×

จีนยกแผน GDI ของ ‘สีจิ้นผิง’ ขึ้นหิ้งตัวอย่างการมีส่วนร่วมรับมือความท้าทายระดับโลก

20.10.2022
  • LOADING...

กระทรวงการต่างประเทศจีนยกแผนริเริ่มการพัฒนาโลก หรือ GDI ที่เสนอโดยประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เป็นตัวอย่างที่ดีด้านการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาระดับโลก ระบุ แผนริเริ่มอายุ 1 ปีนี้ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งรัดวาระเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ขององค์การสหประชาชาติ (UN)

 

หวังเหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวสรุปความสำเร็จของแผนริเริ่มการพัฒนาโลก หรือ Global Development Initiative (GDI) ที่เสนอโดยประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เป็นตัวอย่างหนึ่งของประเทศจีนในการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาของจีน เพื่อจัดการกับการขาดดุลธรรมาภิบาลทั่วโลก และความท้าทายระดับโลกอื่นๆ พร้อมย้ำว่าแผนริเริ่มอายุ 1 ปีนี้ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งรัดวาระเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ขององค์การสหประชาชาติ (UN) 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ทั้งนี้ ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนได้นำเสนอ GDI ในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 76 เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว โดยกล่าวว่า แผนริเริ่มพัฒนาโลกดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะให้ความสำคัญกับประเด็นการพัฒนาของนานาชาติ ยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ และให้ข้อมูลเชิงลึกและแนวทางแก้ไขของจีน ปัญหาการพัฒนาที่ยากและการเร่งดำเนินการตามวาระ 2030 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

 

หวังกล่าวอีกว่า แผนริเริ่มนี้ได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่นจากประชาคมระหว่างประเทศตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เป็นการเรียกร้องให้ระดมการสนับสนุนสำหรับการสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ นำเสนอแผนงานในการเชื่อมโยงโลกเหนือ-ใต้ และส่งเสริมการดำเนินการตามวาระ 2030

 

ชุยหงเจี้ยน ผู้อำนวยการ Department of European Studies ที่ China Institute of International Studies กล่าวว่า ประชาคมระหว่างประเทศต้องการฉันทามติเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมือภายใต้วาระแห่งสหประชาชาติ 2030 มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากเศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในความเสี่ยงจาการต่อต้านโลกาภิวัตน์ และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

 

ชุยย้ำว่า GDI ซึ่งรวบรวมเส้นทางสู่การพัฒนาและความปลอดภัยของจีน เข้ากับความต้องการด้านการพัฒนาระดับโลกเป็นอย่างดี โดยคำนึงถึงการเร่งมือในการทำงานร่วมกันทั่วโลกเพื่อให้การพัฒนาเป็นอันดับแรก และจัดการแก้ไขในวงกว้าง เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของโลกเพิ่มขึ้น 

 

ปัจจุบัน 100 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศจำนวนมากได้สนับสนุน GDI และเกือบ 60 ประเทศได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับแผน GDI รวมถึงอาเซียน เอเชียกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา และประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก 

 

“GDI ได้ถูกรวมเข้ากับเอกสารความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียน เอเชียกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา และประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าว

 

ในส่วนของผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของ GDI คือการจัดตั้งแพลตฟอร์มการเงิน 2 แห่ง คือกองทุน Global Development และกองทุน South-South Cooperation Fund นอกจากนี้ กองทุนทรัสต์ FAO-China South-South Cooperation (SSC) เฟสที่ 3 ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว

 

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวอีกว่า จีนกำลังสำรวจวิธีการใหม่ในการระดมทุนและระดมกำลังจากฝ่ายต่างๆ เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมและพัฒนาความร่วมมือในทางปฏิบัติใน 8 ด้านหลักตามที่ระบุไว้ในแผนริเริ่มฯ ดังกล่าว 

 

นอกจากนี้ จีนยังได้จัดตั้ง Global Development Promotion Center เพื่อจัดเตรียมแพลตฟอร์มการดำเนินการในการนำ GDI ไปใช้

 

ที่ผ่านมาจีนได้เป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มเพื่อนของ GDI ซึ่งมีการเปิดตัวการดำเนินการใหม่ใน 7 ด้าน ครอบคลุมโครงการเกี่ยวกับการลดความยากจน ความมั่นคงด้านอาหาร และการพัฒนาอุตสาหกรรมและโครงการสร้างขีดความสามารถมากกว่า 1,000 โครงการ

 

วันเดียวกันทางการจีนเปิดเผยว่า จีนยังคงตอกย้ำสถานะความเป็นโรงงานโลก หลังตัวเลขโรงงานรับผลิต หรือ OEM ของประเทศจำนวนมาก ขยายตัวครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการทั่วโลก

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยอานิสงส์ของยุคอีคอมเมิร์ซที่ช่วยให้เข้าถึงเครือข่ายทั่วโลกได้มากขึ้น บวกกับนโยบายสนับสนุนของภาครัฐ ทำให้โรงงาน OEM จำนวนมากของจีนเริ่มมองข้ามธุรกิจ OEM ของตนเอง เพื่อก้าวเข้าสู่ตลาดโลกด้วยแบรนด์ที่ตนเองสร้างขึ้น หลังโกยกำไรในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังมาเป็นเวลานาน

 

การสำรวจในปี 2021 พบว่า 93% ของผู้ขายชาวจีนตระหนักดีถึงความสำคัญของการสร้างแบรนด์อย่างชัดเจน ในขณะที่จำนวนผู้ขายชาวจีนที่ลงทะเบียนแบรนด์บนเว็บไซต์สากลของ Amazon ได้เพิ่มขึ้น 40 เท่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ 14% ของแบรนด์จีนใน Amazon มีเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในกว่า 5 ประเทศหรือภูมิภาคแล้ว 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X