×

คลี่กลยุทธ์ ‘ทีทีบี’ สู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน ชู ‘Responsible Lending’ ‘Transition Finance’ พร้อมเดินเกมให้ถึงเป้า Net Zero [PR News]

โดย THE STANDARD TEAM
06.03.2024
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

7 min read
  • ‘ทีทีบี’ ตอกย้ำแนวคิด Make REAL Change มุ่งสู่เป้าหมายการเป็น The Bank of Financial Well-being เพื่อคนไทยทั้งประเทศ เดินหน้ากลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนตามกรอบ B+ESG พร้อมประกาศเป้าหมาย Net Zero Commitment 
  • ประกาศเดินหน้าต่อเนื่องให้ความสำคัญกับ Responsible Lending การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม และให้ความช่วยเหลือลูกค้าผ่านโซลูชันทางการเงินอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือลูกค้าอย่างยั่งยืน
  • มุ่งมั่นในด้าน Transition Finance ปล่อยสินเชื่อเพื่อช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนผ่านไปยังธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น 
  • เน้นย้ำพันธสัญญา ‘การสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย’ โฟกัสไปที่กลุ่มลูกค้า เช่น พนักงานเงินเดือน กลุ่มคนมีรถ กลุ่มคนมีบ้าน เร่งแก้ปัญหาการเงินทั้งระบบ

แนวโน้มความรุนแรงที่สูงขึ้นอย่าง “หนี้ครัวเรือน” กลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่สถาบันการเงินต้องร่วมกันแก้ แต่นั่นเป็นเพียงความท้าทายส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะนับจากนี้วิกฤตโลกร้อนกำลังสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ทำให้เรื่อง ‘ความยั่งยืน’ เข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจของโลกอนาคต

 

 

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานกรรมการ ทีเอ็มบีธนชาต เผยกับ THE STANDARD ว่าสถานการณ์ข้างต้นถือเป็นปัญหาโครงสร้างประเทศที่กระทบเศรษฐกิจประเทศ และส่งผลอย่างเลี่ยงไม่ได้กับสถาบันการเงิน 

 

“ระบบเศรษฐกิจเหมือนเครื่องยนต์ ในขณะที่สถาบันการเงินก็เหมือนน้ำมันหล่อลื่น ต้องทำงานสอดประสานกันเพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้” ดร.เอกนิติ กล่าว 

 

นั่นคือภารกิจสำคัญของ ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ หรือ ‘ทีทีบี’ ที่ต้องการ Make REAL Change มุ่งสู่เป้าหมายการเป็น The Bank of Financial Well-being เพื่อคนไทยทั้งประเทศ และเป็นที่มาของการเดินหน้ากลยุทธ์สู่การสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า คู่ค้า พันธมิตร ชุมชน และสังคมอย่างรอบด้านในปี 2567 พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนตามกรอบ B+ESG (Business Sustainability, Environmental Sustainability, Social Sustainability และ Corporate Governance & Business Ethics) และประกาศเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) โดยสอดรับตามเป้าหมายของประเทศไทย

 

 

เพราะความยั่งยืนไม่ได้หมายถึงธุรกิจของธนาคารเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงลูกค้า คู่ค้า สังคม และสิ่งแวดล้อม ทีทีบีซึ่งเป็นหนึ่งใน D-SIBs Bank ยังคงเดินหน้าดำเนินธุรกิจภายใต้พันธกิจหลักในการช่วยให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ทั้งกลุ่มลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจ โดยได้ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) และเรื่อง Transition Finance หรือสินเชื่อเพื่อช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนผ่านไปยังธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

 

ดร.เอกนิติ มองว่าโลกร้อนเป็นปัญหาของทุกคน ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเกิดขึ้นของข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อปี 2558 ที่ประเทศต่างๆ มีพันธสัญญากำหนดเป้าหมายในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม เป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกว่านี่คือวิกฤตที่ทุกคนบนโลกต้องร่วมมือกัน  

 

“ตอนนี้ทุกประเทศกำลังเร่งเครื่อง Net Zero อย่างจริงจัง เห็นได้จากกฎกติกาของประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น ในยุโรปมีการออก CBAM หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism สำหรับสินค้า 6 กลุ่ม ได้แก่ ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฮโดรเจน ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า และอะลูมิเนียม โดยเริ่มจัดเก็บข้อมูลและรายงานค่า Embedded Emission และในปี 2569 จะเริ่มเก็บภาษี หรือหลักฐานการชำระค่าคาร์บอน (CBAM Certification) หากสินค้าข้างต้นมีกระบวนการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินมาตรฐาน ด้านสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียก็กำลังจะทำเช่นกัน ในอนาคตการค้าระหว่างประเทศจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าและส่งออก จะได้รับผลกระทบแน่นอนถ้าไม่ปรับตัว”  

 

ทีทีบีให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เห็นได้จากนโยบายและยุทธศาสตร์ที่นำการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาขับเคลื่อนธุรกิจ มุ่งสู่ ‘การธนาคารเพื่อความยั่งยืน’ (Sustainable Banking) กำหนดกลยุทธ์ที่จะสนับสนุนความมุ่งมั่นของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมาย 

 

“ต่อจากนี้กลไกการเงินจะเข้ามาช่วยผลักดันให้โลกเป็นสีเขียวมากขึ้น ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล หรือเข้ากรอบ ESG ก็จะมีโอกาสในการได้รับสินเชื่อง่ายขึ้น และมีต้นทุนถูกกว่าธุรกิจที่ไม่เข้ากรอบ สินเชื่อระยะยาวมีความสำคัญมากที่จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน สถาบันการเงินจะต้องเข้ามามีบทบาทดูแลสนับสนุนสินเชื่อให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนในระยะยาว”

 

 

ที่ผ่านมาทีทีบีทำเรื่อง ‘Transition Finance’ ไปแล้วมากมาย โดยเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่ออกหุ้นกู้สีเขียว เพื่อนำไปใช้ในการจัดหาเงินทุนสำหรับพลังงานแสงอาทิตย์และยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการออกหุ้นกู้สีฟ้า เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ซึ่งปี 2566 ธนาคารได้ปล่อยสินเชื่อสีเขียวและสีฟ้าไปกว่า 17,829 ล้านบาท ส่วนในปี 2567 กำหนดเป้าหมายสินเชื่อสีเขียว 20,000 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ ปี 2567 ทีทีบีอยู่ระหว่างการศึกษาที่จะออกหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาและร่วมมือกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศในการออก 1st Green Securitization Bond เพื่อสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อสำหรับการเช่าซื้อรถ EV รวมทั้งการปล่อยสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรถ EV ภายใต้กรอบหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนทางทะเล (Green and Blue Bond Framework) ของธนาคาร 

 

“เพราะบทบาทหลักของธนาคารไม่ใช่การนำพาตนเองไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หากแต่เป็นการเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจต่างๆ ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการให้สินเชื่อ ให้คำปรึกษา และสนับสนุนลูกค้าบนเส้นทางการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งเรามองว่าการปล่อยสินเชื่อพลังงานทดแทนจะมีส่วนขับเคลื่อนให้ภาคธุรกิจใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น และธนาคารเองก็มีการเปลี่ยนยานพาหนะส่วนกลางที่สำนักงานใหญ่เป็นยานยนต์ไฟฟ้าทดแทนทั้งหมด พร้อมติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้า รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ในการเปลี่ยนยานพาหนะทั้งหมดของธนาคารทั่วประเทศเป็นยานยนต์ไฟฟ้าทดแทน และมีการลงทุนติดตั้ง Solar Rooftop ที่สำนักงานใหญ่และสำนักงานเขต เพื่อเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดด้วยเช่นกัน”

 

ดร.เอกนิติ บอกว่าเรื่องหนี้เป็นปัญหาใหญ่ของคนไทยที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งการช่วยลดภาระหนี้อย่างยั่งยืนและเป็นระบบมีความจำเป็นอย่างยิ่ง จากข้อมูลของ ttb analytics ประเมินว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยสิ้นปี 2567 อาจแตะระดับ 91.4% ต่อ GDP ราว 16.9 ล้านล้านบาท (จากระดับปัจจุบันที่ 90.9%) ดร.เอกนิติ ย้ำว่าสิ่งที่ทำให้ทีทีบีแตกต่างคือการนำความชำนาญของธนาคารมาช่วยคนไทยให้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นผ่านกลยุทธ์ Ecosystem Play โดยโฟกัสไปที่กลุ่มลูกค้า เช่น พนักงานเงินเดือน กลุ่มคนมีรถ กลุ่มคนมีบ้าน 

 

บทพิสูจน์ต่อไปคือการตอกย้ำการเป็นธนาคารที่จะมาช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย ซึ่งอยู่ในแกนของ Responsible Lending มุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือลูกค้าผ่านการให้ความรู้ คำปรึกษา และโซลูชันทางการเงินอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือลูกค้าอย่างยั่งยืน สอดรับกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ต้องไม่ส่งเสริมให้คนเป็นหนี้เกินตัว มีวินัยทางการเงิน ซึ่งทีทีบีให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมากมานานแล้ว 

 

โครงการที่เป็นประโยชน์มากคือ Debt Consolidation การรวบหนี้ให้ลูกค้าปลดหนี้ได้เร็วขึ้น ช่วยลดภาระ เพิ่มสภาพคล่อง โดยเป็นการให้ลูกค้ารวบหนี้จากหลายๆ แหล่งมารวมกันเป็นก้อนเดียวที่ทีทีบี โดยมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในการวางแผนการเงิน และอีกหนึ่งโครงการที่โดดเด่นคือสินเชื่อสวัสดิการอเนกประสงค์ ทีทีบี แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือ ttb welfare loan ให้ลูกค้าที่ใช้บัญชีเงินเดือนทีทีบีกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เริ่มต้นเพียง 7.99% ต่อปี มีวงเงินอนุมัติสูง และไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทีทีบีโฟกัสอย่างต่อเนื่อง 

 

“ที่ผ่านมาทีทีบีสามารถช่วยลูกค้าผ่านโครงการรวบหนี้ไปแล้วกว่า 17,000 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวมกว่า 6,700 ล้านบาท สามารถช่วยลูกค้าประหยัดดอกเบี้ยได้กว่า 1,200 ล้านบาท ปีนี้เราจะเดินหน้าต่อเนื่อง และสิ่งที่จะทำควบคู่กันคือโปรแกรมปลดหนี้ ซึ่งได้เริ่มทำ Pilot กับพนักงานทีทีบีในไตรมาส 2/66 โดยมีพนักงาน 1,200 คนที่ได้ผ่านการเรียนรู้คอร์สการเงินที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ และคาดว่าจะเริ่มใช้กับพนักงานบริษัทอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินเดือนกับทีทีบีภายในไตรมาส 4/67” 

 

ในฐานะธนาคารอันดับหนึ่งด้าน ‘สินเชื่อรถยนต์’ รวมถึงการมีพอร์ต ‘สินเชื่อบ้าน’ ขนาดใหญ่ในมือ ทีทีบีจะนำกลยุทธ์ ‘รวบหนี้’ มาเป็นกุญแจสำคัญในพันธกิจช่วยคนไทยปลดหนี้ 

 

“คนส่วนใหญ่เวลาเป็นหนี้รถยนต์จะมีหนี้ส่วนอื่นๆ ตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นประกันอุบัติเหตุ ประกันรถยนต์ ปีนี้เราจะพัฒนา Car Owner Ecosystem ที่ใช้รถยนต์เป็นตัวเชื่อมและดูแลการเงินให้ลูกค้าทั้งระบบ เช่นเดียวกับสินเชื่อบ้าน จะมุ่งสร้าง Home Owner Ecosystem เพื่อลดภาระหนี้” 

 

ดร.เอกนิติ เผยว่า นอกจากกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารโฟกัส เช่น พนักงานเงินเดือน กลุ่มคนมีรถ กลุ่มคนมีบ้าน ทีทีบีอยากเข้าไปช่วยเหลือเรื่องการดูแลความมั่งคั่งของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการออม การลงทุน หรือการจ่ายภาษีเพิ่ม เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นแบบรอบด้าน  

 

 

ดร.เอกนิติ ย้ำว่านโยบายขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนตามกรอบ B+ESG ที่เล่าไปข้างต้นจะมีตัวชี้วัดชัดเจน ซึ่งเป็นไปตาม KPI ของธนาคาร ทั้งจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ตัวเลขรวบหนี้ต้องเพิ่มขึ้น และภาระหนี้ที่ต้องลดลง รวมไปถึงการปล่อยสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ต้องเป็นไปตามเป้าหมายเท่านั้น 

 

“ความคาดหวังในแง่ของตัวเลขปีนี้เราต้องรักษาสมดุลรอบด้าน หากดู NPL ของธนาคารจะเห็นว่าลดลงเยอะ เหลือ 2.7% จากเดิมอยู่ที่ 3% ต่อมาคือเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR Ratio) มีประมาณ 20% ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับธนาคารอื่น ในเชิงของลูกค้า สิ่งที่เราคาดหวังคือทำให้ Non-Financial Services มาอยู่บนดิจิทัลมากกว่า 80% จากการทำธุรกรรมทั้งหมดของธนาคารภายใน 3 ปี แน่นอนว่าทีทีบีจะมีการลงทุนเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น เพราะในอนาคตถ้าเราไม่สามารถใช้ดิจิทัลมาตอบโจทย์ลูกค้า ได้ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาให้เขาได้

 

“ทีทีบีไม่ต้องการเป็นธนาคารที่เติบโตอย่างรวดเร็วในระยะสั้นและมีปัญหาในระยะยาว เช่นเดียวกันเราไม่อยากให้ลูกค้าต้องเจอวิกฤตในระยะยาว จึงได้เน้นย้ำเรื่องความยั่งยืนเป็นอย่างมาก และในระยะยาวทีทีบีจะมุ่งสู่ Net Zero โดยลูกค้าของเราจะต้องเดินไปด้วยเป้าหมายเดียวกัน” ดร.เอกนิติ กล่าว

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X