×

เวียดนาม จัดโครงสร้างแหล่งพลังงานใหม่ หวังดูดเงินลงทุนต่างชาติหลายพันล้านดอลลาร์เข้าประเทศ

06.05.2023
  • LOADING...
เวียดนาม

เวียดนาม เร่งปรับแผนเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 2 เท่าภายในปี 2030 หรือใน 7 ปี วงในเผยว่า รัฐบาลอาจลดเป้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง แต่เพิ่มการพึ่งพาพลังงานถ่านหินและเชื้อเพลิงหลัก เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติหลายพันล้านดอลลาร์เข้าสู่ประเทศ 

 

ต้องยอมรับว่า เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่เนื้อหอมและมีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของเอเชีย แต่ในอีกด้าน เวียดนามเองต้องต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนพลังงานมาตั้งแต่ปี 2021 เนื่องจากความต้องการพลังงานนั้นมีสูงกว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ 

 

ดังนั้นแล้วพลังงานสะอาดที่ว่ามาแรงในเวียดนาม อาจเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายที่มาพร้อมกัน

 

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า แหล่งข่าวจากวงการพลังงานเวียดนามระบุว่า รัฐบาลเวียดนามอยู่ระหว่างพิจารณาปรับเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 2 เท่าภายในปี 2030 โดยมีแผนลดเป้าหมายสำหรับพลังงานลมนอกชายฝั่งลง และจะพึ่งพาถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักเพิ่มขึ้นเป็น 30.1 กิกะวัตต์ จากแผนเดิมปี 2020 อยู่ที่ 21.4 กิกะวัตต์ 

 

และยืนยันว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นแหล่งไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งคิดเป็น 19% ของโรงไฟฟ้าทั้งหมด ส่วนไฟฟ้าพลังน้ำจะเป็นแหล่งพลังงานหลักอันดับ 2 รองลงมาคือ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และพลังงานลม

 

ส่วนแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง โดยมีการคาดการณ์ว่า กำลังการผลิตจะเพิ่มเป็น 158 กิกะวัตต์ในอีก 7 ปี เพิ่มขึ้นราว 2 เท่าจากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะมีกำลังการผลิต 69 กิกะวัตต์ 

 

ทั้งนี้ ก็เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศที่คาดว่าจะเข้ามาหลายพันล้านดอลลาร์ 

 

อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวมีความสำคัญต่อการปลดล็อกกองทุนเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานมูลค่า 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่ให้คำมั่นไว้ในเดือนธันวาคมโดยกลุ่ม 7 ชาติและประเทศที่ร่ำรวย แต่การอนุมัติยังล่าช้าไปหลายปี ท่ามกลางความขัดแย้งภายในและการปฏิรูปที่ซับซ้อน

 

ทั้งนี้ การปรับเป้าหมายเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปีที่ 7% ในทศวรรษนี้ และเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่เติบโตขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป็นไปตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านพลังงานของชาติ และเวียดนามยังคงมีนโยบายเลิกใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดภายในปี 2050 

 

อย่างไรก็ตาม ภายใต้แผนการผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ที่จัดทำขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยกระทรวงอุตสาหกรรมยังไม่ได้รับการยืนยัน ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลก่อน แต่ทั้งหมดยังเป็นไปตามการให้คำมั่นในการประชุมสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติที่เมืองกลาสโกว์ (COP26) ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ว่าจะปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นกลางภายในปี 2050

 

ก่อนหน้านี้รายงานข่าวจาก Reuters ระบุว่า แม้ว่าเวียดนามจะมีศักยภาพด้านพลังงานลมนอกชายฝั่งขนาดใหญ่ เนื่องจากบริเวณใกล้พื้นที่ประชากรหนาแน่นตามชายฝั่งมีลมแรงและเป็นเขตน้ำตื้น แต่กลับได้รับแรงกดดันจากบรรดานักลงทุนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า การอนุมัติมีความล่าช้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า และอาจถูกเลื่อนออกไป 

 

ทั้งนี้ บริเวณพื้นที่แหล่งพลังงานลมนอกชายฝั่งนั้น ทางกลุ่มธนาคารโลกได้ประเมินว่า ภาคส่วนนี้อาจเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจได้อย่างน้อย 50,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท) และภายใต้ร่างแผนพัฒนาพลังงานล่าสุดของเวียดนาม ตั้งเป้าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง 7 กิกะวัตต์ภายในปี 2030 จากกำลังการผลิตที่เป็นศูนย์ในขณะนี้ 

 

ในอีกด้าน สำหรับนโยบายพลังงานสะอาดเวียดนาม ผู้พัฒนาพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ในเวียดนามต่างกังวลว่า พวกเขาอาจล้มละลาย เนื่องจากอัตราภาษีใหม่ของรัฐบาล 

 

โดยผู้พัฒนาพลังงานหมุนเวียน 36 ราย กำลังเสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเร่งรัดจ้างที่ปรึกษาอิสระ เพื่อประเมินอัตราค่าไฟฟ้าและเสนออัตราค่าไฟฟ้าใหม่ที่เหมาะสม และภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการตามกรอบกฎหมายสำหรับการจัดซื้อไฟฟ้าให้เสร็จโดยเร็ว เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งรอการลงทุนโครงการเหล่านี้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising