทางใด, จำลองตลาด (Market Simulation) สำหรับการประเมินว่าภาวะตลาดแบบใดจะส่งผลต่อราคาตลาดเช่นไร และท้ายที่สุดคือการจำลองเศรษฐศาสตร์ของเหรียญ (Tokenomics Simulation) ว่าเหรียญหนี่งๆ หากถูกปล่อยออกมาใช้งานจะมีกลไกทางเศรษฐศาสตร์ของเหรียญเช่นไร และมีจุดเปราะบางที่ตรงไหน

 

7. พัฒนา Dapp (Decentralized application)

การพัฒนา Dapp นั้นประกอบไปด้วยงานหลายส่วน แต่การพัฒนาดังกล่าวจะสะดวกขึ้นโดยการนำ ChatGPT มาสร้างโค้ด Smart Contract สำหรับหลายบล็อกเชนพร้อมกัน และนำ ChatGPT ไปใช้ในการสร้าง UX/UI ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน รวมไปถึงการสร้างแชตบอตในการตอบคำถามต่างๆ ของ Dapp แก่ผู้ใช้งาน

 

8. สร้างสคริปต์สำหรับคลิปวิดีโอบล็อกเชน

นำ ‘ChatGPT’ ไปสร้างสคริปต์สำหรับคลิปวิดีโอบล็อกเชนที่มีศัพท์เทคนิคเยอะ ด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ รวมไปถึงการแปลซับไตเติลหลากหลายภาษาสำหรับวิดีโอใดๆ 

 

9. เขียน White Paper

ด้วยความที่ ‘ChatGPT’ เป็น AI ที่สามารถเรียนรู้ได้ ผู้พัฒนาสามารถป้อนข้อมูลของ White Paper โปรเจกต์อื่นๆ ให้แก่ ChatGPT ได้เรียนรู้ว่ามีข้อมูลใดที่สำคัญสำหรับการเขียน White Paper ถัดจากนั้นก็ให้ป้อนข้อมูลที่สำคัญของโปรเจกต์ตนเองแก่ ChatGPT เพื่อใช้ในการร่าง White Paper ออกมา

 

10. แก้บั๊ก และปรับปรุงระบบ

‘ChatGPT’ อาจจะถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบบั๊ก (ข้อผิดพลาด) และแก้ไขบั๊กดังกล่าวในโค้ด Smart Contract ของโปรเจกต์บล็อกเชน เพื่อทำให้นักพัฒนาสามารถทำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X