×

เงินเยนอ่อนค่า ค่าแรงถูก! คืนชีพญี่ปุ่นเป็น ‘ฐานผลิตราคาถูก’ ดึงดูดบริษัทต่างชาติย้ายโรงงานกลับมาอีกครั้ง

18.05.2024
  • LOADING...
ญี่ปุ่น

ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องกำลังทำให้ญี่ปุ่นกลับมาเป็นที่สนใจในฐานะศูนย์กลางการผลิตสินค้าอีกครั้ง โดยเฉพาะสินค้าอย่างเครื่องสำอาง ขณะที่ราคาส่งออกที่ถูกลงก็ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของข้าวญี่ปุ่นในต่างประเทศ

 

บริษัท COSMAX ผู้ผลิตเครื่องสำอางสัญชาติเกาหลีใต้ มีแผนสร้างโรงงานแห่งแรกในญี่ปุ่นภายในปี 2025 เพื่อผลิตสินค้าป้อนลูกค้าในญี่ปุ่น และส่งออกไปยังเกาหลีใต้ จีน และประเทศตะวันตก เนื่องจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงช่วยให้การส่งออกเป็นไปอย่างราบรื่น

 

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่ค่าแรงถูกเป็นอันดับที่ 25 จาก 38 ประเทศในกลุ่ม OECD เมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์ ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดบริษัททั่วโลกที่กำลังมองหาสถานที่ผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ

 

ขณะเดียวกันราคาสินค้าก็ยังต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศหลักๆ เมื่อซื้อด้วยสกุลเงินอื่น ทำให้บริษัทต่างๆ หันมาสนใจญี่ปุ่นในฐานะแหล่งผลิตสินค้าราคาประหยัด ต่างจากยุค 90 ที่ค่าเงินเยนแข็งค่าจนทำให้การผลิตต้องย้ายไปยังต่างประเทศ

 

บริษัท JVCKENWOOD ผู้ผลิตระบบไร้สายระดับมืออาชีพ ก็ย้ายฐานการผลิตจากสหรัฐฯ กลับมาญี่ปุ่นทั้งหมด โดยสินค้าที่ขายในอเมริกาเหนือตอนนี้จะถูกส่งออกจากญี่ปุ่น

 

นอกจากนี้ บริษัท IRIS OHYAMA ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ก็ย้ายฐานการผลิตบางส่วนกลับมาญี่ปุ่น และเริ่มส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ และไทยในปีนี้ โดยใช้ประโยชน์จากความนิยมอาหารญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก

 

การส่งออกข้าวของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเกือบ 12 เท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จากราคาที่เคยสูงกว่าข้าวสหรัฐฯ ถึง 2 เท่า ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่าข้าวญี่ปุ่นมีราคาถูกกว่าข้าวสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในปี 2022

 

การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวถือเป็นการส่งออกเมื่อคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภาคบริการก็ทำให้ราคาและค่าแรงปรับตัวสูงขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าบริษัทญี่ปุ่นต้องลงทุนเพิ่ม และสร้างมูลค่าเพิ่มที่มากกว่าแค่ต้นทุนที่ต่ำลง เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising