×

ย้อนไปไกลกว่าเกาะกูด ทำไมการเจรจาผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนยังไม่สำเร็จ?

โดย THE STANDARD TEAM
07.11.2024
  • LOADING...

การเจรจาเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกัน (Overlapping Claims Area: OCA) ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา เป็นปัญหาสืบเนื่องและยาวนานมาร่วม 2 ทศวรรษเศษ ซึ่งตั้งต้นด้วยเจตนาเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นความร่วมมือ ทว่าต้องสะดุดหยุดลงหลายครั้งด้วยความวุ่นวายทางการเมืองและการรัฐประหาร ทำให้ทรัพยากรปิโตรเลียมที่เชื่อว่ามีอยู่ใต้ท้องทะเลในพื้นที่ทับซ้อนซึ่งนับเป็นมูลค่ามหาศาลไม่เคยถูกเข้าไปสำรวจอย่างจริงจัง

 

จนกระทั่งรัฐบาลภายใต้การนำของ เศรษฐา ทวีสิน สืบเนื่องถึง แพทองธาร ชินวัตร มีท่าทีจะสานต่อประเด็นนี้อีกครั้ง สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้บรรลุข้อตกลงในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเมื่อปี 2544 หรือ MOU 2544 ทว่าเวลานี้กลับเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง เมื่อพรรคพลังประชารัฐตั้งแง่ว่าข้อตกลงดังกล่าวอาจทำให้ไทยต้องเสียดินแดนของเกาะกูดให้กับกัมพูชา

 

THE STANDARD ชวนมองย้อนไปถึงจุดตั้งต้นและแนวคิดการเจรจาผลประโยชน์ในพื้นที่ OCA ที่ผ่านมาหลายรัฐบาลก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่สังคมกำลังจับตามองว่า การเจรจาครั้งล่าสุดนี้จะมีโอกาสสำเร็จหรือจะต้องสะดุดลงอีกครั้ง

 

 

ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X