×

ชมคลิป: เปิดปมค่าเงินบาทตอนนี้แข็งเท่าช่วงก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง? น่ากังวลแค่ไหน | Exclusive Interview EP.24

14.03.2025
  • LOADING...

ย้อนกลับไปช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ไทยเคยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบตะกร้าเงินที่ผูกกับค่าเงินสกุลต่างๆ ซึ่งทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมาก (Fixed Exchange Rate) โดยมีการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 24-26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากถูกโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนักจากกองทุนเฮดจ์ฟันด์หลายครั้ง จนทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศลดลงจาก 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 2.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท กล่าวคือ เปลี่ยนมาใช้ระบบลอยตัวแบบมีการบริหารจัดการ (Managed Float) แทน

 

ทำให้เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1997 ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างหนัก จาก 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาแตะระดับต่ำสุดที่ 55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เงินบาทไม่เคยกลับไปแตะระดับ 24-26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอีกเลย

 

อย่างไรก็ตาม ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กลับตั้งข้อสังเกตว่า หากมาดูดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ซึ่งเป็นการเทียบค่าเงินบาทกับค่าเงินของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งของไทย พบว่าตอนนี้เงินบาทของไทย ‘แข็งเกือบเท่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง’ แล้ว

 

การแข็งค่าเช่นนี้ถือเป็นเรื่องดีหรือแย่ต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่า นอกจากนี้ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เงินบาทยังผันผวนเหวี่ยงหนัก ปัจจัยมาจากอะไร ร่วมหาคำตอบในรายการ Exclusive Interview วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2568 ผ่าน YouTube: THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising