×

กูรูชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยากเลี่ยงภาวะ ‘ถดถอยซ้ำซ้อน’ โจทย์สุดหินพิสูจน์ฝีมือ Fed

06.05.2022
  • LOADING...
เศรษฐกิจสหรัฐฯ

ท่ามกลางเงินเฟ้อสูงและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง นักเศรษฐศาสตร์และนักกลยุทธ์ตลาดบางรายต่างวิตกกังวลว่าในท้ายที่สุดแล้ว สหรัฐฯ จะไม่อาจหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ ยิ่งถ้าธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่อาจจัดการเงินเฟ้อได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที เศรษฐกิจสหรัฐฯ ย่อมเสี่ยงต่อการเผชิญหน้ากับภาวะถดถอยซ้ำซ้อนได้ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 1981-1982

 

บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นตรงกันว่า Fed จำเป็นต้องดำเนินมาตรการที่รุนแรง แต่ก็ต้องไม่เร็วหรือช้าเกินไป ไม่เช่นนั้นสถานการณ์เงินเฟ้อจะยิ่งเลวร้ายมากกว่าเดิม

 

วันเดียวกันกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรายงานประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยดิ่งลงถึง 7.5 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นการลดลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 1947 ทั้งๆ ที่ไตรมาสก่อนหน้าสามารถขยายตัวได้ถึง 6.3 เปอร์เซ็นต์

 

นอกจากนี้ในช่วง 3 เดือนแรก ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยยังปรับตัวเพิ่มขึ้น 11.6 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่เพิ่งจะขยับเพิ่มขึ้นเพียง 1.0 เปอร์เซ็นต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ขณะที่เมื่อเทียบรายปี ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 7.2 เปอร์เซ็นต์ โดยประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงานเป็นการวัดผลผลิตรายชั่วโมงต่อแรงงาน 1 คน

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าข้อมูลข้างต้นเป็นการตอกย้ำถึงตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งการแข่งขันด้านแรงงานได้ผลักดันให้ค่าจ้างสูงขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆ ต่างพยายามดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถไว้

 

ซารา เฮาส์ นักเศรษฐศาสตร์ของ Wells Fargo กล่าวว่า การเติบโตของผลิตภาพแรงงานนอกภาคเกษตรมักมีแนวโน้มที่จะผันผวนในระยะสั้นเสมอ เนื่องจากมาจากการเติบโตของผลผลิตและชั่วโมงทำงาน ซึ่งในแต่ละไตรมาสสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอัตราที่ต่างกันอย่างมาก ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่สามารถจัดการกับเงินเฟ้อและปัญหาซัพพลายเชนในภาคการผลิตได้ การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล

 

อ้างอิง: 

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X