×

‘WHART’ กองทรัสต์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย เตรียมขยายอาณาจักรคลังสินค้าและโรงงานระดับเวิลด์คลาส ด้วย 3 ทรัพย์สินบนทำเลยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ เพิ่มพื้นที่เช่า 1.42 แสนตารางเมตร

28.11.2023
  • LOADING...
WHART

อุตสาหกรรมคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า และโรงงาน ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์จากเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ทำให้ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ค่อนข้างน่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนระยะยาวที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ

 

บทความนี้ THE STANDARD WEALTH อยากพาไปทำความรู้จักกับ ‘ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท’ หรือ WHART กองทรัสต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยพื้นที่ทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการ 1.74 ล้านตารางเมตร และอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ย 89% (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566)

 

ล่าสุด WHART มีแผนที่จะขยายทรัพย์สินภายใต้การบริหารผ่าน 3 โครงการที่มีศักยภาพของกลุ่มบริษัท บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) หรือ WHA Group คิดเป็นพื้นที่รวม 142,896 ตารางเมตร ได้แก่ 

 

  1. โครงการดับบลิวเอชเอ เมกกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ เทพารักษ์ กม.21 (WHA Mega Logistics Center เทพารักษ์ กม. 21) พื้นที่เช่าอาคาร 90,862 ตารางเมตร และพื้นที่เช่าหลังคา 33,477 ตารางเมตร 

 

  1. โครงการดับบลิวเอชเอ เมกกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ แหลมฉบัง (WHA Mega Logistics Center แหลมฉบัง) โปรเจกต์ 1 พื้นที่เช่าอาคาร 24,310 ตารางเมตร 

 

  1. โครงการดับบลิวเอชเอ เมกกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ บางนา-ตราด กม.23 (WHA Mega Logistics Center บางนา-ตราด กม.23) โปรเจกต์ 3 พื้นที่เช่าอาคาร 27,724 ตารางเมตร และพื้นที่เช่าหลังคา 2,989 ตารางเมตร 

 

ทั้ง 3 โครงการมีผู้เช่าที่สำคัญหลายราย เช่น Perfect Companion Group ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงรายหลัก เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารสุนัข Smart Heart และผลิตภัณฑ์อาหารแมว Me-O เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่สำคัญหลายราย ได้แก่ Hankyu Hanshin Express, Nippon Express และ DB Schenker ซึ่งเป็นผู้เช่าคลังสินค้าของ WHART ในโครงการอื่นๆ อีกด้วย โดยการลงทุนเพิ่มเติมครั้งนี้คิดเป็นมูลค่าการลงทุนไม่เกิน 3,566.49 ล้านบาท 

 

จุดเด่นของ WHART

 

WHART ถือเป็นกองทรัสต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยมูลค่าตามราคาตลาดกว่า 3.1 หมื่นล้านบาท (ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2566) ภายหลังการเข้าลงทุนในทรัพย์สินเพิ่มเติม 53% ของคลังสินค้า และโรงงานของ WHART จะเป็นรูปแบบ Built-to-Suit ที่มีสัญญาเช่าเป็นสัญญาระยะยาวมากกว่าผู้เช่าคลังสินค้าทั่วไป และด้วยทำเลที่ตั้งของทรัพย์สินอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพ เช่น ถนนบางนา-ตราด, พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) รวมทั้งพื้นที่บริเวณตอนเหนือและตะวันตกของกรุงเทพฯ ช่วยให้อัตราการเช่าเฉลี่ยสูงถึงประมาณ 90% ทำให้กองทรัสต์สามารถสร้างกระแสเงินสดและจ่ายเงินปันผลได้อย่างสม่ำเสมอ 

 

นอกจากนี้ผู้เช่าของกองทรัสต์ยังกระจายตัวอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น e-Commerce, FMCG และ 3PL ด้วยผู้เช่า ได้แก่ DKSH, Alibaba, Shopee, Unilever, ไทวัสดุ และ Starbucks เป็นต้น 

 

การลงทุนเพิ่มเติมครั้งนี้ WHART จะเพิ่มทุนด้วยการเสนอขายหน่วยทรัสต์ออกใหม่แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์เดิมและประชาชนทั่วไป และประมาณการอัตราเงินปันผลที่ 8.23%* (ขึ้นอยู่กับราคาเสนอขายสุดท้าย)

 

 

นักลงทุนรายย่อยที่สนใจการเพิ่มทุนครั้งนี้ สามารถจองซื้อได้ในช่วงเวลาและช่องทาง ดังนี้

 

ผู้ถือหน่วยทรัสต์เดิมที่มีสิทธิจองซื้อ: 

 

  • ช่วงเวลาจองซื้อ: วันที่ 1, 4 และ 6-8 ธันวาคม 2566 
  • ช่องทางการจองซื้อ: เว็บไซต์ K-My Invest (www.kasikornbank.com/kmyinvest) และสาขาของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร 02 888 8888 กด 4 กด 0

 

ประชาชนทั่วไป: 

 

  • ช่วงเวลาจองซื้อ: วันที่ 13-15 และ 18 ธันวาคม 2566 
  • ช่องทางการจองซื้อ: ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่: www.sec.or.th หรือ www.whareit.com 

 

หมายเหตุ:

 

  1. การจัดสรรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการการจัดจำหน่าย เงื่อนไขการจัดจำหน่ายเป็นไปตามที่กำหนดในร่างหนังสือชี้ชวน

 

  1. ผู้จัดจำหน่ายหน่วยทรัสต์ขอสงวนสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการจองซื้อหน่วยทรัสต์เพิ่มเติมในกรณีที่ผู้จองซื้อเป็นสัญชาติอื่นใดที่มิใช่สัญชาติไทย อย่างไรก็ดี รายชื่อสัญชาติของผู้ถือหน่วยทรัสต์เดิมที่ไม่ได้รับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ จะถูกประกาศผ่านเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อนวันจองซื้อหน่วยทรัสต์

 

  1. ผู้ถือหน่วยเดิมที่มีรายชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566

 

  1. ผู้ถือหน่วยทรัสต์เดิมจองซื้อที่ราคาเสนอขายสูงสุดที่ 9.60 บาทต่อหน่วย และประชาชนทั่วไปจองซื้อที่ราคาเสนอขายสุดท้ายที่จะมีการประกาศในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้ หากราคาเสนอขายสุดท้ายต่ำกว่าราคาเสนอขายสูงสุดจะมีการคืนเงินส่วนต่าง

 

คำเตือน: ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

 

*อ้างอิงประมาณการผลตอบแทนของกองทรัสต์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ตามที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน บนสมมติฐานราคาเสนอขายสูงสุดไม่เกิน 9.60 บาทต่อหน่วย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising