กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคประจำเดือนตุลาคมอยู่ที่ 7.7% ลดลงจากระดับ 8.2% ในเดือนกันยายน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดที่ 7.9%
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งหักลบราคาอาหารและพลังงานที่มีความอ่อนไหวสูงออกไปแล้วปรับเพิ่มขึ้น 6.3% จากปีก่อนหน้า ลดลงจากระดับ 6.6% ในเดือนกันยายน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดที่ 6.5% เช่นกัน
Diane Swonk หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ KPMG ระบุว่า ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าถือเป็นข่าวดี และน่าจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed รู้สึกผ่อนคลายลง โดยมีความเป็นไปได้ที่ Fed อาจปรับลดความแรงในการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือนธันวาคมลงมาอยู่ที่ระดับ 0.50% หลังจากที่เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 0.75% มาหลายครั้งติดต่อกัน
ขณะที่ Blerina Uruci หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ T. Rowe Price กล่าวว่า การชะลอตัวของเงินเฟ้อสหรัฐฯ เป็นผลมาจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนที่ลดความร้อนแรงลง ซึ่งสะท้อนว่าเงินเฟ้อได้เริ่มกินตัวของมันเองแล้ว ซึ่งเป็นวัฏจักรที่เมื่อราคาสินค้าพุ่งขึ้นไปถึงจุดหนึ่งก็จะส่งผลให้คนชะลอการบริโภคของตัวเองลง นอกจากนี้เธอยังเชื่อว่าการแข็งค่าของเงินสกุลดอลลาร์ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยชะลอเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ผ่านต้นทุนการนำเข้าสินค้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รายงานชี้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยไม่ช่วยสกัดเงินเฟ้อ ตราบใดที่การใช้จ่ายภาครัฐยังอยู่ในระดับสูง
- วิเคราะห์ 5 สัญญาณ บ่งชี้ เงินเฟ้อ โลกใกล้ถึงจุดพีค
- เศรษฐกิจสหรัฐฯ ‘หดตัว’ สองไตรมาสต่อเนื่อง เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค ขณะที่ NBER ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ
อ้างอิง: