×

ภาพรวมรายงานการพัฒนามนุษย์ 2025 โดย UNDP ไทยอยู่อันดับ 76 จาก 193 ประเทศ

16.05.2025
  • LOADING...
แผนที่โลกแสดงอันดับดัชนีการพัฒนามนุษย์ปี 2025 โดย UNDP ประเทศไทยอยู่อันดับ 76

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ที่ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนามนุษย์กำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัวทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยการเพิ่มขึ้นของการพัฒนามนุษย์ทั่วโลกที่คาดการณ์ไว้สำหรับปี 2025 ถือเป็นการเติบโตต่ำสุดในรอบ 35 ปี นับตั้งแต่เริ่มมีการวัดผลในปี 1990

 

รายงานฉบับนี้ของ UNDP ภายใต้หัวข้อ “ทางเลือกที่สำคัญ: ผู้คนและความเป็นไปได้ในยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI)” ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอายุขัยเฉลี่ย จำนวนปีการศึกษา และรายได้ประชาชาติ (Gross National Income: GNI) ของแต่ละประเทศทั่วโลก เพื่อพัฒนาดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI) ซึ่งเป็นมาตรวัดการพัฒนาของมนุษย์ที่ครอบคลุมกว่าการวัดด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว 

 

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 76 จาก 193 ประเทศ ทำให้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มี ‘การพัฒนามนุษย์สูง’ (High Human Development) ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่สูงเป็นอันดับสองจากการจัดกลุ่มทั้งหมด โดยดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยลดลงมาเล็กน้อยจากปีที่แล้วที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ‘การพัฒนามนุษย์สูงมาก’ (Very High Human Development) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอายุขัยเฉลี่ยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีการพัฒนามนุษย์ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่าง บรูไน จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์  

 

อาคิม สไตเนอร์ (Achim Steiner) ผู้อำนวยการใหญ่ประจำ UNDP กล่าวว่า หลายทศวรรษที่ผ่านมา เราถือว่าอยู่ในกรอบเวลาที่จะบรรลุเป้าหมายที่โลกมีการพัฒนามนุษย์สูงภายในปี 2030 แต่การชะลอตัวที่เกิดขึ้นครั้งนี้ส่งสัญญาณแห่งภัยคุกคามที่แท้จริงต่อความก้าวหน้าของการพัฒนามนุษย์ระดับโลก หากความก้าวหน้าที่ล่าช้าในปี 2024 กลายเป็น ‘บรรทัดฐานใหม่’ ของประเทศต่างๆ เป้าหมายสำคัญที่เราอยากให้เกิดขึ้นในปี 2030 จะล่าช้าไปอีกหลายทศวรรษ

 

โดยไทยและมองโกเลียยังเป็นเพียงสองประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย  โดยค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของผู้หญิงไทยอยู่ที่ 0.802 ซึ่งสูงกว่าค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของของผู้ชายไทยเล็กน้อย ซึ่งอยู่ที่ 0.795 ขณะที่ดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Planetary pressures–adjusted HDI: PHDI) ที่อยู่ที่ 0.726 ซึ่งยังถือว่าสูงที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยต่อการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาที่เป็นบวกต่อธรรมชาติ 

 

จากผลการสำรวจทั่วโลกเกี่ยวกับมุมมองต่อ AI พบว่า 60% ของผู้ตอบแบบสำรวจ มอง AI ในเชิงบวกว่า จะสร้างโอกาสในการทำงานให้กับมนุษย์ได้ ขณะที่ 13% ของผู้ตอบแบบสำรวจ กลัวว่า AI อาจนำไปสู่การสูญเสียงาน

 

นีฟ มารี คอลิเออร์-สมิธ (Niamh Collier-Smith) ผู้แทน UNDP ประจำประเทศไทย กล่าวว่า เราหวังว่าข้อมูลการพัฒนามนุษย์ในปีนี้จะส่งสัญญาณถึงการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่น่าเสียดายที่สิ่งที่เราเห็นคือการชะลอตัวของการพัฒนาของมนุษย์ทั่วโลก ถึงอย่างนั้น ยังมีหลายวิธีที่จะปรับเปลี่ยนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งรวมถึงการนำ AI เข้ามาช่วย

 

รายงานฉบับนี้ยังได้อธิบาย 3 ขั้นตอนที่แต่ละประเทศสามารถดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์จาก AI ในการพัฒนาของมนุษย์ ได้แก่ การสร้างเศรษฐกิจที่ผู้คนสามารถทำงานร่วมกับ AI แทนที่จะแข่งขันกับ AI, การผนวกตัวแทนของมนุษย์ไว้ในวงจรชีวิตของ AI ทั้งหมด ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการใช้งาน และการใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อปรับปรุงระบบการศึกษาและสุขภาพให้ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการในศตวรรษที่ 21 

 

 

ภาพประกอบ: กันยกร กาญจนวิไล

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising