คนรุ่นใหม่ใจบุญมากขึ้น Gen Y และ Gen Z ฐานะร่ำรวย เปลี่ยนวิธีทำบุญแบบใหม่ ไม่เน้นบริจาคเงิน แต่ผันตัวทำจิตอาสา-ช่วยองค์กรการกุศล ส่วนคนอายุมากกว่า 44 ปียังเน้นบริจาคเงินเป็นหลัก
จากผลสำรวจของ Bank of America Private Bank ที่ปรึกษาทางการเงิน พบว่า ความแตกต่างระหว่างรุ่นมีผลมาจากวิถีชีวิตและฐานะทางการเงินที่ต่างกัน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ที่ได้รับมรดกจากครอบครัวและมีเวลาสร้างเนื้อสร้างตัวจนประสบความสำเร็จในด้านหน้าที่การงาน จากนั้นเมื่อมีทุนทรัพย์มากพอก็เริ่มแบ่งไปบริจาคหรือทำบุญ เพราะมีความเชื่อว่าทำแล้วจะมีชีวิตที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะ Gen Y และ Gen Z เด็กรุ่นใหม่ที่มีฐานะร่ำรวย เปลี่ยนแนวทางการทำบุญ จากเดิมจะเน้นบริจาคเงิน แต่ตอนนี้พวกเขามองว่าบทบาทที่ควรเป็นคือการเป็นนักเคลื่อนไหวช่วยสังคมมากกว่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- วิกฤตสมรสในญี่ปุ่นต่ำสุดในรอบ 90 ปี! แอปหาคู่พลิกเกม ช่วยคนรุ่นใหม่แต่งงานพุ่ง สอดรับนโยบายรัฐกระตุ้นให้ประชากรมีลูก
- วัยรุ่นสร้างตัว Gen Y และ Z ของไทยจะมีบ้านยากขึ้น เมื่อแบงก์เข้มปล่อยกู้บ้านต่ำกว่า 3 ล้าน! บ้านมือสองอาจเป็นทางออก
- พ่อแม่ Gen Y ทุ่มไม่อั้น! ใช้จ่ายเพิ่ม 2 เท่า เพื่อลูก เพราะไม่ยอมให้ลูกต้องรู้สึกขาดอะไรไปเหมือนตัวเอง แม้เศรษฐกิจซบเซาก็ตาม
ทำให้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Gen Y ที่มีอายุน้อยกว่า 43 ปีผันตัวไปเป็นจิตอาสาช่วยหน่วยงานต่างๆ ระดมทุน และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ถือว่ามากกว่าคน Gen X และ Baby Boomer เสียอีก ขณะที่กลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 44 ปียังเน้นบริจาคเงินเป็นหลัก
จริงๆ แล้วภาพลักษณ์ที่คน Gen Y และ Gen Z พยายามสร้างขึ้นมา คือตัวเขาต้องการเป็นตัวแทนสร้างการเปลี่ยนแปลงและแก้ปัญหาให้สังคมและสิ่งแวดล้อม และสร้างอิทธิพลในการกระตุ้นให้คนรอบข้างเข้ามาช่วยขับเคลื่อนไปด้วยกัน
Dianne Chipps Bailey ผู้จัดการฝ่ายบริหารของ Bank of America Private Bank กล่าวว่า ปัจจุบันการให้เพื่อการกุศลนั้นประกอบไปด้วย 5 เรื่องคือ เวลา, ทักษะ, ทรัพย์สิน, ประสบการณ์ และความสัมพันธ์
คนรุ่นเก่าจะเน้นให้เงิน ส่วนคนรุ่นใหม่อย่าง Gen Y และ Gen Z เน้นเข้าไปสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้สังคมได้โดยตรง พวกเขาจะไม่ทำแค่ผิวเผิน เพราะต้องการแก้ไขปัญหาให้ได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้คนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มสนับสนุนและช่วยเหลือต่อยอดไปยังโครงการช่วยคนไร้บ้าน ตามด้วยความยุติธรรมทางสังคม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสร้างโอกาสให้กับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงมากขึ้น สวนทางกับผู้บริจาคที่มีอายุมากกว่า 44 ปีที่จะเน้นสนับสนุนองค์กรทางศาสนา ศิลปะ และองค์กรการกุศลด้านการทหาร
Bailey ย้ำอีกว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บางกิจกรรมการกุศลถูกผู้บริจาคที่มีฐานะร่ำรวยครอบงำ แต่วันนี้เริ่มไม่เป็นแบบนั้นแล้ว เพราะคนรุ่นใหม่ศึกษาข้อมูลและเข้ามาเปลี่ยนแปลงกันมากขึ้น และจากการสำรวจยังพบว่า หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมพวกเขาจะประเมินความสำเร็จในสิ่งที่ทำเพื่อนำมาต่อยอดในการทำกิจกรรมครั้งถัดไป
สุดท้ายนี้คนกลุ่มนี้ไม่ชอบให้คนเรียกพวกเขาว่า นักการกุศล เห็นได้จากรายงานของ Foundation Source ที่พบว่า ผู้บริจาค Gen Y และ Gen Z กว่า 80% ต้องการให้มองพวกเขาว่าเป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากกว่า โดยมีแค่ 27% เท่านั้นที่ยอมให้เรียกว่านักการกุศล
อ้างอิง: