×

ราคาอาหารทั่วโลกลดลงสู่ระดับก่อนสงครามยูเครนแล้ว แต่ทำไมราคา ‘ข้าวไทย’ ยังพุ่งทะยานอยู่

08.04.2024
  • LOADING...
ข้าวไทย

ข้อมูลจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (The Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) แสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อเฉพาะด้านอาหารใน 38 ประเทศอุตสาหกรรมลดลงแตะระดับ 5.3% ในเดือนกุมภาพันธ์ จาก 6.2% ในเดือนก่อนหน้า หลังเคยแตะจุดสูงสุดที่ 16.2% ในเดือนพฤศจิกายน 2022

 

และนับเป็นระดับต่ำกว่าช่วงก่อนที่รัสเซียจะบุกยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ ช่วยลดแรงกดดันต่อครัวเรือนนับล้าน ซึ่งได้รับผลกระทบจากต้นทุนอาหารที่เพิ่มขึ้นในช่วงราว 2 ปีที่ผ่านมา

 

ขณะที่ข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แสดงให้เห็นว่า ราคาอาหาร เช่น ธัญพืช น้ำตาล และเนื้อสัตว์ โดยทั่วไปลดลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2022 แล้ว

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

ดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์อาหารของ FAO อยู่ที่ 118.3 ในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากการลดลง 7 เดือนติดต่อกัน และลดลง 9.9 จุดจากเดือนมีนาคมปีที่แล้ว

 

ย้อนกลับไปในปี 2022 ราคาอาหารในหลายประเทศเคยพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นและการค้าที่ชะลอตัวเนื่องจากสงครามในยูเครน ท่ามกลางภัยแล้งที่รุนแรงมากกว่าที่คาดไว้ ไปจนถึงการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานหลังจากการระบาดของโรคโควิด

 

โดยราคาอาหารที่สูงขึ้นยังส่งผลให้ผู้คนจำนวน 333 ล้านคนประสบปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารเฉียบพลันในปี 2023 ตามรายงานของโครงการอาหารโลก (World Food Programme)

 

Tomasz Wieladek นักเศรษฐศาสตร์จาก T. Rowe Price กล่าวว่า “ห่วงโซ่อุปทานได้กลับสู่ภาวะปกติอย่างสมบูรณ์ ราคาก๊าซได้ลดลงสู่ระดับที่ถือว่าปกติมากขึ้น และการส่งออกธัญพืชของยูเครนได้กลับมาดำเนินการอีกครั้งผ่านทะเลดำ”

 

ราคาอาหารโลกเริ่มลด ยกเว้น ‘ข้าว’

 

Kiran Ahmed นักเศรษฐศาสตร์จาก Oxford Economics ระบุว่า โดยทั่วไปแล้วอัตราเงินเฟ้อด้านอาหารกำลังลดลงในประเทศที่พัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ตามยังมีบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เผชิญความกดดันด้านอัตราแลกเปลี่ยนและต้องพึ่งพาการนำเข้า

 

โดยราคาอาหารยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก หลังจากอินเดียออกคำสั่งห้ามส่งออกข้าว ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปทานอย่างหนัก

 

โดยดัชนีราคาข้าวไทย Thailand 5% Broken Rice Price ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานเอเชีย (Benchmark) ในเดือนมีนาคม ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ระดับ 613 ดอลลาร์ต่อตัน เพิ่มขึ้น 28.78% จากปีก่อน แต่ชะลอตัวลงจากระดับสูงสุดที่ 660 ดอลลาร์ต่อตันเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

 

สอดคล้องกับข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ระบุว่า ราคาข้าวทั่วไปได้เพิ่มขึ้น 25% ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ และอัตราเงินเฟ้อของราคาอาหารยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าข้าวจากอินเดีย เช่น ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ ที่ 3.4% และ 9.44% ตามลำดับ ในเดือนเดียวกัน

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X