กสทช. สหรัฐฯ สั่งปรับ 4 ค่ายมือถือ 7,000 ล้านบาท หลังละเมิดสิทธิขายข้อมูลพิกัด Realtime Location ของลูกค้าให้บุคคลอื่นโดยไม่ได้รับการยินยอม
คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ 4 ค่ายในสหรัฐฯ ได้ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค ด้วยการขายข้อมูลพิกัดตำแหน่งของผู้ใช้งานหรือลูกค้าโดยไม่ได้รับการยินยอม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย
จึงสั่งปรับ 4 ค่ายมือถือ 196 ล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 7,000 ล้านบาท โดยค่าปรับในแต่ละค่ายก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับกระบวนการสืบสวน ซึ่งผู้ให้บริการค่ายมือถืออย่าง T-Mobile อาจถูกปรับสูงสุด 80 ล้านดอลลาร์ รวมถึง Sprint ที่อยู่ในความดูแล ตามด้วย AT&T ถูกปรับสูงสุดเป็นอันดับสอง เป็นจำนวน 57 ล้านดอลลาร์ และ Verizon ถูกปรับประมาณ 47 ล้านดอลลาร์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- เปิดสาเหตุดึง ‘ทุเรียนไทย’ เสี่ยงหลุดสถานะแชมป์ตลาดจีนให้เพื่อนบ้าน ทั้งเวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ทั้งที่พัฒนาตามหลังไทยอยู่นานหลายปี
- ‘น้ำมันแพง-ภัยแล้ง’ ดันเงินเฟ้อไทยพลิกบวกครั้งแรกรอบ 7 เดือน พาณิชย์เตือน ดัชนีราคาผู้บริโภคมีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่อง!
ตามรายงานของ The Wall Street Journal ระบุว่า คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐฯ ได้เริ่มกระบวนการสอบสวนมาตั้งแต่ปี 2022 หลังได้ข้อมูลมาจากร้านค้าต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาการขายข้อมูลดังกล่าว สถานการณ์ยืดยาวมาถึงปี 2024 คณะกรรมาธิการที่มีสมาชิกจากพรรครีพับลิกันเป็นเสียงส่วนมากก็อนุมัติปรับทั้ง 4 ค่ายมือถือได้
ด้าน Alex Byers โฆษกของค่ายมือถือ AT&T กล่าวว่า การตัดสินของคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐฯ ขาดข้อเท็จจริงทางกฎหมายและไม่มีความเป็นธรรม เราคาดว่าจะยื่นขออุทธรณ์หลังจากดำเนินการตรวจสอบทางกฎหมายแล้วเสร็จ
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายๆ ประเทศ รวมถึงไทยเอง สังคมก็ตั้งคำถามกับประเด็นที่ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลไปถึงมือมิจฉาชีพอยู่หลายครั้ง
อ้างอิง: