×

10 ข้อต้องมี เพื่อสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เมื่อรัฐต้องรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพของบุคคล

โดย THE STANDARD TEAM
31.03.2021
  • LOADING...
10 ข้อต้องมี เพื่อสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เมื่อรัฐต้องรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพของบุคคล

31 มีนาคม เนื่องในวันสากลเพื่อการเผยตัวตนของคนข้ามเพศ (International Transgender Day of Visibility) กลุ่มนักเคลื่อนไหวและองค์กรด้านสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ ได้ร่วมกันจัดทำแคมเปญรณรงค์ ‘10 ข้อต้องมี เพื่อสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เมื่อรัฐต้องรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพของบุคคล’ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีกฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิในอัตลักษณ์ทางเพศของของบุคคลข้ามเพศ, Intersex และ Non-Binary

 

โดยมุ่งนำเสนอข้อเท็จจริงสำคัญ 10 ประการ ที่จะสร้างหลักประกันว่าการมีตัวตนของพวกเรานั้นไม่ใช่แค่การใช้ชีวิตอยู่ไปวันๆ อย่างสิ้นหวัง แต่ต้องอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เสมอภาค เท่าเทียม บนพื้นฐานของการแสดงเจตจำนงในอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเราเอง เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าการสร้างกฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะไม่ทิ้งขว้างประเด็นสำคัญในทุกๆ มิติของการดำรงชีวิตของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย

 

 

ข้อ 1: ต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพของประเทศไทย เพราะตัวบทกฎหมายที่ล้าหลังและไม่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล 

 

 

ข้อ 2: เพราะการกำหนดเจตจำนงในอัตลักษณ์ทางเพศคือ ‘สิทธิมนุษยชน’ แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ #สิทธิที่ติดตัว และ #สิทธิที่รัฐต้องรับรองเพื่อให้เกิดการคุ้มครองตามกฎหมาย 

 

 

ข้อ 3: ต้องอุดช่องว่างที่ทำให้สังคมตราหน้าว่า กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศจะเอาคำนำหน้าตามเพศใหม่ไปหลอกลวงชาวบ้าน ดังนั้น ใครได้ ใครเสีย จดแล้วสิทธิและหน้าที่ที่ผูกพันต่อบุคคลภายนอกสิ้นผลไปเลยหรือไม่ เราขอยืนยันว่า กฎหมายจะต้องสร้างหลักประกันนิติสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกที่มีมาอยู่ก่อนหน้าอย่างแน่นอน 

 

 

ข้อ 4: การจดทะเบียนต้องมี ‘แบบตามกฎหมาย’ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การจดทะเบียนมีผลในทางทะเบียนโดยบริบูรณ์

 

 

ข้อ 5: จะต้องทำให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน เมื่อผ่านขั้นตอนการจดทะเบียนรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพไปแล้ว #กรณีบุคคลข้ามเพศ

 

 

ข้อ 6: ต้องทำให้เกิดผลเมื่อผ่านขั้นตอนการจดทะเบียนรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพไปแล้ว #กรณีบุคคล Non-Binary และ Intersex 

 

 

ข้อที่ 7: ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่กำหนดสิทธิและหน้าที่สำคัญ แม้ว่าอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

 

 

ข้อที่ 8: ต้องคำนึงถึงสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว ดังนั้น จะต้องให้การรับรองบุตรที่เกิดจากบุคคลที่ได้รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

 

 

ข้อ 9: ต้องให้หลักประกันว่าจะได้การคุ้มครองอย่างแน่นอนเมื่อได้รับการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพไปแล้ว 

 

 

ข้อ 10: ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าหากกฎหมายฉบับนี้ผ่านรัฐสภาแล้ว มีกระทรวงใดบ้างที่ต้องทำหน้าที่รับผิดชอบให้การบังคับกฎหมายฉบับนี้เป็นไปอย่างราบรื่น  

 

 

ภาพ / เรื่อง: นาดา ไชยจิตต์ / สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย / เครือข่ายผู้ชายข้ามเพศแห่งประเทศไทย / TEAK – Trans Empowerment / กลุ่มพลังบันดาลใจคนข้ามเพศ

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X