เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่ดูจะไม่ยอมชะลอตัวลงง่ายๆ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จึงมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาดอีก 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% พร้อมประมาณการว่าอัตราดอกเบี้ยจะแตะระดับ 4.4% ในช่วงสิ้นปีนี้ และเพิ่มเป็น 4.6% ในสิ้นปี 2023 ก่อนที่จะชะลอตัวลงสู่ระดับ 3.9% ในปี 2024
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของ Fed ยังเป็นการดึงดูดเม็ดเงินเข้าสู่สหรัฐฯ และทำให้ความต้องการดอลลาร์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้วันนี้ (22 กันยายน) สกุลเงินในเอเชียอ่อนค่าอย่างหนักในรอบหลายปี เนื่องมาจากความกังวลว่าส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยจะกว้างขึ้นอีก
โดยเงินบาทอ่อนค่าแตะ 37.37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าที่สุดในรอบ 16 ปี หรือตั้งแต่กันยายน 2006 ขณะที่อีกหลายสกุลเงินก็อ่อนค่าไปในทิศทางเดียวกัน อย่างเช่น เปโซฟิลิปปินส์ อ่อนค่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนสกุลเงินอีกหลายสกุลก็อ่อนค่าสูงสุดในรอบหลาย 10 ปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- นักเศรษฐศาสตร์ฟันธง เงินเฟ้อ ทั่วโลกผ่านจุดพีค แต่จะไม่กลับไปต่ำเท่ากับช่วงก่อนโควิด
- วิเคราะห์ 5 สัญญาณ บ่งชี้ เงินเฟ้อ โลกใกล้ถึงจุดพีค
- 10 อันดับ สกุลเงินเอเชีย ที่อ่อนค่าสูงสุดนับจากต้นปี 2565
ภาพประกอบ: ธิดามาศ เขียวเหลือ
ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH
Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP