×

แก้ปมปะทะชายแดน ‘ภาคประชาชน’ แนะ ไทยต้องไม่แสดงจุดยืนเคียงข้างทหารเมียนมา ชี้กระบวนการสันติภาพพังลงหลังรัฐประหาร

30.12.2021
  • LOADING...
ชายแดนไทย-เมียนมา

วันนี้ (30 ธันวาคม) กรณีปัญหาความรุนแรงบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา จากการปะทะระหว่างกองทัพทหารเมียนมากับกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ซึ่งส่งผลกระทบมายังประชาชนที่อยู่ในชุมชนฝั่งไทย

 

ล่าสุด เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เป็นผลพวงจากการกดทับในพื้นที่ชาติพันธุ์มาหลายทศวรรษและมาปะทุหนักมากขึ้นหลังเหตุการณ์รัฐประหารในเมียนมาเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ 2564 เป็นต้นมา 

 

เนื่องจากมีกลุ่มประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ ครู แพทย์ ที่ใช้วิธีอารยะขัดขืน CDM เข้ามาอยู่กับกองกำลังชาติพันธุ์ อาทิ KNU ซึ่งดูแลผู้รักประชาธิปไตย รัฐบาลทหารเมียนมาจึงมาชิงตัวกลับไปจนเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนนี้ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องภายในประเทศของเมียนมาเพราะส่งผลกระทบข้ามพรมแดน มีการใช้อาวุธหนัก ใช้เครื่องบินรบ ใช้อากาศยาน มีกระสุนมาตกฝั่งไทย ประชาชนไทยได้รับผลกระทบ และประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ต้องข้ามฝั่งแม่น้ำเมยมาแผ่นดินไทย รัฐบาลไทยไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นเรื่องภายในประเทศของเมียนนมา ถ้าคิดว่าเป็นเรื่องภายในของเมียนมา ไทยเองก็จะต้องรับผลกระทบจากความรุนแรงนี้ต่อไป 

 

ก่อนรัฐประหารในเมียนมามีกระบวนการสันติภาพ NCA ระหว่างรัฐบาลเมียนมากับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ EAOs ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปกป้องแผ่นดินของเขา ตอนนี้กระบวนการสันติภาพพังลงหลังรัฐประหาร 

 

มาตรการที่ควรจะเป็นคือ ไทยต้องไม่แสดงจุดยืนเคียงข้างรัฐบาลทหารเมียนมาซึ่งมีการจับกุมคุมขังผู้เห็นต่าง ขณะที่การปะทะเกิดขึ้น ไทยก็เป็นผู้ได้รับผลกระทบ ดังนั้นหากไทยจะเป็นเพื่อนบ้านที่ดี ต้องเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อประชาชนชาวเมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเดิมอยู่ในพื้นที่รัฐกันชน อยู่อย่างสันติมาโดยตลอด ส่วนความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างผู้นำกองทัพไทยกับกองทัพเมียนมาดังปรากฏเช่นในปัจจุบัน เพิ่งเกิดใน 10 กว่าปีมานี้เอง 

 

เพียรพรกล่าวด้วยว่า การเข้าถึงเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมในพื้นที่ที่เกิดความรุนแรงก็ช่วยเหลือได้ยากมาก ทั้งที่ประชาชนกลุ่มต่างๆ รวมถึงหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ และ NGO พยายามนำสิ่งของที่จำเป็นเข้าไปช่วย คนไทยไม่ได้ใจดำ แต่ทำอย่างไรจะให้เจ้าหน้าที่เปิดทาง เพราะหลายพื้นที่กำหนดบุคคลภายนอกห้ามเข้า หน่วยความมั่นคงเท่านั้นจะมาดูแล

 

ทางออกคือ ควรเปิดให้มีหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมวางกระบวนการจัดการร่วมกัน เช่น มีน้ำดื่มที่สะอาด มีการจัดสรรที่พักที่เหมาะสม เพราะสถานการณ์ทำให้คนมารวมกันจำนวนมากในภาวะที่มีการแพร่ระบาดของโควิด

 

เพียรพรเล่าว่า จากการลงพื้นที่ได้ไปคุยกับคุณหมอซินเธีย หม่อง ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง ‘แม่ตาวคลินิก’ ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก คุณหมอซินเธียมีความเป็นห่วงเรื่องการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยที่ควรปฏิบัติกับเขาอย่างมีศักดิ์ศรีเป็นมนุษย์ ในกลุ่มผู้ลี้ภัยมีประชากรกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้หญิง ผู้สูงอายุ เมื่อมารวมกันต้องมีการจัดการที่พิเศษมากยิ่งขึ้น และเขาไม่ได้จะมาอยู่ถาวร ตอนนี้เขาถูกรุกรานจากกองทัพทหารเมียนมา หากรัฐบาลไทยยังคงมีนโยบายเคียงข้างรัฐบาลทหารเมียนมา การแก้ปัญหาในพื้นที่ก็จะทำไม่ได้ 

 

นอกจากนั้นมีข้อสังเกตด้วยว่า รัฐบาลทหารเมียนมาเข้ามาเคลียร์พื้นที่เพื่อให้ทุนจีนเข้ามาสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษและโครงการขนาดใหญ่ อาทิ เขื่อนผันน้ำ ด้วยหรือไม่ ซึ่งก็จะไม่ใช่ปัญหาชนกลุ่มน้อย แต่เป็นปัญหาการชิงทรัพยากร เดิมกลุ่มชาติพันธุ์เสนอให้เป็นสหพันธรัฐ แต่รัฐบาลเมียนมาไม่ยอม 

 

ภาพ:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising